ความรู้ การรับรู้และความตระหนักต่อการจัดการความเสี่ยง และความปลอดภัยของผู้ป่วยในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Knowledge, Perception, and Awareness of Risk Management and Patient Safety towards Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Phayao

ผู้แต่ง

  • พร บุญมี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • สุทธินี มหามิตร วงศ์แสน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ทิติยา กาวิละ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

คำสำคัญ:

ความรู้, การรับรู้, ความตระหนัก, การจัดการความเสี่ยง, ความปลอดภัยผู้ป่วย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อบทคัดย่อวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับ ความรู้ การรับรู้และความตระหนักต่อการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วย 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้และความตระหนักต่อการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วย 3) การเปรียบเทียบความรู้ การรับรู้และความตระหนักต่อการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วย กลุ่มประชากรประกอบด้วย นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 จำนวน 219 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งทดสอบความเชื่อมั่นโดยหาค่าคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 ได้ เท่ากับ0.74 2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วย และ 3) แบบสอบถามความตระหนักต่อการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วย ทดสอบค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.85 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และทดสอบ ค่าทีผลการวิจัยพบว่า1)  ระดับความรู้ การรับรู้ และความตระหนักของกลุ่มประชากร ต่อการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของ อยู่ในระดับมาก (µ=31.54 ,σ =3.43) , ((µ =3.85, σ =0.49) , (µ =4.19 ,σ = 0.42)2)  ความรู้ การรับรู้ และความตระหนักของกลุ่มประชากรต่อการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053) ความรู้ การรับรู้ ความตระหนักของกลุ่มประชากร ต่อการจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยของระหว่างกลุ่มประชากรแต่ละชั้นปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05ข้อเสนอแนะผลการวิจัย ผู้บริหารสถาบันการศึกษาจึงควร ส่งเสริม สนับสนุนให้อาจารย์นาแนวคิดการจัดการความเสี่ยง ความปลอดภัยของผู้ป่วย ไปบูรณาการกับการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทุกรายวิชาการพยาบาล เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาล มีความรู้ มีการรับรู้และความตระหนักต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเพิ่มยิ่งขึ้น

References

REFERENCES
1. Jeerapat, W., Jeerapat, K. Patient Risk Management: Concept, Process, Clinical Safety Practices. Bangkok: Eleven Color Co.Ltd, 2007. (in Thai)
2. Supajaturat, W. WHO, Multi-professional Patient Safety Curriculum Guide (Thai): The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). Bangkok: D-One Books, 2015:22-23. (in Thai)
3. Carayon, P., Xie, A., Kianfar, S. Human Factor and Ergonomics as a Patient Safety Practice. BMJ Qual Saf, 2013; (23) : 196-205.
4. Carol, F.D., Kathryn, R.A. Enhancing Patient Safety in Nursing Education Through Patient Simulation. Agency for Healthcare Research and Quality (US), 2008.
5. Sullivan, D.T. Connecting Nursing Education and Practice: a Focus on Shared Goals for Quality and Safety. Creative Nursing. [online].2010 [cited2010]16(1). Available from: http:// www.ingentaconnect.com/content/ springer.
6. Sherwood, G., Zomorodi, M. A New Mindset for Quality and Safety: The QSEN Competencies Redefine Nurses Role in Practice. Nephrology Nursing Journal, 2014; 41(1): 15-21.
7. Supachutikul, A. HA Update 2018. In the Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). 19th HA National Forum: Value, Quality, Ethics.
13th-16th Mar 2018. Bangkok: D-One Books,2015:170. (in Thai)
8. Supachutikul, A. HA Update 2009. In the Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). 10th HA National Forum: Lean and Seamless Healthcare.
10th-13th Mar 2009. Bangkok: D-One Books, 2015:42-43. (in Thai)
9. Diana, G., Cristine, J., Kristine, K.Facilitating a Culture of Safety and Patient- Centered Care through Use of a Clinical Assessment Tool in Undergraduate Nursing Education. Journal of Nursing Education, 2009.;48(12):702-705.
10. Bloom, B.S., Madaus, G.F. ,and Hosting’s JT. Evaluation to Improve learning. New York: McGraw-Hill Book, 1971.
11. Finnegan, M. New Webster ’s Dictionary of English Language. New York: Consolidate Book, 1975.
12. Good, Carter, V. Dictionary of Education. New York: Mc Graw-Hill Book Company,1973.
13. Thongkae, S., Thongsuk, P., Thaiangchanya, P. Patient Safety Awareness among Novice Nurses Working in General Hospitals in Southern Thailand. The Southern College Network .Journal of Nursing and Public Health, 2018;5(1):
62-73. (in Thai)
14. Wuttimapakorn, N. Professional Nurses Caring Behavior for the Patients Safety in Kasamrad Hospital Group. Veridian E-journal. 2014; 7(1): 698-711. (in Thai)
15. Kitijarudul, D. Factors that Affect Attitudes and Awareness toward Risk Management, Case Study: Export Company [Dissertation]. Nation University,
2014. (in Thai)
16. Katewatimat, M., Ratchawat, P., Chiangta, P. Perceptions and Attitudes towards Patient Safety among Nursing Students in Central Network 2, Nursing College under the Jurisdiction of Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. Multidisciplinary on Cultural Diversity Towards the ASEAN Community,
17th-18th July 2014,Thammarinthana Hotel, Trung. (in Thai)
17. Katewatimat, M., Phulom, N., Chuenchum, J., Patipattarajul, P., Punpom, C. The Development of Promoting Competency model of Risk Management and Patient Safety Care among Nursing Students, Boromarajonani College of Nursing, Saraburi. Journal of Nursing and Education, 2016; 9(4): 74-89. (in Thai)
18. Saneha, C., Musikthong, J., Sripasong, S., Samai, T. Relationships among personal factors, perception about safety methods in medication administration and safe medication practices of nursing students at a faculty of nursing in Bangkok Journal of Nursing Science,
2018; 36(1): 17-30. (in Thai).
19. Hincheeranun, S., Phuwanun, P., Satayawiwat, W., Kusuma Na Ayutthaya, S. Relationship of Knowledge, Attitude, and Perception as Nursing role in taking care of HIV/AIDS patient of Nursing instructor and nursing students at clinical practice. Journal of Nursing Science, 1995; (13):48.
20. Itsarangkul Na Ayutthaya, W. Capability on Risk Management on Administration Error [Dissertation]. Faculty of Nursing, Burapha University, 2002. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-29

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย