โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้า : MIMIC Model.

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้า : MIMIC Model.

ผู้แต่ง

  • วิจิตร แผ่นทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โรคซึมเศร้า, โมเดลสมการโครงสร้าง, ไมมิคโมเดล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ที่พบบ่อย เกี่ยวข้องกับร่างกาย อารมณ์และความคิด บางคน
ซึมเศร้าโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไป ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม และ
ทันท่วงที ส่งผลรบกวนต่อชีวิต และกิจวัตรประจำวัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดล
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้า และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับ
ข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรแฝงในโมเดลประกอบด้วย ปัจจัยชักนำ ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยป้องกัน และปัจจัย
กระตุ้น หากพบว่าผู้ป่วยเกิดภาวะซึมเศร้าแล้วจะทำให้เกิดอาการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่อการ
ดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยใช้แบบประเมินปัจจัยการเกิดโรคซึมเศร้า และแบบประเมิน
โรคซึมเศร้า 9Q ของกรมสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างคือผู้รับบริการที่เข้าใช้บริการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น
ราชนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2558 จำนวน 350 คน โดยวิธีเลือก
แบบเจาะจง วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้ามีความสอดคล้อง
กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตรวจสอบจากค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) เท่ากับ 0.49 ที่องศาอิสระ (df)
เท่ากับ 2.00 ค่า p เท่ากับ 0.78 ดัชนี GFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี AGFI เท่ากับ 1.00 ดัชนี CFI เท่ากับ 1.00
และค่า SRMR เท่ากับ 0.00 ตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 62
โดยปัจจัยชักนำ ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยป้องกัน และปัจจัยกระตุ้น มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้า ขนาดอิทธิพล
เท่ากับ 0.56, 0.27, 0.26 และ 0.04 ตามลำดับ โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อภาวะ
ซึมเศร้าแสดงให้เห็นว่าปัจจัยชักนำและปัจจัยเสี่ยงมีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้า ส่วนการลดปัจจัยกระตุ้น
จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าลดลง

References

REFERENCES
1. World Health Organization. Depression
and Other Common Mental Disorders:
Global Health Estimates. World Health
Organization, 2015.
2. Chisholm, D., et al. Scaling-up Treatment
of Depression and Anxiety: A Global
Return on Investment Analysis. The
Lancet Psychiatry, 2016; 3(5): 415-424.
3. Kongsuk, T., et al. Provincial Guidelines
for Surveillance of Depression Disorders.
Ubon Ratchathani: Siritham Offset,
2014. (in Thai)
4. Kittirattanapaiboon, P., et al. Thai
National Mental Health Survey. Presented
at 14th Annual International Mental
Health Conference. Bangkok: Miracle
Grand Hotel, 2013.
5. Sriruenthong, W., Kongsuk, T., Pengchuntr,
W., Kittirattanapaiboon, P., Kenbubpha,
K., YingYeun, R., et al. The Suicide in
Thai Population: A National Survey. J
Psychiatry Assoc Thailand, 2011; 56(4):
413-424.
6. Beck, A., T. and Brad, A., A. Depression:
Causes and Treatment. Pennsylvania:
University of Pennsylvania Press, 2009.
7. Cairns, K., E., et al. Risk and Protective
Factors for Depression that Adolescents
can Modify: A Systematic Review and
Meta-analysis of Longitudinal Studies.
Journal of Affective Disorders, 2014:
61-75.
8. Nutt, D., J. Relationship of
Neurotransmitters to the Symptoms
of Major Depressive Disorder. The
Journal of Clinical Psychiatry, 2008;
69(Suppl E1): 4-7.
9. Osgood, C., R. Clearing the Air: Identifying
Risk Factors of L-Methylfolate Defciency
for L-Methylfolate. Deplin Intervention,
2012.
10. Breton, J. J., et al. Protective Factors
against Depression and Suicidal Behavior
in Adolescence. Canadian Journal
of Psychiatry. Revue Canadienne de
Psychiatrie, 2015; 60(2 Suppl 1).
11. Yaiyok, O. and Luebutthawatchai, P.
Depression and Melancholy from the
Loss of the Elderly in the Elderly Club,
Nonthaburi Province. Journal of the
Psychiatric Association of Thailand,
2011; 56(2): 117-128. (in Thai)
12. Cicek, O. and Ilhan, N. Evaluating
Interest in Acids–bases: Development
of an Acid–base Interest Scale (ABIS)
and Assessment of Pre-service Science
Teachers’ Interest. Chemistry Education
Research and Practice, 2017: 630-640.
13. Beck, A., T. Cognitive Theory and the
Emotional Disorders, 1976.
14. Joreskog, K., G. and Dag, S. LISREL
7 User’s Reference Guide. Mooresville,
IN: Scientifc Software, 1989.
15. Suksawang, P. Principles of Structural
Equation Model Analysis. Journal of
Narathiwat Rajanagarindra University,
2014; 6(2): 136–145. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-02