วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN <p>วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ดำเนินการโดย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี วารสารฯเป็นภารกิจหนึ่งที่สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ และนักวิชาการที่ผลิตผลงาน ทั้งงานวิจัย บทความทางวิชาการในการสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพทั้งทางด้านการพยาบาล การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์สุขภาพ การศึกษา ตลอดจนองค์ความรู้สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH <p>1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> <p>2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม</p> J-phin@phcsuphan.ac.th (ดร.สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์) J-phin@phcsuphan.ac.th (ดร.สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์) Mon, 03 Apr 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/262607 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของชุมชนบ้านห้วยปางตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์โดยการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและประชาชนที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p> ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนห้วยปางมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ(ร้อยละ 55.5) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉพาะในช่วงงานเทศกาล(ร้อยละ 66.6)ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนบ้านห้วยปาง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีอาการผิดปกติต่อจิตใจ(ร้อยละ38.8) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วมีนอนหลับยาก (ร้อยละ 33.3) ปัจจัยแห่งความ สำเร็จในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนห้วยปางได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำและคณะทำงาน ปัจจัยด้านการควบคุมสถานที่จำหน่าย และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม โดยในชุมชนอื่นๆสามารถนำปัจจัยแห่งความ สำเร็จในการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนห้วยปางไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองได้</p> Tawesuk - Sirisai, อินทรา วิชุมา Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/262607 Mon, 03 Apr 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/261278 <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 116 คน คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม การยอมรับการตั้งครรภ์ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การบริโภคที่เหมาะสม การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการช่วยเหลือ การจัดการความเครียด และความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ระหว่าง .67 – 1.00 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .887, 791, .862, .779, .884 และ .706 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์โดยรวมอยู่ในระดับดี ( <em>Mean</em> =3.39, SD =.68) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การมีส่วนร่วมเพื่อการช่วยเหลือ (Beta=.501) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 25.10 (R<sup>2</sup>= .251, p &lt;.001) สถานบริการสุขภาพควรจัดโปรแกรมเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรที่ให้บริการในคลินิกฝากครรภ์กับหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนขยายผลสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล</p> วรวรรณ คล้ายนาค, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สถาบันพระบรมราชชนก Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/261278 Sun, 04 Jun 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยความสำเร็จในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/262119 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานและปัจจัยความสำเร็จในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ของพื้นที่อำเภอเมืองระยอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกตามกรอบแนวคิดของงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองระยอง จำนวน 18 ราย คัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุปโดยเปรียบเทียบข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตามขั้นตอนและวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองระยอง มีการจัดสรรและบริหารจัดการทรัพยากร (คน เงิน ของ) ได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งมี นโยบายการบริหาร และมาตรการในการดำเนินงานที่รวดเร็วและชัดเจน โดยยึดการปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ของจังหวัดและเป็นไปตามคำสั่งจังหวัดระยอง ซึ่งปัจจัยของความสำเร็จในการดำเนินงาน คือ การสั่งการในลักษณะ “One Commander” โดยในระดับอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้สั่งการ ซึ่งจะทำให้ทุกหน่วยงานรวมทั้งภาคีเครือข่ายในอำเภอ ได้รับความชัดเจนในการปฏิบัติตามแนวทางและมาตรการต่างๆ ส่งผลให้เกิดความร่วมมือ สามารถดูแลประชาชนและจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงควรสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากร (คน เงิน ของ) และความร่วมมือในการดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด</p> farung เลาหะนะวัฒน์ Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/262119 Sun, 04 Jun 2023 00:00:00 +0700 ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับ carcinoembryonic antigen (CEA) ในเลือดกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/260927 <p>การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มีหลายวิธี ได้แก่ การตรวจอุจจาระ การตรวจเลือดหาระดับของสารบ่งชี้มะเร็ง และการตรวจด้วยภาพ ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อจำกัด ความไว และความจำเพาะที่แตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักด้วยระดับ CEA ในเลือดและการตรวจสารบ่งชี้ในอุจจาระ เปรียบเทียบกับผลการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระดับ CEA ในเลือดและการตรวจหาสารบ่งชี้ในอุจจาระ กับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ของกลุ่มผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช วิธีการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective study) จำนวน 289 คน โดยการเก็บตัวอย่างอุจจาระและเลือดหนึ่งวันก่อนการส่องกล้องลําไส้ใหญ่ ผลการศึกษาพบว่าความไวของการตรวจหาสารบ่งชี้ในอุจจาระทั้ง 4 ชนิด (hHb, hTf, hCp, hLf) และระดับ CEA ในเลือดมีค่าร้อยละ 97.6, 95.1, 97.6, 80.5 และ 87.8 ตามลำดับ ความจำเพาะมีค่าร้อยละ 70.2, 60.0, 36.7, 87.1 และ 45.6 ตามลำดับ การศึกษายังพบว่าอาสาสมัครที่ให้ผลบวกกับสารบ่งชี้ hHb หรือ hLf หรือ CEA &gt; 5.0 ng/ml มีโอกาสตรวจพบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมากกว่ากลุ่มที่ให้ผลลบ (aOR = 23.7, P = 0.004, aOR = 12.9, P &lt; 0.001 และ aOR = 8.9, P = 0.003 ตามลําดับ) โดยสรุประดับ CEA ในเลือดที่มากกว่า 5.0 ng/ml การตรวจพบสารบ่งชี้ hHb และ hLf ในอุจจาระ มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก</p> กิตติพิชญ์ ทิพากรวิศิษฐ์ Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/260927 Sun, 04 Jun 2023 00:00:00 +0700 สถานการณ์และการจัดบริการตามมาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดสุพรรณบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/263226 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินของจังหวัดสุพรรณบุรี วิเคราะห์สถานการณ์การจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการที่มีผลต่อผลของการบริการตามเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสุพรรณบุรี โดยการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective Descriptive Study) วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน (Information Technology for Emergency Medical System, ITEMS) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินส่วนใหญ่อายุระหว่าง 60 - 74 ปี ร้อยละ 22.41 เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.21 อาศัยหรือพื้นที่เกิดเหตุฉุกเฉินในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ร้อยละ 42.74 แจ้งเหตุฉุกเฉินผ่าน 1669 เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.86 ชุดปฏิบัติการที่ออกปฏิบัติการฉุกเฉินระดับเบื้องต้น (FR) ร้อยละ 51.09 การประเมินระดับความรุนแรง ผู้ป่วยฉุกเฉินส่วนใหญ่ประเภทเร่งด่วน (สีเหลือง) ร้อยละ 65.90 อาการนำสำคัญส่วนใหญ่ ประเภท Non - Trauma ร้อยละ 74.85 การปฏิบัติการฉุกเฉินส่วนใหญ่เริ่มปฏิบัติการฉุกเฉินภายในระยะเวลา 2 นาที ร้อยละ 90.75</p> <p> การประเมินระดับความรุนแรง ณ จุดเกิดเหตุ เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินประเภทเร่งด่วน (สีเหลือง) ร้อยละ 66.27 การช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่ได้ช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยฉุกเฉิน ร้อยละ 91.81 การประเมินระดับความรุนแรง ณ ห้องฉุกเฉินอยู่ในประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง) ร้อยละ 58.91 รับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 52.51 การตอบสนองการปฏิบัติการฉุกเฉิน ภายใน 8 นาที ร้อยละ 58.96 ผลการรักษาในโรงพยาบาล พบว่า “อาการทุเลา” ร้อยละ 41.76</p> <p>การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้รับบริการ คุณลักษณะการปฏิบัติการ และมาตรฐานการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินกับผลการรักษาในโรงพยาบาล โดยการวิเคราะห์ตารางไขว้ (Cross Tabulation Analysis) และการทดสอบไค-สแควร์ (Chi- Square Test) พบว่า มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001)</p> <p>การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคเชิงพหุ (Multinomial Logistic Regression Analysis) เพื่อทำนายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการที่มีผลต่อผลของการบริการตามเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสุพรรณบุรี ถ้าให้ตัวแปรอื่นคงที่จะพบว่า ปัจจัยด้านอายุ เพศ พื้นที่อาศัยหรือพื้นที่เกิดเหตุฉุกเฉินของผู้ป่วย ชุดปฏิบัติการ การประเมินระดับความรุนแรงผู้ป่วย (Phone Triage) การประเมินระดับความรุนแรงผู้ป่วย (Scene Triage) การประเมินระดับความรุนแรงผู้ป่วย (ER Triage) การประเมินระบบทางเดินหายใจ การห้ามเลือด การให้สารน้ำ (IV Fluid) การประเมินระบบกระดูก การรับไว้รักษาที่โรงพยาบาล ระยะเวลาการเริ่มปฏิบัติการ (Start Time) และ ระยะเวลาตั้งแต่รับแจ้งเหตุจนไปถึงที่เกิดเหตุ (Response Time) มีผลต่อผลของการบริการตามเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนปัจจัยช่องทางการแจ้งเหตุ อาการนำสำคัญ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่มีผลต่อผลของการบริการตามเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสุพรรณบุรี</p> Panatchaya Pradabsuk Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/263226 Fri, 14 Jul 2023 00:00:00 +0700 สถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรีย 8 ชนิดที่ติดเชื้อในกระแสเลือดและผลการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/262682 <p>การดื้อยาต้านจุลชีพ ( Antimicrobial resistance: AMR ) ที่นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากหลากหลายสาเหตุ โดยส่งผลกระทบทั่วโลกในขณะนี้ : การศึกษาสถานการณ์ การดื้อยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการเฝ้าระวัง การบริหารจัดการ เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ให้ทันต่อสถานการณ์&nbsp; โดยมีการศึกษาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือน มกราคม 2562-ธันวาคม 2564 ผลการศึกษา พบเชื้อแบคทีเรียทั้ง 8 ชนิดจำนวน 517 ราย พบเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ 3 อันดับแรก <em>Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Staphylococcus aureus</em> ร้อยละ 35.08, 8.6, 4.47 ตามลำดับ เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนาน (MDR) พบ Escherichia coli มากที่สุดคือ ร้อยละ&nbsp; 77.61 ,พบ <em>Klebsiella pneumoniae</em> ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem (CRE) ร้อยละ 0.75 และพบการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพจากชุมชนมากกว่าการติดเชื้อจากโรงพยาบาล ร้อยละ 64.22, 7.93 ตามลำดับ อัตราการตายรวมของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่พบมากสุดคือ&nbsp; <em>Klebsiella pneumoniae</em> ร้อยละ 71.73 ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำมาใช้ในการ กำหนดมาตรการ เฝ้าระวัง และควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล และลดการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและควบคุมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลได้ รวมถึงใช้เป็นข้อมูลการวางแผนการรักษาและจำหน่ายผู้ป่วยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อภายในโรงพยาบาลได้</p> sunisa chaisaeng Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/262682 Wed, 16 Aug 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาคู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/264138 <p>การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร 2) หาคุณภาพของคู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณภาพของคู่มือ จำนวน 9 คน หน่วยงานจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร และผู้เข้ารับการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 514 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ W.G. Cochran (1953) ที่ระดับค่าความเชื่อมัน ร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1)คู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร 2)แบบประเมินคุณภาพคู่มือของผู้เชี่ยวชาญ และ 3)แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ที่ได้พัฒนาแล้วสามารถนําไปใช้ในการอบรม ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารได้ 2) ค่าดัชนีความสอดคล้องของคู่มือ (IOC) ในด้านความถูกต้องของเนื้อหา ความสอดคล้องกับหลักสูตร การลำดับเนื้อหา การนำไปใช้ประโยชน์ และการจัดรูปเล่มให้มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้อบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร อยู่ระหว่าง 0.89-1.00 แสดงว่าคู่มือมีความเหมาะสมและสอดคล้อง สามารถนําไปใช้ได้ 3) ผลการใช้คู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อคู่มือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.03 และเนื้อหาวิชาของคู่มือหลักสูตรมีความครอบคลุมและชัดเจน ร้อยละ 98.21 และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ ร้อยละ 98.57</p> สุชาติ สุขเจริญ, ekkachai chaidet Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/264138 Fri, 18 Aug 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 หลังประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป็อง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/260442 <p>การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 หลังประกาศเป็นโรคประจำถิ่นและเพื่อศึกษาปัจจัย ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป็อง จำนวน 130 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยที่ใช้วิจัยคือแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ทัศนคติต่อโรคโควิด-19 และการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ระหว่าง .67 – 1.00 และความรู้ได้ค่า KR20 เท่ากับ .68 ทัศนคติและการปฏิบัติตัวได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .89 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคว์สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>หลังประกาศเป็นโรคประจำถิ่นมีการปฎิบัติตัวใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ และการเว้นระยะห่างทางสังคมเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ การมีโรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 หลังประกาศ เป็นโรคประจำถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทัศนคติต่อโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์ ในทางบวกกับการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 หลังประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป็องควรเร่งให้ความรู้เชิงรุกผ่านสื่อหลากหลายช่องทางเพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตนให้ลดจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 มีสุขภาพร่างการที่แข็งแรง ตลอดจนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบของโรคโควิด-19</p> dareeyah dueramea Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/J-PHIN/article/view/260442 Sun, 27 Aug 2023 00:00:00 +0700