พฤติกรรมการพยาบาลเพื่อการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

ผู้แต่ง

  • จันทร์ทิรา เจียรณัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 111 ถ.มหาวิทยาลัย ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
  • ศรัญญา จุฬารี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 320 ถ.หลักเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการพยาบาล เพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ของนักศึกษาพยาบาลที่มี เกรดเฉลี่ยสะสม และสถานที่ฝึกประสบการณ์ แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 รุ่น 18 จำนวน 56 คน วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สุรินทร์ ที่ฝึกภาคปฏิบัติในรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 ระหว่างวันที่   1  มิถุนายน – 10 กรกฏาคม 2552 (6 สัปดาห์) ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรม  หอผู้ป่วย อายุรกรรม  หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม จำนวนทั้งสิ้น 7 หอผู้ป่วย และเป็นนักศึกษาที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ  เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบสอบถาม พฤติกรรมของนักศึกษาพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (alpha = 0.79) แบบสอบถามนี้เป็นแบบ Likert scale (1 = ไม่ปฏิบัติเลย 3 = ปฏิบัติทุกครั้ง)  ซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดของกิจกรรมการดูแลผู้ป่วย  5 หมวด (การดูแลความสะอาดภายในช่องปากและฟัน, การดูแลจัดท่านอนและการพลิกตัว,  การดูแลให้ได้รับอาหารทางสายให้อาหาร, การดูแลดูดเสมหะ โดยใช้เครื่องดูดเสมหะเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง, การดูแลท่อทางเดินหายใจ และส่วนประกอบ ของเครื่องช่วยหายใจต่างๆ) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมตามหมวดกิจกรรม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบพฤติกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ของนักศึกษาพยาบาลที่มี เกรดเฉลี่ยสะสม และสถานที่ฝึกประสบการณ์ แตกต่างกันโดยใช้ ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า

                1.  โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเพื่อ ป้องกันการเกิด ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในระดับดีมาก ( = 2.77 ฑ 0.15) โดยมีพฤติกรรม การดูแลดูดเสมหะโดยใช้เครื่องดูดเสมหะเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่งดีที่สุด (= 2.85 ฑ 0.14) รองลงมาคือ การดูแลให้ได้รับสารอาหารทางสายให้อาหาร (= 2.74 ฑ 0.19) การดูแลท่อ ทางเดินหายใจและส่วนประกอบของเครื่องช่วยหายใจต่างๆ (= 2.72ฑ 0.35) การดูแลจัดท่านอน และการพลิกตัว (= 2.68  ฑ 0.31) การดูแลความสะอาดภายในช่องปากและฟัน (= 2.63 ฑ 0.29) ตามลำดับ

                2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้ เครื่องช่วยหายใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีความแตกต่างของ เกรดเฉลี่ยสะสม และสถานที่ ฝึกประสบการณ์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05)

ข้อเสนอแนะ

                ควรจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาลให้มีความรู้และความสามารถในการ ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วย หายใจได้ตาม มาตรฐานการเรียนรู้ต่อไป  และในการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาอาจไม่มีความจำเป็นต้องจัดให้ ฝึกประสบการณ์ที่หอผู้ป่วยหนักการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดสามารถทำให้นักศึกษา ที่ไม่ว่า จะมีเกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันเกิดการเรียนรู้และมีทักษะการดูแลผู้ป่วยได้ไม่แตกต่างกัน

 

ผลการวิจัยพบว่า

                1.  โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเพื่อ ป้องกันการเกิด ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในระดับดีมาก ( = 2.77 ฑ 0.15) โดยมีพฤติกรรม การดูแลดูดเสมหะโดยใช้เครื่องดูดเสมหะเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่งดีที่สุด (= 2.85 ฑ 0.14) รองลงมาคือ การดูแลให้ได้รับสารอาหารทางสายให้อาหาร (= 2.74 ฑ 0.19) การดูแลท่อ ทางเดินหายใจและส่วนประกอบของเครื่องช่วยหายใจต่างๆ (= 2.72ฑ 0.35) การดูแลจัดท่านอน และการพลิกตัว (= 2.68  ฑ 0.31) การดูแลความสะอาดภายในช่องปากและฟัน (= 2.63 ฑ 0.29) ตามลำดับ

                2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้ เครื่องช่วยหายใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีความแตกต่างของ เกรดเฉลี่ยสะสม และสถานที่ ฝึกประสบการณ์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05)

ข้อเสนอแนะ

                ควรจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาลให้มีความรู้และความสามารถในการ ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วย หายใจได้ตาม มาตรฐานการเรียนรู้ต่อไป  และในการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาอาจไม่มีความจำเป็นต้องจัดให้ ฝึกประสบการณ์ที่หอผู้ป่วยหนักการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดสามารถทำให้นักศึกษา ที่ไม่ว่า จะมีเกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันเกิดการเรียนรู้และมีทักษะการดูแลผู้ป่วยได้ไม่แตกต่างกัน

ABSTRACT

 

Ventilator Associated Pneumonia (VAP) is the most common complication found in patients who are on ventilators. The purposes of this survey study were to 1) investigate nursing care behaviors of nursing students in preventing VAP and 2) compare the nursing care behaviors in preventing VAP of the sample who had differences in grade point average (GPA) and practice settings. The sample was composed of 56 nursing students who were practicing in the Nursing Care for People with Health Problem III Practicum course and had experiences of taking care of patients who were on mechanical ventilator. Research instruments included demographic data form, health care behaviors in preventing VAP questionnaire with a report of alpha = 0.79 for reliability. The latter was a Likert scale measuring nursing care behaviors (1 = Never, 3 = All the times) in 5 nursing activities. They were 1) oral care, 2) turning and changing position, 3) nasogastric (NG) feeding, 4) suction to clear airway, and 5) care for ventilators. Data were collected during June and July, 2009 and analyzed using descriptive statistics (f, mean, S.D., %). ANOVA were used to compare nursing care behaviors in preventing VAP. The findings revealed that overall nursing care behaviors in preventing VAP was at an excellent level ( = 2.77

ฑ 0.15). The sample reported the health care behavior score in an excellent level in all five nursing procedures including 1) suction procedure (= 2.85 ฑ 0.14), 2) NG feeding procedure (= 2.74 ฑ 0.19), 3) care for ventilators (= 2.72 ฑ 0.35), 4) turning and changing position procedure (= 2.68 ฑ 0.31), and 5) oral care procedure (= 2.63 ฑ

0.29); respectively. There were no statistical differences of nursing care behaviors in preventing VAP of the sample who had differences in GPA, and practice settings (p > .05). The study suggests that teaching focusing on preventing VAP should be carried on in order to maintain a standard of excellence in nursing care. In addition, no matter how different students’ GPA is, close mentoring remains important in facilitating students’ learning that eventually affects their care behaviors. Intensive Care Unit (ICU) may not be necessary as a choice for the practice setting.

เผยแพร่แล้ว

2012-06-14

ฉบับ

บท

บทความวิจัย