ความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต : กรณีศึกษา ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ และศูนย์สุขภาพชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศรีสมพร ทรวงแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 38/40 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต. ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000
  • ประภาพร มโนรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 38/40 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต. ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000

คำสำคัญ:

Nursing Education, Community Based Practice, Collaborative Model

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาและมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ และศูนย์สุขภาพชุมชนในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน
การศึกษาแบ่งออกเป็น  3 ระยะ คือ ระยะศึกษาสภาพการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน ระยะสร้างและพัฒนารูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน และระยะทดลองใช้รูปแบบและติดตามประเมินผล  ผลการศึกษาสภาพการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน พบว่า  การจัดการศึกษาภาคปฏิบัติ ในชุมชนที่ผ่านมา เป็นไปตามแผนการจัดการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลฯ โดยที่ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม
ค่อนข้างน้อย  เพื่อพัฒนารูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติ ผู้เกี่ยวข้องได้กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายความร่วมมือ  การเตรียมความพร้อม การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพอาจารย์นิเทศ การเสริมสร้างพลังอำนาจให้นักศึกษา การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ชุมชน การดำเนินการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลความร่วมมือ
จากนั้นได้มีการส่งนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ลงฝึกภาคปฏิบัติในชุมชนภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว หลังสิ้นสุดการฝึกภาคปฏิบัติพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีผลคะแนนประเมินการฝึกปฏิบัติงานในชุมชนอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ผู้เกี่ยวข้องกับการฝึกภาคปฏิบัติในชุมชนมีความพึงพอใจรูปแบบความ
ร่วมมือในการฝึกภาคปฏิบัติในระดับดีมาก หลังจากมีการถอดบทเรียนการฝึกภาคปฏิบัติในชุมชนพบปัจจัยแห่งความสำเร็จ 3 ประการ คือ  การเป็นหุ้นส่วน  การให้คุณค่ากันและกัน  และการสร้างพลังปัญญา
ผลการศึกษาเสนอแนะให้วิทยาลัยพยาบาลควรนำรูปแบบการสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชนไปใช้ในการจัดการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วน การให้คุณค่ากันและกัน และการสร้างพลังปัญญา

คำสำคัญ : การศึกษาพยาบาล  การจัดการศึกษาภาคปฏิบัติในชุมชน   รูปแบบความร่วมมือ

 

Abstract


This study was a developmental research and aimed to develop a collaborative community based practice for undergraduate nurse students  between Boromarajonani College of Nursing Uttaradit and urban health center. There were 3 phases in this study;  studying current community based
practice, developing a model of collaborative based practices, and evaluating its effectiveness. The study of the current community based practice revealed that  community based practice was led by academic plan of nursing college rather than a collaboration among stakeholders. To develop a
collaborative model of community based practice, stakeholders suggested 8 steps  including policy making, staff preparation, management of learning design, supervisor and mentor empowerment,
student empowerment, community empowerment, implementing learning activities in the community and evaluation. Then, collaborative community based practice was designed for second-year nursing students. After implementing, most students reported a high level of community practice score. Also, stakeholders reported a high level of satisfaction toward a collaborative community based practice. According to an after-action-review, there were 3 key success factors; alliance, appreciation, and wisdom. The finding suggests that  nursing college should adopt a collaborative model for community based practice, emphasizing alliance, appreciation and wisdom.

Keywords :  Nursing Education,  Community Based Practice,  Collaborative Model

Author Biographies

ศรีสมพร ทรวงแก้ว, ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 38/40 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต. ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000

ผู้อำนวยการ  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

ประภาพร มโนรัตน์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 38/40 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต. ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000

อาจารย์  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย