ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ความรอบรู้, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 116 คน คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม การยอมรับการตั้งครรภ์ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การบริโภคที่เหมาะสม การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการช่วยเหลือ การจัดการความเครียด และความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ระหว่าง .67 – 1.00 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .887, 791, .862, .779, .884 และ .706 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับดี ( Mean =3.39, SD =.68) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การมีส่วนร่วมเพื่อการช่วยเหลือ (Beta=.501) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 25.10 (R2= .251, p <.001) สถานบริการสุขภาพควรจัดโปรแกรมเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรที่ให้บริการในคลินิกฝากครรภ์กับหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนขยายผลสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กองสุขศึกษา. (2542). แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้ในการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรม สุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
กองสุขศึกษา. (2559). การสร้างเสริมและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็ก วัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
ณัฐพร อุทัยธรรม, นภาภรณ์ เกตุทอง, และชณุตพร สมใจ. (2564).ปัจจัยทำนายความรอบรู้ทางด้าน สุขภาพหญิงตั้งครรภ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 4 (2), 53-65.
เทิดศักดิ์ ไม้เท้าทอง.(2555). การสืบค้นและการประเมินแหล่งสารสนเทศทางสุขภาพบนเว็บ: ประเด็น และบทวิเคราะห์จากงานวิจัย. วารสารสารสนเทศศาสตร์ กันยายน-ธันวาคม2554, 29(3), 31-41.
วิลาสินี บุตรศรี, และอัญสุรีย์ ศิริโสภณ. (2563). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่ รับบริการฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 60-70.
สินีนาท วราโภค, เอมพร รตินธร, และปิยะนันท์ ลิ่มเรืองรอง. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ ด้านสุขภาพมารดาในสตรีตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล, 35(1), 86-98.
อ้อมใจ พลกายา, และพัทธวรรณ ชูเลิศ. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาโดย ใช้การสนับสนุนของครอบครัว ต่อทัศนคติและบทบาทของการเป็นมารดา. วารสารวิจัยและ นวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(1), 131-142.
Berkman, N. D., Sheridan, S. L., Donahue, K. E., Halpern, D. J., & Crotty, K. (2011). Low health literacy and health outcomes: An updated systematic review. Annals of Internal Medicine, 155(2), 97-107. doi: 10.7326/0003-4819-155-2-201107190-00005.
Best, J. W. (1977). Research in education. (2nd ed.). New Jersey: Prentice–Hall.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Newjersy: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
May, K.A. and Malmeister, L.R. (1994). Maternal and Neonatal Nursing: Family-Centered Care. 3rd ed. Philadelphia: J.B. Lippincott.
Nawabi, F., Krebs, F., Vennedey, V., Shukri, A., Lorenz, L., & Stock, S. (2021). Health Literacy in Pregnant Women: A Systematic Review. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(7), 3847. Retrieved from https://doi.org/10.3390/ijerph18073847.
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.
Renkert, S., & Nutbeam, D. O. N. (2001). Opportunities to improve maternal health literacy through antenatal education: An exploratory study. Health Promotion
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม