The Prevalence and Factors Related to Depression among Older People in Tab Sakae District, Prachuap Khiri Khan Province

ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • กฤติเดช มิ่งไม้ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ, แรงสนับสนุนทางสังคม, สัมพันธภาพในครอบครัว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอทับสะแก จำนวน 364 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน 3) แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วย 4) แบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว 5) แบบวัดแรงสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสัมภาษณ์การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และ 7) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ร้อยละ 25.6 โดยเป็นภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อย ร้อยละ 19.0 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิง (OR= 3.01, 95% CI= 1.45-6.33, p= 0.003) ความเพียงพอของรายได้ (OR= 3.60, 95% CI= 1.81-7.14, p<0.001) สัมพันธภาพในครอบครัว (OR= 3.57, 95% CI= 1.66-6.68 p<0.001) แรงสนับสนุนทางสังคม (OR= 2.50, 95% CI= 1.63-8.23, p<0.001) และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน (OR= 2.33, 95% CI= 1.17-4.66, p= 0.017) ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ สัมพันธภาพในครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคม และ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันและควบคุมการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้ลดการเกิดภาวะซึมเศร้าในชุมชน

References

REFERENCES
1. National Statistical Office.Report on the 2014 survey of older persons in Thailand. Bangkok: Text and Journal Publication; 2014. (in Thai).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานประชากรสูงอายุของไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2557.
2. Institute for Population and Social Research. Mahidol population gazette. Bangkok; 2017. (in Thai)
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สารประชากรมหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร; 2560.
3. Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. Situation of the Thai elderly 2012.Bangkok; 2014. (in Thai).
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทีคิว พี จำกัด; 2557.
4. Siripanich, B. Thailand elderly. Bangkok: Moh-chao-Ban Publishing House; 2001. (in Thai).
บรรลุ ศิริพานิช. ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2544.
5 Lueboonthavatchai, O. The mental health and psychiatric nursing. 2ed edition. Bangkok: V. Print.; 2011. (in Thai)
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้น; 2554.
6. World Health Organization. Depression [online]. 2017 [Cited 2017July10.]. Available from: http://www.who.int/mental_health/management/depression/deffinition/en/.
7. Volkert, J., Schulz, H., Harter, M., Wlodarczyk, O. and Andreas, S.The prevalence of mental disorders in older people in Western countries: a meta-analysis. Ageing Research Reviews, 2013; 12(1): 339-353.
8. Wongpakaran, N. Psychotropic in Thailand elderly. Journal of the psychiatric association of Thailand, 2008; 53 (1): 39-46. (in Thai).
ณหทัย วงศ์ปการันย์. จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศ ไทย, 2551; 53 (1): 39-46.
9 Aoonkaew, V. The prevalence of depression among the elderly in Ban prow community Hospital. Meuang District, Nong Bua Lam Phu Province. Community Health Development Quarterly Journal KhonKaen University, 2015; 3 (4): 577-589. (in Thai).
วิชุดา อุ่นแก้ว และคณะ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558; (4): 577-589.
10. Yodkul, S. Predictive Factors of Depression among Older People with Chronic Disease in Buriram Hospital.Journal of Nurses association of Thailand North-eastern division, 2012; 30(3): 50-57. (in Thai).
สายพิณ ยอดกุล.ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดบุรีรัมย์.วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 2555; 30(3): 50-57.
11. Bunloet, A. Prevalence and Factors Associated with Depression among the Elderly Community Residents with Chronic Diseases in Samliam Urban Primary Care Unit, Khon Kaen. Srinagarind Medical Journal, 2016; 31 (1): 23-33. (in Thai).
อาคม บุญเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเขตรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์
เวชสาร, 2559; 31 (1): 23-33.
12. Sukprasert, P. Prachuap Khiri Khan Population Statistical. Government office in Thap Sakae, Prachuap Khiri Khan Province; 2017. (in Thai).
พงศ์นรินทร์ สุขประเสิรฐ. สถิติประชากรประจวบคีรีขันธ์. ที่ว่าการอำเภอทับสะแก จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์; 2560.
13. Miller, C.A. Nursing care of older adults: theory and practice. 3rd edition. Philadelphia: Lippincott; 1999.
14. Daniel, W.W. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons; 1995.
15. Department of Medical Service, Ministry of Health. Activities of Daily Living Index Assessment [Online]. 2017 [Cited 2017Jule 11.]. Available from: http://happynetwork.org/upload/forum/pic5552fe2898d4a. (in Thai)
กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2560/06/11]. เข้าถึงได้จาก: http://happynetwork.org/upload/forum/pic5552fe2898d4a.
16. Ratthanapun, S. Factors Related to Spiritual Health of Elderly Admitted in a Hospital. Dissertation of master degree of nursing. Prince of Songkla University; 1998. (in Thai)
สมพร รัตนพันธ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในโรงพยาบาล.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2541.
17. Chinsangnet, P. Life Satisfaction of the Elderly and Its Relation with Self-care Behaviors and the Family Relationship in Eastern Seaboard of Chonburi. Dissertation of master degree of science (Family Health). Mahidol University; 1995. (in Thai)
พวงผกา ชื่นแสงเนตร. ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความพึงพอใจในชีวิต ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันตก จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาอนามัยครอบครัว). มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538.
18. Ratana, W. Health Care Behavior and Social Support with Elderly’ s of Life Quality of Aging Club at Suratthani Central Hospital. Dissertation of master degree of education (Development Psychology). Srinakharinwirot University; 2009. (in Thai)
วิลาวัลย์ รัตนา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.
19. Klumrat, K. Causal Factors of Health Behavior of Elderly in Western Region of Thailand. Rajabhat Maha Sarskham University Journal, 2013; 7 (3): 93-103. (in Thai)
ขวัญดาว กล่ำรัตน์. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภูมิภาค
ตะวันออกของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2553; 7 (3): 93-103.
20. Poungvarin, N. et al. Thai geriatric depression scale. Siriraj Medical Journal 1994; 46: 1-8. (in Thai)
นิพนธ์ พวงนรินทร์และคณะ. แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย. สารศิริราช, 2537; 46: 1-8.
21. Paungrod, N. The study on Depression in Nonthaburi Province Elderly. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Science, 2012; 2 (1); 63-74. (in Thai).
นภา พวงรอด. ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2012; 2 (1); 63-74.
22. Yaiyong, O. Depression and grief of the elderly at the elderly associate in Nonthaburi Province. Dissertation of master degree of Science (Mental health). Chulalongkorn University; 2010. (in Thai)
อรสา ใยยอง. ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียคู่สมรสของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขภาพจิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
23. Jitaree, B. The Factors Influencing Depression Amongst the Elderly at a Community in Nakhon Pathom Province. Dissertation of master degree of nursing (Community Health Nurse Practitioner). Cristian University; 2012. (in Thai).
บุษราคัม จิตอารีย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.
24. Kumto, O. Factors related to adaptation among older persons with Depressive Disorder. Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 2013; 28 (2): 74-87. (in Thai)
อรพิน คำโต. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 2013; 28 (2): 74-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-14