ผลของโปรแกรม English Language Skills ต่อความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ทางสุขภาพสำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธนณัฏฐ์ สากระสันต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัชคณะพยาบาลศาสตร์, สถาบันพระบรมราชชนก
  • ดนิตา สมุทรไทย โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
  • มนสิชา เล้าสกุล โรงพยาบาลเขาย้อย
  • รินรดา สงคราม โรงพยาบาลท่ายาง

คำสำคัญ:

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, โปรแกรม English Language Skills, ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษทางสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิด 1 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม English Language Skills ต่อความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษทางสุขภาพสำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างได้รับการใช้โปรแกรม English Language Skills ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรม English Language Skills เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรม English Language Skills วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test 

           ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษทางสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และ 2) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรม English Language Skills อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.56, S.D. = 0.18)

            ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรม English Language Skills ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดการจดจำคำศัพท์ในระยะยาว

References

กิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีเชื่อมโยงความรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 10(19), 42–54.

ข่าวจุฬา. (2561). ดาวน์โหลดฟรี "แอปพลิเคชัน Hospitalk" เพื่อฝึกทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรทางการแพทย์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2568, จาก https://www.chula.ac.th/news/15544/

ญาภัทร นิยมสัตย์ และคณะ. (2566). การพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองรูปแบบออนไลน์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการฟังและอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 41(3), 1–16.

นิรชา ทุ่งฝนภูมิ และคณะ. (2565). ประสิทธิผลการเรียนผ่านบทเรียน E-learning ต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 5(1), 87–98.

ปวีนุช จีนกูล. (2562). รูปแบบการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของพยาบาลวิชาชีพในงานการพยาบาลผู้ป่วยใน สถาบันโรคทรวงอก. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปัญวลี เสริมทรัพย์. (2560). การใช้เทคโนโลยีในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 8(1), 32–34.

บุษบา ทาธง, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์ และ บุษกร แก้วเขียว. (2562). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล ศาสตรบัณฑิตในรายวิชา "การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1" ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 155–168.

วิไลพร ขำวงษ์ และคณะ (2563). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษของบุคลากรสุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 223–234.

ศุภศิลป์ กุลจิตเจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีและข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน. วารสารนักบริหาร, 33(4), 42–54.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง และ รุ่งนภา จันทรา. (2562). การศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21: สมรรถนะและบทบาทของอาจารย์พยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 1–23.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Bloom, B. S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill.

Thorndike, E. L., (1932). Columbia University, Institute of Educational Research, Division of Psychology. The fundamentals of learning. New York: Teachers College Bureau of Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-25