จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมการตีพิมพ์วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
วารสารได้กำหนดบทบาทและหน้าที่สำหรับบุคคล 3 กลุ่ม ที่อยู่กระบวนการของการการเผยแพร่ตีพิมพ์บทความ ได้แก่
1.บรรณาธิการวารสาร (Editor)
2.ผู้นิพนธ์ (Authors)
3.ผู้ประเมินบทความ (Reviewers)
ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กลุ่มได้ศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินการเผยแพร่บทความเป็นไปตามจริยธรรมเพื่อวงการวิชาการต่อไป
1. หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ
บรรณาธิการควรจะต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
- พิจารณา คัดกรอง ตรวจสอบ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ด้วยหลักการทางวิชาการหรือตามระเบียบวิธีวิจัย
- เสนอแนะ ให้ปรับแก้บทความก่อนส่ง Peer review
- พิจารณาคัดเลือก Peer review ให้ตรงตามสาขาของบทความ
- ตรวจสอบ การแก้ไขให้ตรงตามคำแนะนำของ Peer review
- พิจารณา ตัดสิน กรณีคำแนะนำของ Peer review ทั้งสองท่าน ไม่ตรงกัน
- พิจารณา ตัดสิน กรณีผู้นิพนธ์บทความไม่แก้ไขตามคำแนะนำของ Peer review
- ปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
- เต็มใจที่จะแก้ไขและให้คำแนะนำข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัย หากจำเป็น
หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้อ่าน
- ควรแจ้งมาตราฐานของวารสารและการปรับเปลี่ยนรูปแบบของวารสารให้ผู้อ่านผ่านเวปไซต์วารสาร
2. หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้นิพนธ์
- แจ้งผลพิจารณา คัดกรอง ตรวจสอบ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ด้วยหลักการทางวิชาการหรือตามระเบียบวิธีวิจัย ให้แก่ผู้นิพนธ์ทราบ
- แจ้งผลการพิจารณา ตัดสิน กรณีคำแนะนำของ Peer review ทั้งสองท่าน ไม่ตรงกัน ให้แก่ผู้นิพนธ์ทราบ
- แจ้งผลพิจารณา ตัดสิน กรณีผู้นิพนธ์บทความไม่แก้ไขตามคำแนะนำของ Peer reviewให้แก่ผู้นิพนธ์ทราบ
- แจ้งผลการตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ ภายใต้ความถูกต้องตามหลักวิชาการ ความสำคัญ ความใหม่ และความชัดเจนของบทความวิจัย ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร
- รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้นิพนธ์ กรณีมีการอุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
- พิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความอย่างเป็นธรรมและส่งบทความให้ผู้พิจารณาบทความโดยผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double blind)
3. หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ
- บรรณาธิการควรจัดพิมพ์คำแนะนำการเขียน รูปแบบ ระเบียบการส่งบทความ ขั้นตอนการส่งบทความ แก่ผู้ประเมินบทความ
- ให้คำแนะนำ ประสานระหว่างผู้นิพนธ์กับผู้ Peer review กรณีมีข้อขัดแย้งทางวิชาการ
กระบวนการพิจารณาประเมินบทความ
- บรรณาธิการรับบทความจากผู้นิพนธ์ แล้วจึงพิจารณา ตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบ และความถูกต้องตามระเบียบวิธีการวิจัย
- จากนั้นบรรณิการส่งบทความให้ผู้นิพนธ์แก้ไข ก่อนส่งให้ Peer review โดยจะได้รับการปกปิดเป็นความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมินโดยผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double blind)
- ส่งผลการประเมินให้ผู้นิพนธ์แก้ไข
- กองบรรณาธิการพิจารณา ตรวจสอบ การแก้ไขของผู้นิพนธ์อย่างเคร่งครัด
- จัดทำบทความขึ้นระบบออนไลน์
การร้องเรียน
- ทางวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน มีช่องทางในการร้องเรียนจากผู้นิพนธ์ กรณีข้อสงสัย ขัดแย้ง
- ทางวารสารโดยบรรณาธิการดำเนินการตอบข้อร้องเรียนภายใน 7 วัน ผ่านทางระบบหรือทางอีเมล
การสนับสนุนการอภิปราย
- วารสารรับบทความเกี่ยวกับการวิจารณ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารในรูปของบทความทางวิชากร
- สนับสนุนให้อภิปรายผลภายใต้ข้อมูลสนับสนุน เอกสารทางวิชาการ หรือบทความวิจัยไม่เกิน 10 ปี
สนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการ
- ทางวารสารสนับสนุนให้เขียนบทความภายใต้ความถูกต้อง ความทันสมัย และหลักการทางวิชาการ ตลอดจนระเบียบวิธีการวิจัย
- บทความที่ผ่านกระบวนการของวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชนทุกเรื่อง มีมาตรฐานทางวิชาการและได้รับการเห็นชอบจาก Peer review และบรรณาธิการ
- บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ทางวารสารสาภาการสาธารณสุขชุมชน เน้นให้มีการขอจริยธรรมวิจัยในมนุษย์โดยเฉพาะงานวิจัยที่ทำในมนุษย์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ทางวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน จะเคร่งครัดกรณีบทความมีการคัดลอก การนำเสนอรูปภาพ หรือการนำผลงานผู้อื่นมาเป็นส่วนหึ่งของบทความเพื่อตีพิพมพ์เผยแพร่ในวารสาร
- ทางวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน จะไม่เปิดเผยรายชื่อ Peer review ให้แก่ผู้นิพนธ์หรือบุคคลอื่น
การติดตามความประพฤติมิชอบ
- กรณีมีการแจ้งร้อยละของความซ้ำซ้อนของเนื้อหาหรือการคัดลอดบทความเกินร้อยละ 20 ทางวารสารจะดำเนินการให้ผู้นิพนธ์ชี้แจ้งและรายงานเหตุผลของความซ้ำซ้อน
- ทางวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ดำเนินการพิจารณาปฏิเสธบทความ หากมีการคัดลอดอย่างร้ายแรงหรือให้เหตุผลอันมาสมควร
ประเด็นพิจารณาที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณิชย์
- วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือ สมาชิกของสภาการสาธารณสุขชุมชน จึงไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
- บุคคลภายนอก สามารถสืบค้นข้อมูลจากวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ผลประโยชน์ทับซ้อน
- บรรณาธิการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน(การขัดกันด้านผลประโยชน์)ทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และสมาชิกกองบรรณาธิการ
กระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนที่มีต่อบรรณาธิการที่มีการส่งมาให้คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์
- ข้อร้องเรียนของ ผู้นิพนธ์ ผู้อ่าน ผู้ประเมิน บรรณาธิการหรือสำนักพิมพ์วารสารมีการส่งมาให้คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ พิจารณา
- คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์จะรับข้อร้องเรียนภายใน 6 เดือนหลังจากวารสารได้พิจารณาข้อร้องเรียนเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์อาจพิจารณานอกระยะเวลาดังกล่าวนี้เป็นกรณีพิเศษได้
เมื่อการร้องเรียนมีการส่งต่อมาที่กองบรรณาธิการ:
- ผู้ร้องเรียนยื่นข้อร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ของกองบรรณาธิการวารสารผ่านทางระบบหรืออีเมล
- เจ้าหน้าที่ของกองบรรณาธิการวารสารตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อร้องเรียนตามคำร้องเรียน
- กองบรรณาธิการพิจารณาข้อร้องเรียน สรุปผลส่งผู้ร้องเรียน
ขั้นตอนการอุทธรณ์
- ผู้ร้องเรียนสามารถอุทธรณ์ต่อกองบรรณิการวารสารสภาสาธารณสุขชุมชน