บทบาทนักสาธารณสุขในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร

ผู้แต่ง

  • อนาวิน ภัทรภาคินวรกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

คำสำคัญ:

นักสาธารณสุข, การส่งเสริมสุขภาพ, โภชนาการ, เด็กวัยเรียน, ทุรกันดาร

บทคัดย่อ

               เด็กวัยเรียนมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการเรียนรู้อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต อาหารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าเด็กในวัยนี้ได้รับอาหารหรือสารอาหารที่ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม จะส่งผลให้เด็กมีร่างกายไม่แข็งแรงอาจแคระแกรนหรืออ้วน รวมทั้งสติปัญญาทึบ ไม่มีความพร้อมในการเรียน ประสิทธิภาพการเรียนและการทำงานต่าง ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียน ซึ่งนักสาธารณสุขเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมโภชนาการของเด็กวัยเรียนโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของนักสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร การส่งเสริมโภชนาการควรเริ่มต้นจากการสำรวจปัญหา เพื่อให้ได้ข้อมูลนำไปสู่การวางแผนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพโดยการประเมินโภชนาการในเด็กวัยเรียนได้แก่ การซักประวัติ ตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เป็นต้น ส่วนแนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดและด้านวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ดังนั้น จึงควรส่งเสริมปัจจัยที่เป็นรากฐานของชีวิต เช่น ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์โปรตีนสูงเพื่อเป็นอาหาร ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้และปลอดสารพิษและน้อมนำพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ไม่เดือนร้อนและร่วมแก้ไขปัญหาได้ในครอบครัวอันจะนำพาสู่ความยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้

References

Department of Health Ministry of Public Health. (2015). Concerns about 36 percent of obese school children. Retrieved June 3, 2019 from http://www.thaihealth.or.th/Content.
Department of Health Ministry of Public Health. (2013). Comparison chart of weight growth according to criteria height. Retrieved June 14, 2019 from http://nutrition.anamai.moph.go.th.
Nutrition Division Department of Health Ministry of Public Health. (2017). High weight reference criteria And indicators Nutrition of Thai people aged 1 day-19 years. Retrieved June 14, 2019 from http://nutrition.anamai.moph.go.th.
Nutrition Division Department of Health Ministry of Public Health. (2009). Guidelines for using high weight reference criteria to assess the growth situation of Thai children. Retrieved June 14, 2019 from http://nutrition.anamai.moph.go.th.
Faculty of Medicine Siriraj Hospital. (2012). Nutrition in school age children. Retrieved June 14, 2019 from www.si.mahidol.ac.th/th/.
Langkawi, P. (2008). Food consumption patterns, nutritional status and lifestyle about health of Prathom 4 - 6 Elementary School, Khon Kaen University Demonstration School (Mor Din Daeng) Khon Kaen University. Master's thesis of Public Health, khon kaen university. (in Thai).
Pisingsem, P., Suranawha, S., & Ketarin, A., (2017). Nutrition promotion in preschool children. Journal of the College of Nursing and Public Health Network, 4(3), 226-235.
Institute of Nutrition Mahidol University. (2012). Results of the regional nutrition survey of children Southeast Asia (SEANUTS) indicates Thai children are obese - lack of nutrition. Retrieved June 17, 2019 from http://www.inmu.mahidol.ac.th.
Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health. (2018). Growth assessment. Retrieved June 20, 2019 from http://nutrition.anamai.moph.go.th.
Department of Health. (2018). Healthy Thai children. Retrieved June 25, 2019 from http: //www.thaihealth.or.th/Entertainment.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-04