Effect of Program for Promoting Emergency Patient Care Skill toward Perceived Self- Efficacy in Emergency Care among Nursing Students Boromarajonani College of Nursing, Chiang Mai

ผลของโปรแกรมสร้างเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรางคณา บุญมา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โปรแกรมสร้างเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, นักศึกษาพยาบาล, ผู้ป่วยฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระยะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน  รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัย กึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง (one group pretest–posttest design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 129 คน โปรแกรมประกอบด้วย การบรรยาย และฝึกทักษะปฏิบัติตามฐาน เก็บข้อมูลการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมสร้างเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้แบบสอบถาม การรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบค่าที (Paired sample t–test)

ผลการศึกษาพบว่า ก่อนเข้าโปรแกรมสร้างเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน นักศึกษา มีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินอยู่ในระดับน้อย (Mean = 2.39, SD = 0.60) หลังเข้าโปรแกรมสร้างเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน นักศึกษามีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.90, SD = 0.44) เปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถ ของตนเองในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ก่อนและภายหลังข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน นักศึกษามีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p <.001) 

ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมสร้างเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ส่งเสริมให้นักศึกษา เกิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มขึ้น จึงควรพิจารณาใช้เป็นแนวทาง ในการจัดกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินให้กับนักศึกษา เพื่อสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินต่อไป

References

REFERENCES
1.Bandura, A. Self-efficacy : the exercise of control. New York : W.H. Freeman and Company : 1997.
2. Krongthaeo, S., Partipajak, S. Udomkaseamsab. Effectiveness of Airway Management and Ventilation Training Program in Undergraduate Nursing Student. Rama Nurs J. 2016. 22 (1).: 93-109. (in Thai)
3. Bundasak, T.,et al. Affective Factor on Nursing Students Anxiety while Practice in Intensive Care Unit. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medicine Education center.,2017 34 (1) : 6-16. (in Thai)
4. Rachapakdee, P. The needs of nursing students during practice in the Intensive Care Unit The 2nd annual Ratchathani National academic Conference 2017 “Research 4.0 for Country Development to be Wealthy and Sustainability” [Online]. 2017 [cited 2017 November 9]. Available from http://jes.rtu.ac.th/rtunc2017/pdf/Oral%20 Presentation/oral20กลุ่ม%20%20 วิทยาศาสตร์สุขภาพ/OHS _186_full.pdf (in Thai)
5. Udomkasemsab, A., Partiprajak, S. , Thongpo, P. Effectiveness of Training Program for PrincipleEmergency Nursing Practice in Undergraduate Nursing Student. Journal of Nursing and Education 8 (2) : 54 - 66 (in Thai).
6. Phuangngoenmak, S. Strengthening Competencies of nurse practitioner working in diabetes mellitus clinic at primary care unit. (dissentation). Bangkok: Graduate Mahidol University : 2016 (in Thai).
7. Payaprom, Y., Tanasuwan,P.,Keawwannarat A.,Suriya C.,Oupra R. Effect of training in patient education on nursing students self-efficacy in providing health education to older adults living in the community Journal of Nursing and Education 8 (2) : 36-53 (in Thai)
8. Cohen,J. Statistical power analysis for behavioral sciences. (2nded). Hilldale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates. (1988).
9 Srisaard,B.The interpretation of data derived from likert scales. [Online]. 2017 [cited 2017 January 2]. Available from www.watpon.com/boonchom/05.dos (in thai )
10. Banathong.P., Prutapitukpol.S., Arunwaragorn.N. A development of Practice Care Program for Acute ST elevation Myocardial Infarction in Accidental and Emergency Department at Jainat Narendra Hospital. The 2nd STOU Graduate Research Conference. Retrieved from http://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/%E0%B8%9D%E0%B8%AA%E0%B8%A/research/2nd/HSOral.html (in thai)
11. Partiprajak,S. Relationship between Knowledge, Perceived self – efficacy in Basic Life Support (BLS) and Chest compression Performance among Undergradute Nursing student. Songklanagarin Journal of Nursing 35 (1). (119-133). (in thai)
12. Srisuk, S., Apiratwarakul, K. Lenghong,K., Rattanaseeha,W., Kotruchin, P., Buranasakda M,.Effectiveness of Basic Life Support and automated external defibrillator short- course training in undergradute students. Srinagarind Med J.2017 32 (4) : 332-37 (in thai).
13. Nakphet,K.,Aphijirarat,J.,Yaisoom,S. Developemental psychology for nurses.(2thnd) Bankok; Supa printing:2005. (in thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-08

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย