ผลของการออกกำลังกายด้วยวิธีฮูลาฮูปร่วมกับ การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และการจำกัดแคลอรี่ในแต่ละวัน ต่อน้ำหนักตัว เส้นรอบเอว เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และดัชนีมวลกาย ในนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

ผู้แต่ง

  • ดาราวรรณ รองเมือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

คำสำคัญ:

Hula hoop, Calorie limit, Weight loss, Overweight

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
โรคอ้วนเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลก ทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยง และสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ การออกกำลังกายควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการลดน้ำหนัก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มควบคุมไม่ได้สุ่ม โดยทดสอบก่อนหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยวิธีฮูลาฮูป การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และการจำกัดแคลอรี่ในแต่ละวัน  ต่อน้ำหนักตัว เส้นรอบเอว เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และดัชนีมวลกาย ในนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี เพศหญิง จำนวน 32 คน ที่มีน้ำหนักตัวเกิน และมีสุขภาพดี เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คน กลุ่มควบคุมให้ดำเนินกิจกรรมตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองนำมาเข้าโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยวิธีฮูลาฮูปและการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ร่วมกับการจำกัดแคลอรี่ เป็นเวลา 8 สัปดาห์  โดยออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 60 นาที ร่วมกับการจำกัดแคลอรี่ที่ได้รับในแต่ละวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีชนิดสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางเมื่อมีการวัดซ้ำ  ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัว เส้นรอบเอว เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย  และดัชนีมวลกายของกลุ่มทดลองและกลุ่ม
ควบคุม ไม่มีความแตกต่างกัน ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 8 สัปดาห์ ในกลุ่มทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัว และดัชนีมวลกายของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา (F(1.12, 16.81)=7.03, p=.01) และ (F(1.13, 19.80)=4.05, p=.02) ตามลำดับ ในขณะที่เส้นรอบเอว (F (1.26, 18.88)=0.76, p=.42) และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (F (1.76, 26.35)=2.16, p=.14)ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ น้ำหนักตัว เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และดัชนีมวลกาย ของนักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรม และไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม พบว่ามีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา (F (1.36, 20.36)= 9.29, p=.003), (F(1.65, 24.74)=6.12, p=.01)  และ (F(1.16, 24.21)=3.62, p=.05)ตามลำดับ ในขณะที่เส้นรอบเอว ไม่มีความแตกต่างกัน (F (1.60, 24.07)= .68, p=.48) กล่าวโดยสรุปการออกกำลังกายด้วยวิธีฮูลาฮูปร่วมกับการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และการจำกัดแคลอรี่ในแต่ละวัน  เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจจะลดน้ำหนัก ในระยะเวลา 8 สัปดาห์

คำสำคัญ : ฮูลาฮูป จำกัดแคลอรี่ ลดน้ำหนัก น้ำหนักตัวเกิน

 

Abstract
Obesity is one of major public health issues and risk factors associated with chronic diseases throughout the world. Exercise combined with healthy diet plan is an effective program for losing weight. We conducted a study using nonrandomized control -group pretest and posttest design to determine if an 8-week Hula Hoop exercise and abdominal training combined with a diet plan can produce changes compared to normal daily physical activities.  In practice, the 8 week program consisted of: 1) 60-minute hula hoop dance and abdominal exercise four days a week and 2) daily calorie limit. Each group of 16 overweight nursing students in Boromarajonani College of Nursing Suratthani participated in either a treatment group or a control group. Over 8 weeks, we assessed participant's body weight, waist circumference, body fat percent and body mass index (BM) in three consecutive periods (i.e., the baseline, 4th  week of the program  and 8th week of the program). The data were analyzed by using descriptive statistics, the independent t test, one-way repeated measures ANOVA, and two-way repeated measures ANOVA. The results revealed that there are no significant difference in mean body weight, waist circumference, and body fat percent between treatment and control group before participating in the program. Over 8 weeks 16, participants in the treatment group had the significant difference in body weight (F (1.12, 16.81)=7.03, p=.01) and BMI (F(1.32, 19.80)=4.05, p=.02) except waist circumference (F (1.26, 18.88)=0.76, p=.42) and body fat percent (F (1.76, 26.35)=2.16, p=.14).  When the treatment group was compared with the control groups and the effect of period was controlled, there was the significant effect of the program on the body weight (F (1.36, 20.36)= 9.29, p=.003), body fat percent (F(1.65, 24.74)=6.12, p=.01) and BMI (F(1.16, 24.21)=3.62, p=.05) except for waist circumference (F (1.60, 24.07)= .68, p=.48). In summary, this study suggested that Hula Hoop exercise combined with abdominal training and daily calorie limit may be the choice of the people who are interested in losing weight within 8week period time.

Keywords : Hula hoop, Calorie limit, Weight loss, Overweight

Author Biography

ดาราวรรณ รองเมือง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย