ภัยเงียบที่อาจเกิดแก่ทารกแรกเกิดจากโทรศัพท์มือถือ.... ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าตามแก้ทีหลัง

ภัยเงียบที่อาจเกิดแก่ทารกแรกเกิดจากโทรศัพท์มือถือ.... ป้องกันไว้ก่อนดีกว่าตามแก้ทีหลัง

ผู้แต่ง

  • รัตนา สิงห์โต ิวิทยาลัยนานาชาติเซนท์เทเรซา
  • วิภา เพ็งเสงี่ยม วิทยาลัยนานาชาติเซนท์เทเรซา

คำสำคัญ:

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, โทรศัพท์มือถือ, สุขภาพของทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

นับได้ว่าโทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มารดาที่เพิ่งฟื้นตัวจากการคลอดที่อยู่ในโรงพยาบาลมักใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลในครอบครัว ญาติพี่น้อง และเพื่อนๆ แต่หลังจากใช้โทรศัพท์ มารดามักจะวางโทรศัพท์ทิ้งไว้ใกล้ตัวทารกโดยเฉพาะบริเวณศีรษะโดยไม่คิดว่ากำลังมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกมาจากโทรศัพท์ไปสู่ทารกได้ ปัจจุบันได้มีการพิสูจน์แล้วพบว่าศีรษะเด็กสามารถดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถือได้มากกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งเด็กที่มีอายุน้อย สมองยิ่งดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าสู่เนื้อเยื่อสมองได้ลึกกว่าเด็กที่มีอายุมากกว่า ดังนั้นทารกแรกเกิดที่รอยต่อของกะโหลกศีรษะเชื่อมต่อกันไม่สนิท ทำให้มีกะโหลกศีรษะที่ไม่ปิดคลุม จึงเสี่ยงต่อการดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าสู่เนื้อเยื่อสมองได้ลึกมากขึ้น

แม้การศึกษาต่างๆ ในขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่รังสีจากโทรศัพท์มือถือก่ออันตรายในระยะยาวหรือไม่ แต่กระนั้นองค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer, IARC) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การอนามัยโลกก็ได้จัดรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์มือถืออยู่ในประเภทกลุ่ม 2 B คืออาจเป็นไปได้ที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในมนุษย์ที่ต้องรอการพิสูจน์จากหลายงานวิจัยมารับรอง และในขณะที่กำลังอยู่ในห้วงของการรอพิสูจน์อยู่นี้  พยาบาลควรที่จะทำการป้องกันอันตรายให้แก่ทารกแรกเกิดที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ไว้ก่อน ทารกเหล่านี้ควรได้รับสิทธิ์และโอกาสของการได้เจริญเติบโตและพัฒนาการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นการบริหารจัดการถึงวิธีการใช้โทรศัพท์มือถือด้วยมาตรการที่ปลอดภัยตามหลักการป้องกันไว้ก่อน (Precaution principles) จึงน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ในหออภิบาลมารดาหลังคลอดที่ส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดอยู่กับทารกแรกเกิดตลอด 24 ชั่วโมง ควรเพิ่มบทบาทในการให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอดถึงวิธีการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างปลอดภัยด้วย

References

REFERENCES
1. National Statistical Offce, Ministry
of Digital Economy and Society. The
2017 household survey on the use
of information and communication
technology [online]. 2017. [cited
2019/05/17]. Available from: www.nso.
go.th/sites/2014/ DocLib13/ด้านICT/.../
2560/FullReportICT_60.pdf
2. Gandhi, O.P., Lazzi, G., Furse, C.M.
Electromagnetic absorption in the
human head and neck for mobile
telephones at 835 and 1990 MHz.
IEEE Transactions on Microwave
Theory and Techniques [online].
1996. [cited 2018/10/18]. Available
from: https://www.researchgate.net/
publication/3119751_Electromagnetic_
Absorption_in_the_Human_Head_and_
Neck_for_Mobile_Telephones_at_835_
and_1900_MHz
3. Geo-Informatics Center for Thailand.
Electromagnetic radiation [online].
2015 [cited 2017/07/18]. Available
from: http://www.gisthai.org/about-gis/
el ectromagnetic.html. (in Thai)
4. Encyclopedia Britannica. Types of
electromagnetic radiation [online].
n.d. [cited 2017 /07/18]; Available
from: http://kids.britannica.com/kids/
assembly/view/ 89741
5. Nave, R. Hyperphysics: The electromagnetic
spectrum [online].n.d. [cited 2017/07/
28]; Available from: http://hyperphysics.
phy-astr.gsu.edu/hbase/ ems1.html
6. Ekburanawat, W. Health impact from
extremely low-frequency electromagnetic
felds [online]. 2013. [cited 2017/07/28];
Available from: fle:///C:/Users/admin/
Desktop/ผลต่อสุขภาพจากสนามแม่เหล็ก
ไฟฟ้าก�าลังอ่อน%20-%20บทความโดยมูลนิธิ
สัมมาอาชีวะ.html. (in Thai)
7. Youyuenyong, P. Protecting children
from the danger of electromagnetic
radiation from mobile phones [online].
2013. [cited 2017/11/27]; Available
from: http://public-law.net/publaw/
view.aspx?id=1837. (in Thai)
8. Siamphonedotcom, News. Read before
buying a mobile phone [online]. 2010.
[cited 2017/11/23]; Available from:
http://news.siamphone.com/ news-
02909.html. (in Thai)
9. German, K. CNET News. Why CNET
compiles cell phone radiation charts
[online]. 2014. [cited 2017/11/23];
Available from: https://www.cnet.com/
news/ cell-phone-radiation/
10. Volkow, ND., Tomasi, D.T., Wang, G.J.,
Vaska, P., Fowler, J.S., Telang. F., Alexoff,
D., Logan, J., Wong, C. Effects of cell
phone radiofrequency signal exposure
on brain glucose metabolism. JAMA.
2011; 305(8):808-813.
11. World Health Organization.
Electromagnetic felds and public
health: mobile phones, Fact sheet
N°193 [online]. 2014. [cited 2017/07/31];
Available from: http://www.who.int/
mediacentre/ factsheets/fs193/en/
12. World Health Organization, International
Agency for Research on Cancer. IARC
monographs on the evaluation of
carcinogenic risks to humans: List of
classifcations, volumes 1-119 [online].
2017. [cited 2017/07/28]; Available
from: http://monographs.iarc.fr/ENG/
Classifcation/latest_classif.php
13. Arpakajorn, P. Isranews Agency. France
bans cell phones in school: Lesson
to Thailand. [online]. 2018. [cited
2019/04/15]; Available from: https://
www.isranews.org/isranews-article/69253-
france-69253.html
14. Environmental Health Trust. Database
of worldwide policies on cell phones,
wireless and health [online]. 2019. [cited
2019/04/15]; Available from: https://
ehtrust. org/policy/international-policyactions-on-wireless/
15. Thairathonline. Wi-Fi, cell phone, risk
for cancer? Should know how to reduce
risk [online]. 2015. [cited 2017/11/27];
Available from: https://www.thairath.
co.th/content/553227. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-02