การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัย โดยการเทียบเคียงสมรรถนะตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม*
คำสำคัญ:
Research Management, Benchmarking, Education Criteria for Performance Excellenceบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารงานวิจัยตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) เทียบเคียงสมรรถนะการบริหารงานวิจัย และนำเสนอยุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์พยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมและสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 550 คน ผู้บริหารงานวิจัยและคณะกรรมการวิจัย จำนวน 16 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ และแบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์ช่วงห่าง การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบการบริหารงานวิจัย มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการกระบวนการและการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานวิจัย 2) การวางแผน การวัด และวิเคราะห์ผลการดำเนินการด้านการวิจัย 3) ภาวะผู้นำด้านการวิจัย 4) การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการวิจัย 5) การจัดการความรู้ด้านการวิจัย 6) การผูกใจผู้ปฏิบัติงานวิจัย 7) การกำกับดูแลและการบริการด้านการวิจัย และ8) การพัฒนาสภาพแวดล้อมและศักยภาพด้านการวิจัย วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมมีคะแนนรวมเฉลี่ยของกระบวนการในการบริหารงานวิจัยน้อยกว่าสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในภาพรวม (ช่วงห่าง 5.85 %) และรายด้าน (ช่วงห่าง 3.77-15.32 %) ยกเว้น หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และหมวด 6 การจัดการกระบวนการ ที่มีคะแนนรวมเฉลี่ยสูงกว่า (ช่วงห่าง -1.38 % และ -4.49 % ตามลำดับ) ยุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัยของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม มี 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ 19 กลยุทธ์ 100 แนวปฏิบัติ ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ การพัฒนาระบบการนำองค์การด้านการวิจัย การพัฒนาระบบการบริหารงานวิจัย การสร้างวัฒนธรรมวิจัย การจัดการความรู้ด้านการวิจัย การสร้างความผูกพันในงานวิจัย และการเทียบเคียงสมรรถนะด้านการวิจัย
คำสำคัญ : การบริหารงานวิจัย การเทียบเคียงสมรรถนะ เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนิน
การที่เป็นเลิศ
Abstract
This descriptive research aimed to analyze the research management factors on Education Criteria for Performance Excellence, to benchmark the research management of the Nursing Colleges under the Ministry of Defense with Nursing Education Institutions under the Office of the Higher Education Commission and to propose the research management strategies of the Nursing Colleges under the Ministry of Defense. The sample group was as follows: 550 nurse faculty members,
16 research administrators and research committees and 15 senior experts. The data were collected through the questionnaires, assessment forms, interview forms and document analysis forms. Besides, the descriptive statistics, exploratory factor analysis, gap analysis, SWOT analysis and content
analysis were employed in the data analysis.
According to the research results, there were 8 research management factors: Factor
1 - Process Management and Researcher Focus, Factor 2 - Planning, Measurement and Research
Performance Analysis, Factor 3 - Research Leadership, Factor 4 - Stakeholder Focus in Research, Factor
5 - Research Knowledge Management, Factor 6 - Research Engagement, Factor 7 - Research
Supervision and Services and Factor 8 - Development of Research Environments and Potentials. The Nursing Colleges under the Ministry of Defense had a lower total mean scores of research management process than Nursing Education Institutions under the Office of the Higher Education Commission, both overall (gap 5.85 %) and in the individual aspect (gap 3.77-15.32 %) with the exception to Category 2 Strategic Planning and Category 6 Process Management that the former had a higher total mean scores (gap -1.38 % and -4.49 % respectively) With respect to the research management
strategies of Nursing Colleges under the Ministry of Defense, there were 6 strategic issues,
19 strategies and 100 practices. The 6 strategic issues were: the research leadership system development, the research management system development, the research culture building, the research knowledge management, the research engagement creation and the research benchmarking.
Keywords : Research Management, Benchmarking, Education Criteria for Performance Excellence