ประสบการณ์ของการถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยรุ่นหญิง

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ คนเล ทัศนีย์ คนเล โรงพยาบาลแกลง 254 สุขุมวิท ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง ระยอง 21110 โทรศัพท์ 038671113-4,038674776,038674744,038694245,038886229,038675152,038677533-40,038671177,038670036,038677746
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • มณีรัตน์ ภาคธูป คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

คำสำคัญ:

Female Adolescents who are sexually abused, Experience of being sexually abused among female adolescents

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของการถูก ทารุณกรรมทางเพศในวัยรุ่นหญิง ผู้ให้ข้อมูลเป็นวัยรุ่นหญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ  จำนวน                 9  ราย โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ประยุกต์วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นหญิงมีการรับรู้เกี่ยวกับการถูกทารุณกรรมทางเพศ จำแนกเป็น               3 ประเด็นหลักคือ 1) ประสบการณ์การถูกทารุณกรรมทางเพศ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นย่อย คือ  การรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อตนเอง ประกอบด้วย โหดร้ายน่ากลัว หมดอนาคต อยากตาย อับอาย และการได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย การรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อครอบครัว ประกอบด้วย ความห่วงใย ความใกล้ชิด การได้รับกำลังใจ ความเสียใจของบิดามารดา และการรับรู้ การจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย การจัดการด้วยตนเอง ได้แก่ การอยู่คนเดียว การใช้ยานอนหลับ และการพึ่งศาสนา และการจัดการที่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น ได้แก่ การพูดคุยกับเพื่อน

                การเบี่ยงเบนความสนใจ และการได้รับกำลังใจจากพยาบาล 2) สาเหตุของการเกิด การทารุณกรรมทางเพศนั้น ประกอบด้วยสาเหตุที่เกิดจากผู้ที่ถูกกระทำ ทารุณกรรม ได้แก่         ความไว้ วางใจ และการไม่เชื่อฟัง และสาเหตุจากผู้กระทำทารุณกรรมที่มีการดื่มแอลกอฮอล์ และ 3) ความต้องการการช่วยเหลือ ประกอบด้วย ความต้องการด้านคดีความ และด้านข้อมูลเกี่ยวกับ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ผลการศึกษาในครั้งนี้  ทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์
ของการถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยรุ่นหญิงภายใต้บริบทและประสบการณ์ตรง  ของผู้ที่ถูก
กระทำทารุณกรรมทางเพศ   ซึ่งสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนเพื่อหาแนวทาง ในการช่วยเหลือวัยรุ่นหญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศและครอบครัวที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ต่อไป

Abstract

                At the present the problems of sex abuse have been found much more often, and tend to increase severity to the victim and family yearly. This study is a descriptive research, aiming to describe the experience of being sexual abuse among female. Data collecting method employed qualitative research methods. The sampling was randomly specific 9 girls. Data was collected by   in-depth interview, and analyzed with content analysis.

                The study found that female adolescents perceived 3 aspects of being sexual abused. 1) Sexual abuse experience can be categorized into 3 types. The first is perception of occurrence to oneself, consisting of cruelty, no future, suicidal, embarrassment, and physical pain. The second is the occurrence to family members – concern, closeness, moral support, and parents’ grief. The last one is the perception of occurrence dealing, which are dealing by themselves – staying with oneself, sleeping pills use, and relying on religion; and assistance from surrounding people – sharing opinion with friends, distraction, and moral support from nurses. 2) Causes of sexual abuse occurrence can be defined as sexual abused victims – trust and disobedience, and sexual abusers – because of being drunk. 3) Needs for assistance are composed of aspects of lawsuit, and information of sexual diseases. The findings of the study reveal the understanding of experiences of being sexual abuse among female adolescents in the context and perception of direct experience of sexual abuse victims. The results of the study can be used as a secondary data for strategic planning for assistance provision to the needs of female adolescents who are sexually abused and their family more effectively.

เผยแพร่แล้ว

2012-06-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย