https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/issue/feed
วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม
2025-04-20T15:03:53+07:00
ดร.สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์
J-phin@phcsuphan.ac.th
Open Journal Systems
<p>วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ดำเนินการโดย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี วารสารฯเป็นภารกิจหนึ่งที่สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ และนักวิชาการที่ผลิตผลงาน ทั้งงานวิจัย บทความทางวิชาการในการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพทั้งทางด้านการพยาบาล การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์สุขภาพ การศึกษา ตลอดจนองค์ความรู้สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/277466
การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุจากการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานประดิษฐ์ผลิตกระแสไฟฟ้าแบบอยู่กับที่
2025-04-20T15:03:53+07:00
บุญลือ ฉิมบ้านไร่
boonluechim@gmail.com
พุทธิพงษ์ จรูญสิริพันธ์
boonluechim@gmail.com
<p>การวิจัยในนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้จักรยานประดิษฐ์ผลิตกระแสไฟฟ้าแบบปั่นอยู่กับที่ในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่ส่งผลเชิงบวกต่อสมรรถภาพทางกายและสุขภาพในผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานบรรจบกัน เป็นการศึกษากึ่งทดลองควบคู่กับการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุ 88 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มเปรียบ 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จักรยานประดิษฐ์ผลิตกระแสไฟฟ้าแบบอยู่กับที่ อุปกรณ์วัดความดันโลหิต นาฬิกาแบบดิจิทัล แบบสอบถามชนิดมีโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง ผลวิจัยพบว่า หลังสิ้นสุดการทดลองระยะเวลา 12 สัปดาห์คะแนนเฉลี่ยของตัวชี้วัดสมรรถภาพทางกายและสุขภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 โดยกลุ่มทดลองมีค่าระดับสมรรถภาพทางกายและภาวะสุขภาพดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และยังพบว่าการมองเห็นคุณค่าในตัวเองที่ยังสามารถออกกำลังกายได้ และความตั้งใจในการที่จะทำมีกระแสไฟฟ้าใช้เพื่อให้บรรลุผลการหุงข้าวเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ต่อเนื่อง ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ของการออกกำลังกายที่เกิดขึ้นในกลุ่มทดลองเมื่อเทียบกับการไม่ออกกำลังกาย สามารถนำผลวิจัยไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสังคมสูงอายุในปัจจุบัน</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/274416
การพัฒนาแนวทางการเกษตรสมุนไพรวิถีใหม่ตามแนวคิด บีซีจี โมเดล: กรณีศึกษาชุมชนเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
2025-03-13T20:58:27+07:00
กันตา นิ่มทัศนศิริ
kantanim@mcru.ac.th
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของชุมชนเตาปูนและการบริหารจัดการการเกษตรสมุนไพร 2) พัฒนาแนวทางการเกษตรสมุนไพรวิถีใหม่ตามแนวคิด BCG Model และ 3) ประเมินคุณภาพของแนวทางที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชากรในตำบลเตาปูน จำนวน 380 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling Method) และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection Sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของการเกษตรสมุนไพร และแบบประเมินคุณภาพแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของชุมชนเตาปูนมีพื้นที่เกษตรรวม 15,035 ไร่ ประชากร 6,162 คน ใน 9 หมู่บ้าน โดยเกษตรกรมีความรู้ในการจัดการเกษตรสมุนไพรใน 5 ด้านหลักอยู่ในระดับต่ำ (เฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 50) ได้แก่ การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก (43.79%) การคัดเลือกพันธุ์พืช (36.49%) การบำรุงรักษาและพรวนดิน (42.06%) การกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช (28.32%) และด้านอื่นๆ (35%) ซึ่งมีสาเหตุหลักจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา (ร้อยละ 76.32) และขาดแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นระบบ 2) แนวทางการพัฒนาการเกษตรสมุนไพรวิถีใหม่ตามแนวคิด BCG Model ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ด้านหลัก ได้แก่ การบริหารจัดการดิน (เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการปรับปรุงดินด้วยวัสดุธรรมชาติ) การบริหารจัดการน้ำ (ใช้ระบบน้ำหยดและการหมุนเวียนน้ำ) การฟื้นฟู-อนุรักษ์ดินและน้ำ (ส่งเสริมการปลูกพืชคลุมดินและการทำฝายชะลอน้ำ) การจัดหาแหล่งน้ำ (พัฒนาระบบกักเก็บน้ำฝนและบ่อน้ำตื้นพลังงานแสงอาทิตย์) และการถ่ายทอดภูมิปัญญา (จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนและพัฒนาเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน) 3) ผลการประเมินคุณภาพของแนวทางพบว่า ด้านความเป็นไปได้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.21-4.49) ยกเว้นด้านการฟื้นฟู-อนุรักษ์ดินและน้ำที่อยู่ในระดับมากที่สุด (4.533) ส่วนด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (ค่าเฉลี่ย 4.51-4.88) โดยด้านการถ่ายทอดภูมิปัญญามีค่าเฉลี่ยสูงสุด (4.880) เมื่อเปรียบเทียบความเป็นไปได้กับความเหมาะสมของแนวทาง พบว่าไม่แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน</p> <p>ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเกษตรสมุนไพรวิถีใหม่ตามแนวคิด BCG Model ในพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกัน และเป็นต้นแบบในการวางแผนพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนที่สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ของประเทศ</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/274784
ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
2025-02-25T11:54:04+07:00
จักรพันธ์ จันทร์สว่าง
jakkaphanjansawang@gmail.com
<p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และเพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม โดยใช้แบบแผนการวิจัย 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งเพศหญิงและเพศชายอายุ 13-15 ปี ที่กำลังศึกษาในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี มีจำนวนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 34 คน รวมทั้งหมด 68 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยเก็บข้อมูลก่อน-หลังการใช้โปรแกรม สถิติที่ใช้ คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่าภายหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (t= 5.025, p< .001 และ t=-3.707, p=.001 ตามลำดับ) และคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศหลังเข้าร่วมโปรแกรมในกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-3.37, p=.002 และ t=2.53, p=.015 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ <br />ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เช่น ครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรเสริมสร้างความรอบรู้สุขภาพทางเพศของวัยรุ่นโดยเน้นด้านการสื่อสารกับเยาวชนเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้องและเหมาะสม และสามารถสื่อสารข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพทางเพศด้วยวิธีการพูด อ่าน เขียน ให้เข้าใจและสามารถโน้มน้าวให้ยอมรับข้อมูลด้านสุขภาพทางเพศ</p>
2025-03-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/275147
ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในวัยรุ่น และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
2025-02-07T10:59:39+07:00
อนุพงษ์ สอดสี
tonanuphong@gmail.com
กิตติพงษ์ สอนล้อม
tonanuphong@gmail.com
พรรณี บัญชรหัตถกิจ
tonanuphong@gmail.com
<p>ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากเป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก จึงมีความจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยวัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้คือศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในนักเรียนและวัยรุ่น ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดยการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูล PubMed, Semantic Scholar, Google Scholar, Thai Digital Collection และ Thai Journal Online ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่พ.ศ. 2563 – 2567 พบบทความที่สอดคล้องและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 12 เรื่อง และประเมินคุณภาพงานวิจัยโดยใช้ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยของเฮลเลอร์และคณะ (2008)</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า มีงานวิจัยที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 11 เรื่อง พบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพ ช่องปากในนักเรียนและวัยรุ่น ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่มีผลสอดคล้องกันในงานวิจัย 2 เรื่อง ขึ้นไป ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา เชื้อชาติ สถานภาพผู้ปกครอง อายุผู้ปกครอง จำนวนสมาชิกในครอบครัว การศึกษาผู้ปกครอง ความสามัคคีในครอบครัว การปรับตัวในครอบครัว ระดับชั้นทางสังคม และพบงานวิจัยจำนวน 4 เรื่อง ที่ยืนยันว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ดังนั้นการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในนักเรียนและวัยรุ่น ควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านบุคคลและครอบครัว</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/276114
การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลนากระตาม จังหวัดชุมพร
2024-12-29T20:52:51+07:00
อดิศร วิศาล
sal48069@gmaiil.com
กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง
Kristiwat11@hotmail.com
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลนากระตาม จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่ม รวม 146 คน ได้แก่ กลุ่มผู้รับผิดชอบงานและตัวแทนชุมชน 36 คน กลุ่มเครือข่าย อสม. 55 คน และกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 55 คน โดยใช้กระบวนการ PDCA เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามเจตคติและการปฏิบัติตน การวิเคราะห์ SWOT เทคนิค A-I-C และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การทบทวนข้อมูล นโยบาย และสถานการณ์ปัญหา การวิเคราะห์ SWOT และการใช้เทคนิค A-I-C เพื่อกำหนดกลยุทธ์การสร้างและพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายในชุมชน 2) การพัฒนาศักยภาพทีมเครือข่ายผ่าน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาองค์ความรู้ทีมเครือข่าย โครงการพัฒนาคู่มือการดำเนินงาน และโครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย และ 3) การดำเนินการพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่า หลังการพัฒนา ผู้ป่วยมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น รูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ การจัดทำโครงการพัฒนา และการสังเกตและประเมินผลการปฏิบัติ รูปแบบนี้สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทของแต่ละพื้นที่และพัฒนาต่อยอดเพื่อประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป</p>
2025-04-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/271405
ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับภาวะหมดไฟในการทำงานของคนวัยทำงาน ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ตำบลบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรสาคร
2024-10-01T10:25:19+07:00
กฤตพิพัฒน์ พงศ์เสวี
xjapan39@hotmail.com
นลพรรณ แซ่เฮ่อ
nonlaphansae@gmail.com
ศศินา จิตรอักษร
nonlaphansae@gmail.com
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและภาวะหมดไฟ เปรียบเทียบภาวะหมดไฟในการทำงานตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับภาวะหมดไฟในการทำงานของคนวัยทำงานในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ตำบลบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบแบบที การทดสอบแบบเอฟ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.8 อายุเฉลี่ย 38.4 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 14,001–20,000 บาท ร้อยละ 57.1 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 39.3 และจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ 42.7 ระดับของคุณภาพชีวิตในการทำงานและภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.62, 2.04) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพการสมรส ที่แตกต่างกันมีภาวะหมดไฟในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงานในระดับต่ำมาก (r = -.164) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควรตรวจสอบค่าตอบแทนและภาระงานของลูกจ้าง และพิจารณาเกณฑ์รวมถึงการขึ้นตำแหน่งและการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีการตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่พนักงานเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน จะช่วยลดภาวะการหมดไฟในการทำงานได้</p>
2025-04-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/276441
การศึกษาปัญหา อุปสรรค และความต้องการการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลผิวหนัง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสระแก้ว
2025-01-10T16:40:39+07:00
จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย
juntarat.jaricksakulchai@gmail.com
พรรณี บัญชรหัตถกิจ
juntarat@vru.ac.th
ทัศพร ชูศักดิ์
juntarat@vru.ac.th
รัฐพล ศิลปรัศมี
juntarat@vru.ac.th
<p>การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและความต้องการการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลผิวหนังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และ 2) ศึกษาการใช้สมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐานของปราชญ์พื้นบ้านและบุคลากรแพทย์แผนไทย กลุ่มตัวอย่างในเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วย ผู้ป่วย 8 คน ผู้ดูแล 8 คน บุคลากรการแพทย์แผนไทย 4 คน และปราชญ์พื้นบ้าน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลผิวหนัง คือ การขาดความรู้ของโรคที่ส่งผลต่อปัญหาของผิวหนัง และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาผิวหนังอักเสบ แห้ง คัน 2) อุปสรรคการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพปัจจุบัน คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบันไม่เหมาะสมกับสภาพปัญหาผิวของผู้ป่วยทั้งด้านประสิทธิภาพและการเพิ่มความแข็งแรงของผิวหนัง 3) ความต้องการการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลผิวหนัง คือ ผู้ป่วยมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรไทยแต่จำกัดด้วยรูปแบบและความสะดวกการใช้ และสรรพคุณของสมุนไพร 4) การใช้งานสมุนไพรของปราชญ์พื้นบ้านและบุคลากรแพทย์แผนไทย พบว่า สมุนไพรส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ดูแลกลุ่มผิวหนังอักเสบ คือ ใบบัวบก ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร พญายอ และใบพลู</p> <p>ผลการศึกษาครั้งนี้ ได้ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการดูแลผิวหนังผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มที่มีภาวะผิวหนังอักเสบ สามารถพัฒนานวัตกรรมสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพทางด้านผิวหนังให้อยู่ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์สุขภาพ</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/272746
ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดลำปาง
2024-12-26T11:34:30+07:00
วิวัฒนาการ คำแปง
kinaree.com@gmail.com
กรรณิการ์ อินต๊ะวงศ์
kinaree.com@gmail.com
จักรกฤษณ์ วังราษฎร์
kinaree.com@gmail.com
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎี ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดลำปาง ใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 624 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ และสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล เพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ความรอบรู้ด้านสุขภาพจำแนกรายด้าน ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพและบริการสุขภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก การสื่อสารในการป้องกันโรคไข้เลือดออก การจัดการตนเองให้มีความปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก การตัดสินใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและ การรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันโรคไข้เลือดออก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P< 0.05)</p>
2025-04-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/277064
การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ฟันเทียมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
2025-03-04T17:28:04+07:00
นริศรา จิตประสพ
narisnarcis@hotmail.com
<p>การใช้ฟันเทียมของผู้สูงอายุมีประโยชน์ในด้านสุขภาพของเหงือก ช่องปาก และกระดูกรองรับฟัน ช่วยให้การบดเคี้ยวอาหารดีขึ้น ช่วยในการแกเสียง ป้องกันปัญหาการเคลื่อนหรือล้มของฟัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการใช้ฟันเทียมของผู้สูงอายุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ และศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในมิติสุขภาพช่องปาก เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากชนิดถอดได้ที่มีโครงสร้างเป็นฐานพลาสติกอะคริลิกมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบันนังสตาในระหว่างปี พ.ศ. 2562-2566 จำนวน 140 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรงแบบนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า การใช้ฟันเทียมของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับใส่เป็นประจำ ข้อมูลทั่วไปด้านระดับการศึกษา อาชีพที่แตกต่างกันของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลต่อการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ 0.01 และปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ของการใช้ฟันเทียมและการรับรู้ความรุนแรงของปัญหาในช่องปากที่เกิดจากการใส่ฟันเทียมเถื่อน ปัจจัยทัศนคติต่อการใช้ฟันเทียมของผู้สูงอายุ และการแก้ไขปัญหาจากการใส่ฟันเทียม โดยการไปพบแพทย์ ส่งผลในด้านบวกต่อการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ การใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ ส่งผลในด้านบวกต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในมิติสุขภาพช่องปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01โดยผลการวิจัยสามารถเป็นแนวทางส่งเสริมแบบแผนการรักษาสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องให้ผู้สูงอายุและส่งเสริมให้ผู้ป่วยใส่ฟันเทียมอย่างถูกต้อง</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/274386
การประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
2024-11-18T16:07:32+07:00
นุชจรินทร์ แก่นบุปผา
nucharin@scphub.ac.th
ดวงกมล หน่อแก้ว
Yai_duangkamon@scphub.ac.th
พนาไพร โฉมงาม
panaprai@scphub.ac.th
นัจรินทร์ ผิวผ่อง
natjarin@scphub.ac.th
กรกช เพทาย
Korakot@sphtrang.com
แก้วใจ มาลีลัย
kaewjai@scphub.ac.th
ภคิน ไชยช่วย
pakin9540@scphub.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการประเมินแบบซิปโป้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ.2569 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 201 คน ได้แก่ นักศึกษา บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต อาจารย์รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และผู้บริหารวิทยาลัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประยุกต์มาจากการประเมินแบบซิปโป้ แบบรวบรวมข้อมูลผลผลิตหลักสูตร และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่าประสิทธิภาพของหลักสูตรภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (M =4.42, SD±.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านผลผลิตและด้านผลลัพธ์หลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุด (M=4.58, SD±.50 และ M=4.54, SD±.48 ตามลำดับ) ด้านปัจจัยเกี่ยวกับหลักสูตรในส่วนของอาจารย์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M=4.73, SD±.12) ในขณะที่ด้านงบประมาณมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (M=3.42, SD±.58) ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเสนอแนวทางการปรับปรุงให้หลักสูตรสรรหาอาจารย์ประจำที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มีจำนวนเพียงพอ จัดหาอุปกรณ์ที่มีการใช้จริงกับผู้ป่วยฉุกเฉินในการฝึกทักษะวิชาชีพ ปรับโครงสร้างหลักสูตรให้เพิ่มจำนวนหน่วยกิต ของรายวิชาการฝึกสมรรถนะวิชาชีพ และปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันสมัย เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการปรับแนวปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ</p>
2025-04-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี