ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคเมลิออยโดสิสในชาวนาตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สิริสุดา วงษ์ใหญ่ นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กษมา วงษ์ประชุม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โรคเมลิออยโดสิส, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ชาวนา, ประสิทธิผลของโปรแกรม, สุขศึกษารายกลุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเมลิออยโดสิสในเกษตรกรตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวนาที่ทำนา 70 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มศึกษา 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 35 คน โดยในกลุ่มศึกษาได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเมลิออยโดสิส ซึ่งใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 3 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเมลิออยโดสิสที่ถูกต้องในชาวนา ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Repeated-Measures ANOVA, Mann-Whitney U test และ Independent Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า

คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเมลิออยโดสิสก่อนการให้โปรแกรมของกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน หลังการให้โปรแกรมฯ ทันทีและหลัง 1 เดือน กลุ่มศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเมลิออยโดสิสมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.05)

สรุปได้ว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องการป้องกันตนเองจากโรคเมลิออยโดสิส และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเมลิออยโดสิสให้ดีขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. (2564). กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระวังป่วยโรคเมลิออยด์ หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลน. สืบค้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php? news=21537&deptcode=brc.

คมสัน ฉันวิรุฬห์ศิริทรัพย์. (2556). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเมลิออยด์โดสิสในกลุ่มเกษตรกรที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ธิดารัตน์ สิงห์ทอง, คัติยา อีวาโนวิช และฉวีวรรณ บุญสุยา. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Thai Journal of Public Health, 50(2), 148-160.

บัณฑิตา พัฒนี และสมฤดี กมุติรา. (2562). ความรอบรู้ทางสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุในเขตเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. การศึกษาตามหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม, 3(1), 22-25.

พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ. (2561). โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญแข สุขสถิตย์, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, อรพรรณ โตสิงห์ และเลลานี ไพฑูรย์พงษ์. (2564). ผลของโปรแกรมการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการล้างมือของผู้เข้าเยี่ยมในหอผู้ป่วยวิกฤต. Thai Journal of Nursing Council, 36(2), 32-48.

ภาวนา พนมเขต, สุรศักดิ์ แว่นรัมย์, ศุทธินี ธิราช, จุฑารัตน์ จิตติมณี และมารุต พงศ์ปัญญา. (2560). การศึกษาการกลายพันธุ์ของเชื้อ Burkholderia Pseudomallei ที่แยกได้จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศูนย์วิจัยเมลิออยโดสิส. (2560).โรคเมลิออยโดสิส. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562 จาก http://www.melioid.org/home/ index.php?l=th.

สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี. (2564). ข้อมูลด้านการผลิตเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดอุบลราชธานี. แผนพัฒนาจังหวัด 5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) จังหวัดอุบลราชธานี ฉบับทบทวน. อุบลราชธานี, หน้า 8.

สายรุ้ง ประกอบจิตร, สุมัทนา กลางคาร. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในญาติสายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(1), 82-89.

สุปริญญา สัมพันธรัตน์ และสุพินดา เรืองจิรัษเฐียร. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อซ้ำของผู้ติดเชื้อเมลิออยด์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(2), 14-22.

สุวรรณา มณีนิธิเวทย์. (2563). ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองผ่านระบบเครือข่ายสังคมต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในบุคลากรของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. Thai Journal of Public Health, 50(1), 47-60.

อเนก แก้วปาน. (2555). พฤติกรรมการป้องกันโรคเมลิออยด์โดสิส (Meliodosis) ของเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว และวัชรีวงศ์ หวังมั่น. (2563). งานวิจัยผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 419-429.

อรทัย สุวรรณไชยรบ. (2558). โรคเมลิออยโดสิส. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข, 201, 82-85.

Cohen, J. (1977). Statistical Power for the Behavioral Sciences. 2nd ed. New York: Academic Press.

Currie, B. (2014). Melioidosis: The 2014 Revised RDH Guideline. North Territ Dis Control Bull, 21(2), 4–8.

Nutbeam, D. (2008). The Evolving Concept of Health Literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

Prochaska, J. O. & DiClemente. (1984). The Trans- Theoretical Approach: Crossing Traditional Boundaries of Therapy. Homewood, IL: Dow Jones-Irwin.

Skinner, B. F. (1953). Reinforcement Theories of Motivation. Science and Human Behavior. New York: Macmillan.

Waiwarawooth, J., Jutiworakul, K. & Joraka, W. (2008). Epidemiology and Clinical Outcome of Melioidosis at Chonburi Hospital, Thailand. J Infect Dis Antimicrob Agents, 25(1), 1–11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31