การพัฒนาโมเดลการวัดจิตบริการของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร

A Development of Measurement Models of Service Mind in the Students of Sirindhorn College of Public Health

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา จันใด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสกสรรค์ ทองคำบรรจง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

จิตบริการ, โมเดลการวัด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สังเคราะห์และนิยามองค์ประกอบของจิตบริการในกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร โดยการบูรณาการระหว่างแนวคิดและมุมมอง ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) พัฒนาและตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลการวัดจิตบริการของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร และ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างจิตบริการของนักศึกษา ในแต่ละชั้นปี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ระยะที่ 1 คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 75 คน เก็บข้อมูลเดือน สิงหาคม 2560 ระยะที่ 2 คือ นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ที่ลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ระยะ ที่ 1 คือ แบบสอบถามเพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบจิตบริการในกลุ่มนักศึกษาวิทยาลัย การสาธารณสุขสิรินธร ในมุมมองของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือเก็บข้อมูล ระยะท 2 คือ แบบ ประเมินจิตบริการของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์หาคุณภาพเครื่องมือ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. จิตบริการของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ การมีใจรักในงานบริการ (Mind) การพัฒนาคุณภาพบริการ (Develop) การมีความรบผิดชอบ (Responsibility) การควบคุมอารมณ์และการแก้ปัญหา (Emotional control and calmness) การมีความซื่อสัตย์ (Integrity) การมีทัศนคติท่ดีต่องานบริการ (Attitude) การมีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (Personality and relationship) การเข้าใจความต้องการของผู้รับบริการ (Understanding the customer) และ การมีความรู้ในงานที่บริการ (Knowledge)
2. โมเดลการวัดจิตบริการของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร มีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ มีค่า 19.397 ค่าความน่าจะเป็น 0.942 ที่องศา อิสระเท่ากับ 15 แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่า RMSEA 0.240 ค่า Standardized RMR 0.0123 ค่า NFI 0.997 ค่า NNFI 0.997 ค่า CFI 0.999 ค่า GFI 0.992 ค่า AGFI 0.975 และค่า CN814.772
3. นักศึกษาที่เรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น คือ ในชั้นปี 3 มีจิตบริการลดลงเกือบทุกด้าน และเพิ่มขึ้น เล็กน้อยในชั้นปี 4

References

REFERENCES
1. Human Resource Development Division, Praboromarajchanok Institute. The guide of perform the graduate identity of Praboromarajchanok Institute, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Nontaburi: Yuttarin Printing Ltd, 2013. (in Thai)
2. Macmillan, Thomas. T, The Delphi Technique. Paper presented at the Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Ca: Monterey, May
3-5, 1971.
3. Comrey, A. L., & Lee, H. B. A first course in factor analysis. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Erlbaum, 1992.
4. Thornpannaset, P. The attitude of the social’s employees in the industrial area, central part of Thailand towards the service mind enhancement. Master’s thesis of Social Work, Education Social Welfare Administration and Policy. Bangkok: Thammasat University, 2009. (in Thai)
5. Watcharasing, M. Service mind and work motivation predicting nurse’s service efficiency. Master’s thesis of Industrial and Organizational Psychology Program. Bangkok: King Monkut’s University of Technology, North Bangkok, 2013.
(in Thai)
6. Lueangamnuaysiri, M. A study of working service orientation of professional nurses’ private hospitals. Master’s thesis of Nursing Science Program, Nursing Administration. Bangkok: Chulalongkorn University, 2010. (in Thai)
7. Wan-I, Lee, Cheng-Wu, Chen, Tsung- Hao, Chen, and Chen-Yuan, Chen. The relationship between consumer orientation, service value, medical care service quality and patient satisfaction: the case of a Medical Centre in southern Taiwan. African Journal of Business Management, 2010; 4(4): 448-458.
8. Sangsuwan, R. Factors affecting on responsibility to working of the government officials in the Office of Private Education Commission under Ministry of Education, Bangkok. Master’s thesis of Education, Educational Psychology. Bangkok: Srinakharinwirot University, 2004. (in Thai)
9. Pachana, A. Factors affecting to service mind of the nurses: study case only press Ramathibodi hospital. Master’s thesis of Science Program, Industrial and Organizational Psychology. Bangkok: Ramkhamhaeng University, 2003. (in Thai)
10. Vejasit, S. Holistic approach to health personnel development for quality consciousness. Dissertation of doctoral degree of Philosophy in Vocational Education. Bangkok: Kasetsart University,
2003. (in Thai)
11. Luekietbundit, S. Job burnout: the
definition and measurement of the conceptual development. Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities,
1999; 5(2): 167-180. (in Thai)
12. Siwakarn, W. Job burnout in the hospitals’pharmacists, Office of the Permanent Secretary of Ministry of Public Health. Master’s thesis of Pharmacy, Consumer Protection in Public Health. Nakorn Prathom: Silpakorn University,
2010. (in Thai)
13. Ruenpae, V. Psycho-social factors affecting organization citizenship behaviour: a case study of personal working at the Faculty of Veterinary Medicine, Kasetsart University Hospital. Master’s thesis of Science Program,Industrial and Organizational Psychology. Bangkok: Ramkhamhaeng University, 2012. (in Thai)
14. Sarakran, P. Acceptance of co-worker and satisfaction with compensation predicting work motivation of Myanmar labours in Bangkok. Master’s thesis of Industrial and Organizational Psychology. Bangkok: King Mongkut’s University of Technology, North Bangkok, 2016. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-29