การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ชนิษฐ์นาฏ จุรีมาศ โรงพยาบาลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ 279 หมู่ 7 ต.ขวัญเมือง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45120
  • บุญชม ศรีสะอาด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 หมายเลขโทรศัพท์ 043-754240

คำสำคัญ:

confirmatory factor analysis, working morale, professional nurses

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน  และเพื่อตรวจสอบ ความสอดคล้อง ระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด ตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์   โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 418 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวัดขวัญกำลังใจจำนวน 1 ฉบับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง            .236 ถึง .739  ความเชื่อมั่นของแบบวัดทั้งฉบับ เท่ากับ .963   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72    

                ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพ มีขวัญกำลังใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา ตามรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 8  ด้าน ที่เหลืออีก 6 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง    ผลการวิเคราะห์ โมเดลองค์ประกอบขวัญกำลังใจประกอบด้วย  2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบปัจจัยจูงใจ มี                    5 ด้าน ได้แก่ ด้านการได้การยอมรับนับถือ  ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ  ด้านความก้าวหน้า  ด้านความรับผิดชอบ   และด้านความสำเร็จในงาน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ  .66  .60  .56  .49 และ .44   ตามลำดับ องค์ประกอบปัจจัยค้ำจุน มี 9 ด้านได้แก่ ด้านวิธีการปกครองบังคับบัญชา  ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ด้านโอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต  ด้านสถานภาพในการทำงานด้านความมั่นคง ในงาน ด้านชีวิตส่วนตัว  และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ   มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ .72  .69  .67  .67  .67  .56  .48  .46 และ .45 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า  องค์ประกอบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานทั้ง 2 องค์ประกอบ มีความสำคัญเท่ากัน โดยมี ค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 1.00   ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่าค่าสถิติไคสแควร์() เท่ากับ 16.00 ที่องศาอิสระ 18  มีความน่าจะเป็น เท่ากับ .593   ค่าสถิติไคสแควร์ สัมพัทธ์() เท่ากับ .70    ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .99  ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว(AGFI)  เท่ากับ .97  ค่าดัชนี      วัดระดับ ความสอดคล้องกลมกลืนเปรียบเทียบ(CFI) เท่ากับ  1.00   ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ย ของเศษเหลือ(SRMR) เท่ากับ .017  และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อน โดยประมาณ  (RMSEA) เท่ากับ  .000  แสดงว่าโมเดลองค์ประกอบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ตามสมมุติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี

                ผลการวิจัยนี้ ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการทำงาน โดยคำนึง  ถึงองค์ประกอบทั้งสองเพื่อให้พยาบาลมีขวัญกำลังใจในการทำงานที่สูงขึ้นทำให้ การทำงานมีประสิทธิภาพ

ABSTRACT

                This study aimed to investigate professional nurses’ working morale and validate the consistency of the professional nurses’ working morale model and empirical data. A two-stage random sampling technique was used to recruit 418 professional nurses at community hospitals in Roi – et province. The instrument used was a working  morale scale with discriminating powers ranging between  .236 to  .739 and a reliability of  .963. The collected data were analyzed through descriptive statistics and the confirmatory factors were analyzed through LISREL version 8.72 Program.

                The results of the study were as follows: 

                The professional nurses showed performance working morale, as a whole, in a high level. Eight aspects were found in a high level; while the six remaining aspects were in a moderate level.

The confirmatory factor analyses of working morale model revealed 2 factors namely motivator and hygiene factors. The motivator Factor consisted of 5 aspects including Recognition, Job      characteristics, Career progression, Responsibility, and Work achievement. The factor loadings ranking from the highest to the lowest were .66 .60 .56 .49, and .44.  The  hygiene factors consisted of  9 aspects including Governance strategies, Company policy and administration, Interpersonal relation, Working conditions, Opportunity for growth, Work status,  Job security, Personal life, and Salary and welfare,  ranking from the highest to the lowest factor loadings of .72  .69  .67  .67  .67  .56  .48  .46 and .45.  The results of secondary order confirmatory factor analyses revealed that both factors were equally important with factor loading of 1.00.

                The validation of a goodness of fitted model yielded a Chi-square of 16.00, p = 0.593  at a degrees of freedom  of  18 ( =.70 ,GFI = 0.99, AGFI = 0.97, CFI=1.00, SRMR = 0.017, RMSEA = 0.000).   The variables in the working morale model were consistent with the empirical data.

                The results of this study revealed that administrators should consider both factors in promoting professional nurses’ working morale to increase their work performance.

เผยแพร่แล้ว

2012-06-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย