วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN <p>วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ดำเนินการโดย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี วารสารฯเป็นภารกิจหนึ่งที่สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ และนักวิชาการที่ผลิตผลงาน ทั้งงานวิจัย บทความทางวิชาการในการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพทั้งทางด้านการพยาบาล การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์สุขภาพ การศึกษา ตลอดจนองค์ความรู้สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี th-TH วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม <p>1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> <p>2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม</p> ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับภาวะหมดไฟในการทำงานของคนวัยทำงาน ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ตำบลบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรสาคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/271405 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและภาวะหมดไฟ เปรียบเทียบภาวะหมดไฟในการทำงานตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับภาวะหมดไฟในการทำงานของคนวัยทำงานในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ตำบลบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบที การทดสอบแบบเอฟ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.8 อายุเฉลี่ย 38.4 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 14,001–20,000 บาท ร้อยละ 57.1 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 39.3 และจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ 42.7 ระดับของคุณภาพชีวิตในการทำงานและภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.62, 2.04) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพการสมรส ที่แตกต่างกันมีภาวะหมดไฟในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงานในระดับต่ำมาก (r = -.164) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควรตรวจสอบค่าตอบแทนและภาระงานของลูกจ้าง และพิจารณาเกณฑ์รวมถึงการขึ้นตำแหน่งและการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีการตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่พนักงานเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน จะช่วยลดภาวะการหมดไฟในการทำงานได้</p> กฤตพิพัฒน์ พงศ์เสวี นลพรรณ แซ่เฮ่อ ศศินา จิตรอักษร Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-23 2025-04-23 5 1 E271405 E271405 ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดลำปาง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/272746 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎี ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดลำปาง ใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 624 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ และสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล เพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.05) ความรอบรู้ด้านสุขภาพจำแนกรายด้าน ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก การสื่อสารในการป้องกันโรคไข้เลือดออก การจัดการตนเองให้มีความปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก การตัดสินใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและ การรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันโรคไข้เลือดออก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P&lt; 0.05)</p> วิวัฒนาการ คำแปง กรรณิการ์ อินต๊ะวงศ์ จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-23 2025-04-23 5 1 272746 272746 ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/274784 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม โดยใช้แบบแผนการวิจัย 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งเพศหญิงและเพศชายอายุ 13-15 ปี ที่กำลังศึกษาในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี มีจำนวนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 34 คน รวมทั้งหมด 68 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยเก็บข้อมูลก่อน-หลังการใช้โปรแกรม สถิติที่ใช้ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่าภายหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (t= 5.025, p&lt; .001 และ t=-3.707, p=.001 ตามลำดับ) และคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศหลังเข้าร่วมโปรแกรมในกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-3.37, p=.002 และ t=2.53, p=.015 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ <br />ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เช่น ครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรเสริมสร้างความรอบรู้สุขภาพทางเพศของวัยรุ่นโดยเน้นด้านการสื่อสารกับเยาวชนเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้องและเหมาะสม และสามารถสื่อสารข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพทางเพศด้วยวิธีการพูด อ่าน เขียน ให้เข้าใจและสามารถโน้มน้าวให้ยอมรับข้อมูลด้านสุขภาพทางเพศ</p> จักรพันธ์ จันทร์สว่าง Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-03-13 2025-03-13 5 1 E274784 E274784 การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลนากระตาม จังหวัดชุมพร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/276114 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลนากระตาม จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม รวม 146 คน ได้แก่ กลุ่มผู้รับผิดชอบงานและตัวแทนชุมชน 36 คน กลุ่มเครือข่าย อสม. 55 คน และกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 55 คน โดยใช้กระบวนการ PDCA เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามเจตคติและการปฏิบัติตน การวิเคราะห์ SWOT เทคนิค A-I-C และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การทบทวนข้อมูล นโยบาย และสถานการณ์ปัญหา การวิเคราะห์ SWOT และการใช้เทคนิค A-I-C เพื่อกำหนดกลยุทธ์การสร้างและพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายในชุมชน 2) การพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายผ่าน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาองค์ความรู้ทีมเครือข่าย โครงการพัฒนาคู่มือการดำเนินงาน และโครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย และ 3) การดำเนินการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่า หลังการพัฒนา ผู้ป่วยมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ การจัดทำโครงการพัฒนา และการสังเกตและประเมินผลการปฏิบัติ รูปแบบนี้สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทของแต่ละพื้นที่และพัฒนาต่อยอดเพื่อประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป</p> อดิศร วิศาล กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-23 2025-04-23 5 1 E276114 E276114