การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็ง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็ง โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ชยพล ศิรินิยมชัย มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
  • ณัฏฐนิช บุญหนัก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านกอกหม่น
  • ศรีพรรณ ศรีวงศ์วรรณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านกอกหม่น
  • พิชยา วรรณชัย เทศบาลตำบลสันปูเลย

คำสำคัญ:

ชุมชนเป็นฐาน, พฤติกรรมการดูแลเท้า, ผู้ป่วยเบาหวาน, ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่นำไปสู่การถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง และเพิ่มภาระ
การดูแลของครอบครัว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการเสริมสร้างความเข็มแข็ง
โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเส้นประสาท
ส่วนปลายเสื่อม ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แนวคิดหุ้นส่วนและบทบาท
ที่เชื่อมโยงในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ หุ้นส่วนแรก คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเส้น
ประสาทส่วนปลายเสื่อมและครอบครัว หุ้นส่วนที่สอง คือ ชุมชนหรือท้องถิ่น และหุ้นส่วนสุดท้าย คือ
ระบบบริการสุขภาพโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย
ขั้นตอน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข็มแข็งโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ประกอบด้วย
ขั้นตอนการวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนารูปแบบ และการทดลองใช้รูปแบบ โดยเก็บรวบรวมข้อมูล
จากแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นระยะเวลา 4 เดือน จากผู้ให้ข้อมูล
จำนวน 40 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ประกอบด้วย
ผู้ป่วยเบาหวาน ญาติผู้ดูแลและครอบครัว ตัวแทนองค์กรส่วนท้องถิ่น/ชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
และอาสาสมัครสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มโดยการวิเคราะห์
เชิงเนื้อหา และ ระยะที่ 2 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างความเข็มแข็งโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม กลุ่มตัวอย่าง
ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 60 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่ม
ควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการดูแลเท้าตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และ
กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลเท้าตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่าที
แบบสองกลุ่มอิสระจากกัน และแบบสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเสริมสร้างความเข็มแข็งโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรม
การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ
1) การคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลเท้าเบาหวาน และให้ความรู้การดูแลเท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมอย่างต่อเนื่อง 2) การส่งเสริมพฤติกรรมดูแลเท้าด้วยตนเอง
3) การมีส่วนร่วมของครอบครัว และ 4) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ก่อให้เกิดภาคีเครือข่าย
ร่วมใจ ใส่ใจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้สามารถลดการเกิดแผลที่เท้าลงได้ ส่วนผลการทดลองในระยะที่สอง
พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าประจำวัน สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่า
กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าใน
ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน เป็นกลวิธีสำคัญ
สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แกนนำชุมชน และบุคลากรด้านสุขภาพ ที่จะนำไปใช้ในการเสริมสร้าง
พฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ให้สามารถดูแลและพึ่งพิง
ตนเองได

References

REFERENCES
1. Ogurtsova, K., Fernandes, R., Huang,
Y., Linnenkamp, U., Guariguata, L., &
Cho, N. H. IDF Diabetes Atlas: Global
Estimates for the Prevalence of Diabetes
for 2015 and 2040. Diabetes Research
and Clinical Practice, 2017; 128: 40–50.
2. Department of Environmental Quality
Promotion, Ministry of Natural Resources
and Environment. World Population Day
2017 [online]. 2018 [cited 2018/11/23].
Available from: http://www.deqp.
go.th/service-portal/news-system/
news-detail/?id=201898 (in Thai)
3. Strategy and Planning Division, Ministry
of Public Health. Health Service Data
[online]. 2018 [cited 2018/11/23].
Available from: http://bps.moph.go.th/
new_bps/healthdata (in Thai)
4. Bureau of Non Communicable Disease,
Department of Disease Control, Ministry
of Public Health. The Estimated
National Prevalence of Diabetes in Thai
Population of A.D. 2011-2020. Weekly
Epidemiological Surveillance Report,
2010; 39: 622-624. (in Thai)
5. Kosachunhanun, N. Pathophysiology of
Diabetic Foot Diseases. In Kosachunhanun,
N., et al (Eds.). Prevention and
Management of Diabetic Foot Diseases.
Bangkok: Trick think, 2013. p 21-34.
(in Thai
6. Thirapatarapong, W. and Srisawandi,
G. Epidemiology and Direct Costs of
Diabetes Related Lower Extremity
Amputations at Siriraj Hospital. Journal
of Thai Rehabilitation Medicine, 2008;
18(2): 65-69. (in Thai)
7. Institute of Medical Research and
Technology Assessment. Preventive
Clinical Practice Guideline and
Management of Diabetic Foot
Complications. Bangkok: Agricultural
Cooperatives of Thailand Printing,
2013. (in Thai)
8. Chiangmai Provincial Public Health
Offce. DATA SET of Diabetic in Chiangmai
Province. Mimeographed, 2016. (in Thai)
9. Sub-district Health Promoting Hospital,
Ban Kok Mon. Annual-report-foot
exam-2015. Chiangmai Province, 2016.
(in Thai)
10. World Health Organization. Innovative
Care for Chronic Conditions: Building
Blocks for Action. Global Health
Report, Non-communicable Disease
and Mental Health [online]. 2002 [cited
2019]. Available from: https://www.
who.int/chp/knowledge/publications/
icccglobalreport.pdf
11. Khungtumneum, K. Adoption of Health
Partnership Concept for Caring: Nurse
Role. Journal of Public Health Nursing,
2016; 30(2): 124-132. (in Thai)
12. Srisomthrong, K. Effect of Self
Management Support on Foot Care
Behaviors among Older Persons with
Type 2 Diabetes Mellitus. Thesis of
Master Degree of Nursing Science.
Chiang Mai: Chiang Mai University,
2017. (in Thai)
13. Khana, N., Geurgoolgitjagan, N., and
Isaramalai, S. Development of Practice
Guideline for Enhancing Stage-based
Behavioral Modifcation of Pre-diabetic
Persons. Songklanagarind Journal of
Nursing, 2014; 34(1): 25-40. (in Thai)
14. Pitchalard, K., Reangsing, C., and
Moonpanane, K. Development of Type 2
Diabetes Preventive Model for Diabetic
Risk Group in Community, Chiang Rai
Province. Journal of Nursing Science,
Chulalongkorn University, 2016, 28(3):
132-146. (in Thai)
15. Winitsorn, N., Tangchitmeti, P., Yuenyong,
N., & Panbun, S. The Development of
Chronic Care Model for Urban Older
Adults by Community Participation:
A Case Study of Bangkhayaeng
Community, Mueang District, Pathum
Thani Province. Journal of Nursing and
Education, 2015; 8(3): 14-32. (in Thai)
16. Sunsern, R., Timsuwan, B., & Lawang, W.
Developing Disabled Caregiving System
Based on Families and Communities.
Journal of Nursing and Education, 2013;
6(3): 25-41. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-03

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย