ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครนายก

Factors Influencing of Health Quality of Older Person in Nakornnayok Province

ผู้แต่ง

  • ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

การเข้าถึงบริการสุขภาพ, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก 2) ระดับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก และ 3) ความสัมพันธ์เชิงทำนายของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพต่อคุณภาพ ชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่พักอาศัยในจังหวัดนครนายก จำนวน 378 ราย ได้จากการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และเมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และคำนวณสัดส่วนประชากรจำแนกรายอำเภอ แล้วทำการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยปรับปรุงมาจากแบบประเมินคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L ซึ่งผ่าน การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน มีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา (CVI) 0.98 และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ ค่าสัมประสิทธ์ของครอนบาค เท่ากับ
0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย แสดงค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายกมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าอรรถประโยชน์0.92) การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 75.35, S.D. = 0.72) ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของผู้สูงอายุไม่สามารถทานายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของ ผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก ( F= .047, p=.05 ) ผลการวิจัยเป็นผลจากการศึกษาผู้สูงอายุจังหวัดนครนายก เพียงจังหวัดเดียวไม่สามารถนาไปทำนายผู้สูงอายุในพื้นที่อื่นได้ ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นที่อาจมีผลต่อ คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุให้ครอบคลุมมากขึ้น

References

REFERENCES
1. Foundation for Thai Older person Research and Development Institute. The Situation of the Thai Older person in 2013.Bangkok; 2014. (in Thai).
2. Bureau of non communicable disease Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Non-communicable disease statistics 2015. Bangkok; 2015 (in Thai).
3. Loylom, L. Presretirement Preparation for the Older person in Samutprakan Province. Master of Public Health Thesis Huachiew Chalermprakiet University The development of the quality of life of the older person in the local community using the school as a base.
2002. (in Thai).
4. Sakthong, P. Quality of life in health.1st edition. Bangkok: The Publishers. Chulalongkorn University. (in Thai).
5. Thailand Information Center. Data of Nakornnayork province 2017.[online].2017 [cite 2017]. Available from: http:// thailand.kapook.com/.(in Thai).
6. National Board of the Elderly Ministry of Social Development And human security. Thai Elderly Situation 2017. Bangkok; 2017. (in Thai).
7. Jumpakan, J. Quality of life for the
health of musculoskeletal patients get treated with Thai massage at Tha Yang Hospital. Master of Science in Pharmacy Department of Consumer Health Protection Silapakorn University;
2007. (in Thai).
8. Chimroung,J. Mental characteristics and social experiences that influence quality of life.The health of adolescent cleft palate.Ph.D.Applied Behavioral Science Research Srinakharinwirot University; 2014. (in Thai).
9. Wattanun, N. Factors influencing quality of life of cardiac patients. Failed in community Karnchanaburi. Master of Arts in Islamic Studies Community Nursing Practice, Christian University;
2012. (in Thai).
10. Comcong, D. Factors Affecting Quality of Life in the Elderly in Lamsinee District, Srinagarindra Phatthalung Province. Master of Science Health Systems Management. Thaksin University; 2011. (in Thai).
11. Bunpadung, S. Development of the quality of life of the elderly in the local area using the school as a base Sufficiency Economy (Phase 1). Rajabhat University Suan Sunandha;
2011. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-29

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย