การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด: บทบาทพยาบาลและครอบครัว

การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด: บทบาทพยาบาลและครอบครัว

ผู้แต่ง

  • มาลีวัล เลิศสาครศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

คำสำคัญ:

มารดาวัยรุ่นหลังคลอด, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, บทบาทพยาบาลครอบครัว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อแสดงถึงบทบาทของพยาบาลและครอบครัวในการส่งเสริม
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด น้ำนมแม่ได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์และเป็นแหล่ง
อาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ช่วยทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี แต่พบว่าในประเทศไทย
อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน มีปริมาณน้อยต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด คือ
ร้อยละ 50 โดยเฉพาะมารดาวัยรุ่นที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 17 การที่
มารดาวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากมีวุฒิภาวะไม่เพียงพอในการ
เป็นมารดา ขาดความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ขาดประสบการณ์และความ
มั่นใจในตนเองที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงทำให้เครียด วิตกกังวลและกลัว ซึ่งสาเหตุที่มีผลต่อการเลี้ยงลูก
ด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นเกี่ยวข้องกับตัวมารดาวัยรุ่นเอง สาเหตุอื่นที่มีผล เช่น ทารกแรกเกิด ครอบครัว
และบุคลากรทีมสุขภาพ
จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การช่วยเหลือมารดาวัยรุ่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบ
ผลสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งมารดาและทารกนั้น ต้องมีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องโดยบุคลากร
ทางด้านด้วยนมแม่ ในบทความนี้ได้บูรณาการโดยใช้แนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์และการเสริม
พลังสุขภาพและครอบครัว ซึ่งบทบาทของพยาบาลและครอบครัวในการส่งเสริมมารดาวัยรุ่นหลังคลอด
ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บทความนี้ได้บูรณาการโดยใช้แนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮ้าส์และการเสริม
พลังอำนาจของกิบสัน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การค้นหาสภาพการณ์จริงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม รวมถึงการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติ
ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการสนับสนุนด้านอารมณ์ ด้านการประเมิน ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านทรัพยากร

References

REFERENCES
1. Thai Health Promotion Foundation. The power to Create a Sustainable Breast Milk Society, 2017. [Cited2018/06/15]. Available from:https://content/38063-20%20.html (in Thai)
2. The Control of Marketing of Infant and Young Child Food Act, B.E. 2560, July10, 2017. (in Thai)
3. World Health Organization. Exclusive Breastfeeding for Six Months Best for Babies everywhere, 2011. [Cited2018/09/4]. Availablefrom:http://www.who.int>breastfeeding 2011/01/15
4. International Health Policy Program. How do I get My Mother to Breastfeed for 6 Months?, 2017. [Cited 2018/04/25] Retrieved from https://koha.library.tu.ac.th (in Thai)
5. Hangchaovanich, Y. & Voranongkol, N. Prevalence of Exclusive Breastfeeding at 3, 4 and 6 Months in Bangkok Metropolitan Administration Medical College and Vajira Hospital. Journal of Medical Associated Thailand 2008; 91:962-967. (in Thai)
6. Nuanjam, P., Pumrittikol, P., Muttavangkul, C., Koulrot, W., Junjaroun, K. & Hongkailert., N. Factors Affected to Behavior and during time for Breastfeeding of Pasi Charoen Persons. Research Report, 2014. (in Thai)
7. Vongsubtawee, J. Factors Affecting Exclusive Breastfeeding Practice in Families having 6 Months old Children, Chachoengsao Province. A Thesis for the Master of Nursing (Family Nursing Practitioner), Burapha University, 2010. (in Thai)
8. Maneekut, V. Promoting Perception of Self-Efficacy on Breastfeeding Behavior in First-Child Mothers. A thesis for the Master of Education (Health Promotion), Burapha University, 2009. (in Thai)
9. Tumchuae, S. & Plodpluang, U. A Development of Breastfeeding Promotion Program by Family Support. Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center 2015; 32(1): 6-17. (in Thai)
10. Uerpairojkit, S. Breaking the Barriers: Breastfeeding at the Beginning. In S. Sawadiworn (Ed.), The 6th National Breastfeeding Conference: “Sustaining Breastfeeding Together”, 8-10 November, 2017 (pp. 50-58). (in Thai)
11. Ratisunthorn, J., Thaithae, S. & Bowanthammajak, U. Effects of Empowerment Program on Breastfeeding Behavior and Duration of Exclusive Breastfeeding among Adolescent Mothers. Kuakarun Journal of Nursing 2014; 21(2): 139-154. (in Thai)
12. Kang, J.S., Choi, S.Y. & Ryu, E.J. Effects of a Breastfeeding Empowerment Programme on Korean Breastfeeding Mothers: A Quasi-Experimental Study. International Journal of Nursing Studies 2008; 45: 14-23.
13. lertsakornsiri, M. & Saibae, S. The Effect of Nursing Model Integrated with Family Support and Empowerment on Breastfeeding in the First-Time Teenage Postpartum Mothers. Research Report of Saint Louis College, 2018. (in Thai)
14. Gibson, C.H. A Concept Analysis of Empowerment. Journal of Advanced Nursing 1991; 16: 354-361.
15. House, J.S. Social Networks and Social Support Implications for National Helper and Community Level Internations. Health Education Quarterly 1985; 12: 66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-03

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ