ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • น้ำทิพย์ แช่มช้อย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กุสุมา รวมธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อุมาพร ปั้นมี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พรชิตา สุเมร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • วิทวัส ศรีอำพัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ขนิษฐา นาคเกลี้ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในพื้นที่ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 68 คน คัดเลือกผ่านการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และแบบสอบถามวัดความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และระดับน้ำตาลในเลือดจากคลินิกเบาหวาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าทีระหว่างกลุ่มที่เป็นอิสระและไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยค่าเฉลี่ยความรู้ของกลุ่มทดลองเท่ากับ 13.85±0.98 และกลุ่มควบคุมเท่ากับ 8.14±2.29 ทัศนคติของกลุ่มทดลองเท่ากับ 47.11±2.47 และกลุ่มควบคุมเท่ากับ 23.52±3.40 พฤติกรรมของกลุ่มทดลองเท่ากับ 121.67±1.60 และกลุ่มควบคุมเท่ากับ 53.29±3.48 นอกจากนี้ กลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย 148.47±25.29 และกลุ่มควบคุม 160.29±14.93 สรุปได้ว่าโปรแกรมนี้มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงระดับน้ำตาลในเลือด ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โดยเน้นการให้ความรู้ด้านการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สามารถเพิ่มทัศนคติในการปรับเปลี่ยนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม และส่งผลทำให้ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

References

กมลวรรณ จักรแก้ว. (2561). การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน. เชียงใหม่: วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย.

กนกวรรณ ด้วงกลัด,ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา และณัฐกมล ชาญสาธิตพร.(2564). โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1),66-83.

กรมควบคุมโรค. (2565).กองโรคไม่ติดต่อ /สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. สืบค้น 3 มกราคม 2567.จาก, https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.(2567). รายงานข้อมูลอำเภอศรีประจันต์. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://3doctor.hss.moph.go.th

กานต์ชนก สุทธิผล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี:นครสีธรรมราชเวรสาร ฉบับที่ 5, 1-11.

กิติยากร คล่องดี, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, และธราดล เก่งการพานิช. (2562). ผลของโปรแกรมฉลาดบริโภคโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน นิดที่ 2 โรงพยาบาลเว ศาสตร์เขตร้อน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. 25(3).326-339.

จิตรา จันทร์เกตุ. (2562). ผลลัพธ์ของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัวด้านโภชนาการต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง.บัณฑิตวิทยาลัยมหาววิทยาลัยคริสเตียน

ซูไฮนี ดอเลาะ และ โนเยาฮารี สาและ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ยะลา: TUH Journal online Volume 4, 28 – 30.

ธัญญลักษณ์ แสนบุดดาและคณะ.(2566). ทฤษฎีแนวคิดการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเหวานชนิดที่ 2.วารสารวิชาการสุขภาพและสุขภาพ: ปีที่1 ฉบับที่1

นายแพทย์ณัฐพงศ์ เลาห์ทวีรุ่งเรือง.(2563). ประโยชน์การออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ:โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์.

นายแพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ. (2550). โยคะเพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจ. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

พานทิพย์ แสงประเสริฐ.(2550). ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการออกกำลังกายในบุคลากรในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วารสารพยาบาลของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, 54(4):252-265.

แพทย์หญิงวรณัน เจริญหิรัญยิ่งยศ. (2563). ประเภทของโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: แผนกเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลวิภาวดี.

มะยุเรีย รุ่งเจริญอารีจิตต์. (2567). ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคเหนือ). 34(2): 46-53.

ยลวรณัฏฐ์ จีรัชตกรณ์. (2566). การออกกำลังกายตามหลัก FITT. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1567.

ศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). ท่าบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพ.นครปฐม: คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุชาดา พวงจำปา. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง ต่อความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการออกกำลังกายจำนวนก้าวเดิน และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภาพร คำสม, แสงทอง ธีระทองคำ และกมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์. (2560). ผลของโปรแกรมออกกำลังกายแบบแกว่งแขนต่อระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 ในชุมชน. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ไทย. 4(2): 46-60.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.(2566). การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน.สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.dmthai.org/

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ. (2566). ความหมายของโรคเบาหวาน. สืบค้น 3 มกราคม 2567.

จาก https://www.dmthai.org/

อุระณี รัตนพิทักษ์. (2553). การให้ความรู้จัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ:สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ.

อารีรัตน์ แพงยอด. (2567). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 9(3). 135-148.

Creer, L.T. (2000). Self management at chronic illness. Handbook at self regulation. California: Academic.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30