สมการทำนายภาวะความเครียดของผู้สูงอายุด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ: กรณีศึกษาชุมชนบางจะเกร็ง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • กนกพร สมพร วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นพดล ทองอร่าม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://orcid.org/0009-0003-1055-4533
  • ศศิวิมล บูระณะกิติ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วันวิสาข์ เชื้อชัง วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ณัฐนันท์ พันเสือ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชัยวัฒน์ สาททอง วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นิติธรรม พิลาภรณ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความเครียด, ผู้สูงอายุ, การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

บทคัดย่อ

ความเครียดเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญในผู้สูงอายุและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมการทำนายภาวะความเครียดของผู้สูงอายุด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณในชุมชนบางจะเกร็ง จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ 250 คน โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2567 – กุมภาพันธ์ 2568 ด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ทั้งความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ทั้งฉบับเท่ากับ 0.76  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยวิธี Stepwise

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะความเครียดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ประกอบด้วยปัจจัยด้านสุขภาพกาย (β=-.217) ปัจจัยด้านสุขภาพจิตและอารมณ์ (β=-.208) และปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (β=.200) โดยสามารถร่วมกันทำนายความเครียดได้ร้อยละ 10.60 สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านสุขภาพทั้งในระดับกาย จิต และสังคม มีบทบาทสำคัญต่อระดับความเครียดของผู้สูงอายุ ผลการศึกษานี้สะท้อนถึงความจำเป็นในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยเน้นการจัดกิจกรรมฟื้นฟูสุขภาพกาย การสนับสนุนสุขภาพจิตผ่านเครือข่ายครอบครัวและชุมชน และการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

 

References

กนกพร สมพร, ทัศพร ชูศักดิ์, พรรณี บัญชรหัตถกิจ, ธนูศิลป์ สลีอ่อน, และนพดล ทองอร่าม. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 3(3), 93-106.

คชาภรณ์ ศรีพารัตน์ และวัฒนา ชยธวัช. (2567). การพยากรณ์อัตราผู้สูงอายุที่มีปัญหาความเครียดในจังหวัดลพบุรี. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 30-37.

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย, อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, & ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์. (2564). ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 16(2), 79-86.

นิติกร ภู่สุวรรณ. (2556). ความเครียดของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลแห่งหนึ่ง จังหวัดสกลนคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, (ฉบับพิเศษ), 164-171.

ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์, สุภาวดี นพรจุจินดา, ประทีป หมีทอง และสุนิสา จันทร์แสง. (2567). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 4(2), 25-36.

ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. (28 ตุลาคม 2567). ความเครียดและวิธีแก้ความเครียด. เข้าถึงได้จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม. (28 สิงหาคม 2567).รายงานคุณภาพชีวิตจังหวัดสมุทรสงคราม. เข้าถึงได้จาก https://samutsongkhram.cdd.go.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. (2567). ข้อมูลสถานะสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2567. สมุทรสงคราม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม.

อังควรา วงษาสันต์ และนพรัตน์ บุญเพียรผล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเครียดของผู้สูงอายุในเขตบางพลัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Danaiel, W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Science (9thed). New Yoke: john Wiley&sons.

Issalillah, F., & Aisyah, N. (2022). The Elderly and the Determinants of Stress. Journal of Social Science Studies (JOS3), 2(1), 9-12. https://doi.org/10.56348/jos3.v2i1.19

Muñoz-Bermejo, L., Adsuar, J.C., Postigo-Mota, S., Casado-Verdejo, I., de Melo-Tavares, C.M., García-Gordillo, M.Á., Pérez-Gómez, J., & Carlos-Vivas, J. (2020). Relationship of Perceived Social Support with Mental Health in Older Caregivers. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17, 3886, 1-13. https://doi.org/10.3390/ijerph17113886

Paralikas, T., Maria, M., Dimitrios, T., Christina, B., Nikolaos, C., Antigoni, F., Georgios, T., & Stiliani, K. (2021). Physical and Mental Health Level of the Elderly Living in Central Greece. Materia Socio-Medica, 33, 16 - 20. https://doi.org/10.5455/msm.2021.33.16-20

Senaviratna, N. A. M. R., & Cooray, T. M. J. A. (2019). Diagnosing multicollinearity of logistic regression model. Asian Journal of Probability and Statistics, 5(2), Article AJPAS.51693. https://doi.org/10.9734/ajpas/2019/v5i230132

World Health Organization. (2015). World report on ageing and health. Retrieved August 18, 2018, from http://www.who.int/ageing/publications/world-report/en/

World Health Organization. (2017). Mental health of older adults. Retrieved August 18, 2018, from http://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-25