สมรรถนะที่จำเป็นของนักบริบาลผู้สูงอายุ กรณีศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นายอรรณพ สนธิไชย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, นักบริบาลผู้สูงอายุ, การดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

             การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นของนักบริบาลผู้สูงอายุ และศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดทำร่างหัวข้อหลักสูตรอบรมนักบริบาลผู้สูงอายุ ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน จำนวน 15 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

               องค์ประกอบสมรรถนะที่จำเป็นของนักบริบาลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 สมรรรถนะหลักของนักบริบาลผู้สูงอายุ คือ การมีจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย ประกอบด้วย 1) บทบาทหน้าที่และจริยธรรมของนักบริบาลผู้สูงอายุ 2) กิจกรรมปลูกฝังคุณลักษประที่พึงประสงค์ของนักบริบาลผู้สูงอายุและการให้บริการด้วย หัวใจความเป็นมนุษย์ องค์ประกอบที่ 2 สมรรถนะการจัดการ คือ ความสามารถในการจัดการและแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย 1) การวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและการจัดการงานบ้าน  2) เทคโนโลยีที่จำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุ 3) การบันทึกและการรายงาน และ 4) การจัดทำกรณีศึกษา (Case Study) และองค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะหน้าที่  คือ การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุในชีวิตประจำวันและในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบด้วย 1) การให้ความช่วยเหลือด้านการขับถ่ายแก่ผู้สูงอายุ 2) การช่วยเหลือด้านอาหารแก่ผู้สูงอายุ 3) การช่วยเหลือด้านการเคลื่อนย้ายแก่ผู้สูงอายุ 4) การปฐมพยาบาลภาวะฉุกเฉินและการส่งต่อ 5) การช่วยเหลือพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ 6) การฟื้นฟูสมองและกิจกรรมคลายกังวล 7) การนวดไทยและการประคบสำหรับผู้สูงอายุ และ 8) การฟื้นฟูทางทันตสุขภาพ

              การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาศักยภาพนักบริบาลผู้สูงอายุให้มีสมรรรถนะครบทั้ง 3 องค์ประกอบเพื่อให้มีความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1573000096-261_0

กุลวีณ์ วุฒิกร, บรรพพต วิรุณราช และอิสระ สุวรรณบล. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุ. ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(2), 50-60.

จำรัส ประสิว และวิสุทธิ์ สุกรินทร์. (2561). การพัฒนาสมรรถนะของผู้จัดการระบบการดูแลระยะด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 27(5), 845-855.

ปภาสินี แซ่ติ๋ว, ชไมพร จินต์คณาพันธ์, ศราวุธ เรืองสวัสดิ์ และธนิดา ทีปะบาล. (2562). การศึกษาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุหลังจากอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 70 ชั่วโมงของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 200-310.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล และบุปผาวัลย์ ศรีลํ้า. (บรรณาธิการ). (2556). การพยาบาลเพื่อความปลอดภัย: สมรรถนะพยาบาล CVT. พิมพครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์์

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. (2547). Quality in Nursing and Learning Organization. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์. (2549). เส้นทางสู่การพยาบาลยอดเยี่ยม . กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์.

ภาสกร สวนเรือง อาณัติ วรรณศรี และสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. (2561). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชนภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 437-435.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2556). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. นนทบุรี: เอสเอสพลัสมีเดีย.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชรเล็ก, สมบัติ ปรียานุช, โชคธนวณิชย์ ธนิกานต์ ศักดาพร. (2552). ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนในชนบทไทย.วารสารพฤฒาวิทยาและ เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 10(3), 13-24..

วิยะดา รัตนสุวรรณ. (2561). จริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: มุมมองที่แตกต่าง. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา, 19(3), 14-24.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2562) รายงานการสำรวจจำนวนประชากรในจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2562. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี. (2561). แผนยุทธศาสตร์ด้านผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2561-2564). อุบลราชธานี: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี.

Campbell R. (1984). Nursing Homes and Long-term Care. Japan Pacific Affairs, 57, 1, 78-89.

Council on Social Work Education. (2558). Geriatric Social Work Competency Scale II with Life-Long Leadership Skills: Social work Practice Behavior in the Field of Aging. Retrieved January 15, 2020 from http://ww.cswe.org/

Lassey, W. R., & Lessey, M. L. (2001). Japan: Challenges of Aging and Culture Change in Quality of Life for Older People: An International Perspective. New Jersey: Prentice Hall.

MC Clelland, D.C., (1995). Measuring Human Motivation Studies in Motivation. Appleton-Century-crofts.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-26