ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ธรรมศักดิ์ สายแก้ว คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ , วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 332 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีค่าความตรงเนื้อหาเท่ากับ .845 ค่าความเชื่อมั่นของเจตคติและพฤติกรรมเสี่ยงเท่ากับ .752 และ .717 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square ผลการวิจัยพบว่า

1. วัยรุ่นในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 88.6

2. ปัจจัยด้านเพศ และประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001 และ 0.01 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านอายุ รายได้ครอบครัว การพักอาศัย การมีแฟน/คนรัก ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเจตคติเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่มีความสัมพันธ์

ดังนั้น ควรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ชะลอการมีเพศสัมพันธ์ในผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ โดยแนะนำทางออกที่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็ไม่ประณาม ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว แต่แนะนำการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย แนะนำสถานบริการสุขภาพเมื่อเกิดปัญหาทางเพศ

References

กองระบาด กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.

จุฑามาศ เบ้าคำกอง และสุภารัตน์ คะตา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษา. วาสารสำนักงานป้องกันโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(1), 66-76.

ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 149-163.

มาลี สบายยิ่ง. (2562). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสังคมปัจจุบัน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(2), 390-412.

รสวันต์ อารีมิตร. (2559). ตำราเวชศาสตร์วัยรุ่น. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

ววิวรรณ สุวรรณสันติสุข. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิชาเอกบริหารสาธารณสุข สาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

วนิดา ภูพันหงส์, กฤษณา วุฒิสินธ์ และธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 54-72.

ศิวานิตย์ ทองคำดี, ฉวีวรรณ บุญสุยา และสาวิตรี วิษณุโยธิน. (2563). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 5(1), 85-98.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. (2562). สรุปรายงานประจำปี. เอกสารอัดสำเนา.

Becker, M. H. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs, 2(4winter), 354-385.

Bloom, B. S. (1971). Hand Book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning.New York: Mc Graw-Hill Book Company

Harakeh, M. E. de Looze. Schrijvers, C. T., van Dorsselaer, S. A. & Vollebergh, W. A. (2012). Individual and environmental predictors of health risk behaviours among Dutch adolescents: The HBSC study. Public Health, 126(7), 566-573.

Kiess, H. O. (1989). Statistical Concepts for The Behavioral Sciences. Biston Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30