การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เชิดชัย เชื้อบัณฑิต สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม, การพัฒนาสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, ชุมชน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        การวิจัยแบบผสมผสานนี้เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มประชากรที่เป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ข้าราชการ, องค์กรส่วนท้องถิ่น, ผู้นำชุมชน, เจ้าหน้าที่ภาครัฐ, ในเขตอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า

          ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานีโดยรวม ตัวแปรตามทั้ง 3 ด้านโดยเรียงลำดับด้านมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านสร้างเสริมสื่อการดูแลรักษาสุขภาพ (M=3.09 , SD=0.32) ด้านการประสานงานร่วมกัน (M=3.07 , SD=0.17) และด้านการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน (M=2.98 , SD=0.68) ตามลำดับ

          ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยแต่ละด้านที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี โดยรวมทุกด้าน พบว่าด้านความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่าย ด้านบทบาทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านบทบาทท้องถิ่น ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .258,.239,.191,.187,.052 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน (β) 45.498, 29.174, 12.225, 13.082, 12.047 ตามลำดับ

          แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนายูง คือ การวางแนวทางการประสานงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน ประสานงานในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมชุมชนและภาคภาคีเครือข่ายร่วมประเมินผล ตรวจสอบแก้ไขปัญหาในการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของชุมชน

References

กิตติมาพร โลกาวิทย์. (2556). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดปทุมธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 5(1): 126-140
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2552). สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ. รายงานประจำปีงบประมาณ 2552.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน, และธาดา วิมลวัตรเวที. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการบริหารจัดการองค์กรกีฬาในประเทศไทย: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน.
วารสาร มท อีสาน. ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4(2): 91-113.
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2563. สำนักงานสถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร จังหวัดอุดรธานี.
จีรพรรณ กาญจนะจิตรา. (2551). การพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่. 16. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. งานวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัย
บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยาเขตขอนแก่น.
พิเชษฐพงษ์ โคตรทอง. (2560). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้สูงอายุตามหลักธรรมชาตินิยม.ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการ
ศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รัชนี มิตกิตติ. (2559). การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บทบาทที่ท้าทายของพยาบาลชุมชน, วารสารสภาการพยาบาล. ปีที่31 ฉบับที่ 3
สมพร เทพสิทธา. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธรรมสาร.
อุชุกร เหมือนเดช. (2552). ความต้องการในการไดรับสวัสดิการสังคมของผูสูงอายุในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29