ผลของระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด

作者

  • Ruthai Jearranaipreprame Faculty of Nursing, Thammasat University
  • Benyaporn Bannaasan Faculty of Nursing, Thammasat University
  • Yaowarat Matchim Faculty of Nursing, Thammasat University

关键词:

ระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ, มะเร็งโลหิตวิทยา

摘要

งานวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมซึ่งพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีของโอเร็มระยะเวลา 4 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) การสอน 2) การชี้แนะ 3) การสนับสนุนด้านสิ่งของและให้กำลังใจ และ 4) การสร้างสิ่งแวดล้อม และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคว์สแควร์ และสถิติที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และกลุ่มทดลองมีระดับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ร้อยละ 23.3, ความเสี่ยงระดับเฝ้าระวังร้อยละ 76.7) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อร้อยละ 53.3, ความเสี่ยงระดับเฝ้าระวังร้อยละ 46.7) แสดงให้เห็นว่า ระบบการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ช่วยให้พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อดีขึ้น ดังนั้นพยาบาลอาจพิจารณานำโปรแกรมนี้ไปใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด เพื่อนำไปสู่การมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม ลดความเสี่ยงและโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อได้

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

参考

Leukemia & Lymphoma American Cancer Society. Facts & Stastistics overview [Internet].; 2021 [cited 2023 April 11]. Available from: Lymphoma Survival Rate/Blood Cancer Survival Rates/LLS

Strategy and Planning Division Ministry of Public Health. Public Health statistics 2016 (health information group). Nonthaburi: Strategy and Planning Division Ministry of Public Health; 2016.

Teparat P, Kanitsap N. Potential risk factors of febrile neutropenia in cancer patients receiving chemotherapy. Thammasat Medical Journal 2015;15(2):200-209. (in Thai).

Lekdamrongkul P. Nursing management and assessment of febrile neutropenia (FN) risks in cancer patients treated with chemotherapy: the role of nurses. Thai Journal of Nursing Council 2015;30(1):5-15. (in Thai).

Akenoot S, Lertwatthanawila W, Wonghongkul T. Effects of self-management enhancement on infection prevention practices and incidence of infection among patients with leukemia and lymphoma receiving chemotherapy. Nursing Journal 2016;-43(suppl.):-207-16. (in Thai).

Temtap S, Hiruchunha S, Nilmanat. Development of self-care promotion among patients with acute myeloid leukemia (AML) and receiving chemotherapy. SCNJ;- 2015;-2(3):-21-40. (in Thai).

Boonnu D. Risk and risk management of infection among hematological cancer patients who have received chemotherapy. [Thesis]. Songkla: Prince of Songkla University; 2011. (in Thai).

Orem DE. Nursing concepts of practice. 6th ed. St.Louis: Mosby; 2001.

Klastersky J. Management of febrile neutropenia: ESMO Clinical Practice Guidelines. Annals of Oncology 2016;27(5):111-18.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

Srisatidnarakul B. The methodology in nursing research. 5th ed. Bangkok:, Chulalongkorn University book center; 2010.

Jindakul P, Namvongprom A, Pakdevong N. Effectiveness of the educative-supportive program on self care ability, perceived intensity of side effects of chemotherapy and anxiety among patients with early breast cancer under-going adjuvant chemotherapy. Thai Cancer Journal 2018;38(3):105-16. (in Thai).

Tesamut L, Vannarit T, Tantiworawit A. Factors predicting health behaviors among persons with acute myeloblastic leukemia receiving chemotherapy. Nursing Journal 2017;44(1):45-56. (in Thai).

Pongprathet J, Sittisombut S, Soivong P. The effect of supportive-educative nursing system on fatigue among acute leukemia persons receiving chemotherapy. Nursing Journal 2021;48(1):15-27. (in Thai).

Wongsawassot A, Temthup S, Ponmad S. Effects of the educative supportive nursing program on dietary self care and serum albumin of patients with hepatocellular carcinoma. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice 2021;8(2):72-86. (in Thai).

Paritsiraprapa C, Kosol S. Effectiveness of an infectious prevention programfor patients with acute leukemiain hematology-oncology medicine ward at Surat Thani hospital. Journal of Health Sciences and Pedagogy 2021;1(2):83-96. (in Thai).

##submission.downloads##

已出版

2023-12-26