พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่น ในจังหวัดนครศรีธรรมราช *

ผู้แต่ง

  • จรรยา เศรษฐพงษ์ หมู่ 9 ถนนนครศรี-นบพิตำ อำเภอพรหมคีรี นครศรีธรรมราช 80320
  • เกียรติกำจร กุศล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160
  • สายฝน เอกวรางกูร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160
  • ปิยธิดา จุลละปีย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

คำสำคัญ:

adolescents, health risk behaviors

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ของวัยรุ่นในแต่ละด้านและความสัมพันธ์ระหว่างประเภทสถานศึกษากับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างอายุ 13-18 ปี จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

                1. วัยรุ่นส่วนใหญ่มีสัมพันธภาพภายในครอบครัวอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 66.2)  ครอบครัวให้เงินใช้จ่าย ต่อเดือนอยู่ในช่วง 1,000-2,000 บาท  (ร้อยละ 54.6)  มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ (ร้อยละ 77.6)  และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 51.8)

                2. วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพด้านความเครียดอยู่ในระดับสูงร้อยละ  43.4  ด้านการออกกำลัง
กาย และการสูบบุหรี่ระดับปานกลาง ร้อยละ  30  และ  19  ตามลำดับ

                3. พฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับพฤติกรรมเสี่ยง ด้านการออกกำลังกาย (r=.71, p < .01) พฤติกรรมเสี่ยงด้านความปลอดภัยและความรุนแรง มีความสัมพันธ์ ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมเสี่ยงด้านการดื่มสุราและใช้สารเสพติด (r=.61 ,  p < .01)  พฤติกรรม
เสี่ยง ด้านการดื่มสุรา และใช้สารเสพติดมีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ  (r=.63  และ  .58,   p < .01)

                4. ประเภทสถานศึกษาอาชีวะศึกษามีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านการดื่มสุรา และใช้ สารเสพติด การสูบบุหรี่ ความปลอดภัยและความรุนแรง และ พฤติกรรมทางเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(2=  68.21 ,  64.96,   48.86 and  32.21,  p< .001). 

                ผลการวิจัยทำให้เข้าใจถึงปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นยิ่งขึ้นและสามารถนำข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูล พื้นฐานในการวางแผน สนับสนุน  หาแนวทางในการปรับพฤติกรรมให้แก่วัยรุ่น  อันจะนำไปสู่การลด พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ได้

Abstract

                This descriptive study  aimed at studying health risk behaviors  and determined relationship among health risk behaviors,  relationship between a type of school and  health risk behaviors. The subjects of  the study consisted  of  500  adolescents, aged 13-18 years. The instruments consisted of a questionnaire to investigate health risk behaviors of adolescents. Data were analyzed by frequencies, percentages, means, standard deviations, chi square, and Pearson's product moment  correlation coefficients.  The  results  of the  analysis  revealed   that ;

                1. The majority of adolescents had relationships in their families  at a good level (66.2%), monthly incomes ranged between 1,000-2,000 Baht  (54.6%),  bodyweight  in  a  standard  level  (77.6%),  and  perceived  health  status  were at  a  good   level . (51.8%)

                2. Stress health behaviors were at a high level (43.4%),   dietary  and  smoking behaviors  were  at  a  moderate  level . (30%  and  19%)

                3. Dietary behaviors  had  a high positive correlation with exercise behaviors. (r= .71 , p < .01)  Safety and violence behaviors had a moderate positive correlation with smoking behaviors, drinking and narcotic using behaviors. (r= .61 ,  p < .01)   Smoking behaviors  had  a moderate positive correlation with  drinking and narcotic using behaviors and sex behaviors. (r= .63  and  .58, p < .01) 

                4. Types of vocational colleges were related to drinking and narcotic using behaviors, smoking behaviors, safety and violence behaviors, and sex behaviors. ( 2=  68.21, 64.96, 48.86 and 32.21, p< .001)

                This study provided a deep understanding about health risk behaviors among adolescents. The findings  were beneficial for  further studies and program planning and encouraging  adolescents  to have behavior modification  in order to decrease health risk behaviors. 

เผยแพร่แล้ว

2012-06-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย