Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
    บทความที่ส่งจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการตีพิมพ์ของวารสารใด (ท่านสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้หากมีข้อสงสัย ในหัวข้อ Comments to the Editor
  • The submission file is in Microsoft Word 2007-2017 document file format.
    ไฟล์บทความที่ส่งจะอยู่ในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word 2007 ขึ้นไป
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
    ข้อมูลรายละเอียดการเตรียมบทความท่านได้ศึกษาจากคำแนะนำผู้แต่งเรียบร้อยแล้ว

Author Guidelines

การชำระค่าตีพิมพ์บทความ

ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความเพื่อขอตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร จะต้องชำระเงินค่าตีพิมพ์ลงวารสาร

1. บุคคลภายนอก 3,500 บาท
2. บุคคลภายใน (อาจารย์ บุคลากร หรือนักศึกษาปัจจุบันของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) 2,000 บาท
3. บุคคลภายในที่มีชื่อเป็นผู้ร่วมผลงานกับบุคคลภายนอก 3,500 บาท

- การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสารจะเรียกเก็บเมื่อบทความของท่านผ่านการพิจารณาจากบรรณาธิการให้สามารถลงตีพิมพ์ในวารสารได้

ดาวน์โหลดตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง
>> PDF

ดาวน์โหลด Template
>>PDF

ดาวน์โหลดแบบเสนอบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์บทความ (ภายนอก)
>>PDF

ดาวน์โหลดแบบเสนอบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์บทความ (บุคลากรภายใน)
>>PDF

คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความเพื่อส่งตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสุขภาวะ

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสุขภาวะ เป็นวารสารของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีกำหนดจัดพิมพ์วารสารปีละ 2 ฉบับ จึงขอเชิญเสนอบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสาร โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประเภทผลงานที่จะตีพิมพ์ ประกอบด้วย บทความวิจัย (Research article) และบทความวิชาการ (Academic article) ทั้งบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ การแพทย์แผนจีน และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม)

หลักเกณฑ์การพิจารณาบทความ

  1. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด
  2. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมีประโยชน์ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ซึ่งต้องมีคุณสมบัติอย่างต่ำตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ ทำงานวิจัยและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ขึ้นไปต่อบทความ กองบรรณาธิการอาจส่งผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนแก้ไข เพิ่มเติม หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่ แล้วแต่กรณี
  3. บทความวิจัย ต้องผ่านการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย และต้องแสดงหลักฐานการได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ
  4. กองบรรณาธิการอาจส่งผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนแก้ไขเพิ่มเติม หรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่ แล้วแต่กรณี
  5. ลำดับการตีพิมพ์บทความทุกประเภทลงในวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสุขภาวะ แต่ละฉบับทางกองบรรณาธิการจะเรียงลำดับการตีพิมพ์เฉพาะต้นฉบับของบทความทุกประเภทที่มีการแก้ไขเสร็จสมบูรณ์ครั้งสุดท้ายโดยไม่มีการแก้ไขสิ่งใด ๆ ในบทความอีก
  6. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาตีพิมพ์
  7. การยอมรับเรื่องที่จะตีพิมพ์เป็นสิทธิ์ของกองบรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหา หรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง

ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับ

การจัดพิมพ์บทความ

  1. ความยาวของบทความวิจัยไม่เกิน 15 หน้า และบทความวิชาการไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียว (นับรวมรูปภาพ ตาราง แผนภูมิ และเอกสารอ้างอิง)
  2. พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word for Windows
  3. รูปแบบตัวอักษร ให้จัดพิมพ์ด้วยแบบตัวอักษร TH Sarabun New เท่านั้น
  4. ชื่อเรื่องบทความ ขนาดตัวอักษร 18 pt. (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  5. ชื่อผู้เขียนใช้ชื่อ-นามสกุลเต็ม ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ ตำแหน่งทางวิชาการและคุณวุฒิ โดยให้มีการกำกับเลขยกกำลังต่อท้ายชื่อ สำหรับผู้เขียนหลักให้ทำเครื่องหมายดอกจันไว้ท้ายชื่อ พร้อมระบุอีเมล สำหรับชื่อหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เขียนควรพิมพ์ให้ตรงกับตัวเลขยกกำลังที่กำกับไว้ท้ายชื่อผู้เขียน กรณีผู้เขียน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ให้ใส่จุลภาค (,) คั่น ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 15 pt. จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ทั้งนี้ต้องระบุชื่อผู้เขียนและหน่วยงานต้นสังกัด ที่อยู่ทางไปรษณีย์ของผู้เขียนทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  6. ชื่อบทคัดย่อมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย
  7. เนื้อหาบทคัดย่อมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 15 pt. ย่อหน้าเข้ามา 0.5 นิ้ว ให้พิมพ์หน้าเดียวชิดขอบซ้ายขวา
  8. ชื่อคำสำคัญมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 15 pt (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย ตามด้วยเครื่องหมายทวิภาค ( : )
  9. ชื่อหัวเรื่องใหญ่ ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย ไม่ใส่เลขลำดับที่
  10. ชื่อหัวเรื่องรอง ขนาดตัวอักษร 15 pt. (ตัวหนา) ย่อหน้าเข้ามา 0.5 นิ้ว
  11. เนื้อหาบทความ ย่อหน้าเข้ามา 0.5 นิ้ว ให้พิมพ์ชิดขอบซ้ายขวา (กระจายแบบไทย) ขนาดตัวอักษร 15 pt. เว้นแต่ละบรรทัด 1 line space
  12. ชื่อตาราง ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย จากนั้นให้เว้น 1 เคาะ แล้วตามด้วยคำอธิบาย (ตัวปกติ) ตารางอยู่ส่วนบนชิดขอบซ้ายของตาราง ใต้ตารางให้บอกแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย
  13. ชื่อรูป ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย จากนั้นให้เว้น 1 เคาะ แล้วตามด้วยคำอธิบาย (ตัวปกติ) รูปอยู่ส่วนบนชิดขอบซ้ายของรูป ใต้รูปให้บอกแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย
  14. ชื่อแผนภูมิ ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย จากนั้นให้เว้น 1 เคาะ แล้วตามด้วยคำอธิบาย (ตัวปกติ) แผนภูมิอยู่ส่วนบนชิดขอบซ้ายของแผนภูมิ ใต้แผนภูมิให้บอกแหล่งที่มาจัดชิดซ้าย
  15. ระยะขอบกระดาษ บน 1 นิ้ว ล่าง 1 นิ้ว ซ้าย 1 นิ้ว ขวา 1 นิ้ว
  16. หมายเลขหน้า ให้ใส่ไว้ตำแหน่งด้านบนขวาตั้งแต่ต้นจนจบบทความ
  17. ชื่อเอกสารอ้างอิง ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) กึ่งกลางหน้ากระดาษ
  18. เนื้อหาเอกสารอ้างอิง ขนาดตัวอักษร 15 pt. (ตามรูปแบบ Vancouver Style)

รายละเอียดการจัดเตรียมต้นฉบับ

  1. ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้น กระชับ และสื่อความหมายตรงกับเรื่องที่ทำ
  2. ชื่อผู้เขียน ต้องระบุชื่อ-นามสกุลเต็มและหน่วยงานต้นสังกัด ที่อยู่ทางไปรษณีย์ของผู้เขียนทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีผู้เขียนหลักต้องระบุอีเมล์ด้วย
  3. บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยนำเสนอสาระสำคัญของเรื่อง ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ บทนำ วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล มีความยาวไม่เกิน 250 คำ กรณีบทความเป็นรูปแบบภาษาไทยให้จัดลำดับบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นต้น และกรณีบทความเป็นรูปแบบภาษาอังกฤษ ให้จัดลำดับบทคัดย่อภาษาอังกฤษขึ้นต้น
  4. คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละ 3-5 คำ ทั้งนี้ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ
  5. เนื้อหา รายละเอียดของการเตรียมต้นฉบับบทความแต่ละประเภทมีดังนี้

                  5.1 บทความวิจัย (Research article) ความยาวไม่เกิน 15 หน้า

                        (รวมเอกสารอ้างอิง ตาราง รูปภาพ และแผนภูมิ)

                        - บทนำ นำเสนอความสำคัญหรือที่มาของปัญหาวิจัย ช่องว่างขององค์ความรู้ที่จำเป็นต้องใช้กระบวนการวิจัยในการค้นหาคำตอบของปัญหา สาระสำคัญจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และความจำเป็นของการวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์

                   - วัตถุประสงค์ของการวิจัย นำเสนอสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา

                   - วิธีดำเนินการวิจัย นำเสนอรายละเอียดที่แสดงถึงระเบียบวิธีวิจัย (Research methodology) ที่ถูกต้อง ได้แก่ รูปแบบการวิจัย (Research design) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล และจริยธรรมการวิจัย

                   - ผลการวิจัย นำเสนอผลการวิจัยที่สมบูรณ์ ชัดเจน โดยอาจนำเสนอด้วยตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ พร้อมมีการบรรยายประกอบ

                    - อภิปรายและสรุปผลการวิจัย เป็นการวิเคราะห์ ประเมิน และตีความผลการวิจัยว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่ มีการเทียบเคียงผลการวิจัยกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยก่อนหน้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการอ้างอิงหลักวิชาการหรือทฤษฎี และอาจมีข้อเสนอแนะประเด็นที่ควรทำวิจัยต่อไป

                   - กิตติกรรมประกาศ แสดงความขอบคุณต่อองค์กรหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุนวิจัยหรือให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ

                  - เอกสารอ้างอิง ควรเป็นบทความที่ได้รับการตีพิมพ์หรือกำลังจะได้รับการตีพิมพ์ และระบุรายการเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงให้ครบถ้วน โดยใช้ตามรูปแบบ Vancouver Style

              5.2 บทความวิชาการ (review article) ความยาวไม่เกิน 15 หน้า (รวมเอกสารอ้างอิง ตาราง รูปภาพ และแผนภูมิ) นำเสนอเนื้อหาทางวิชาการที่ได้จากเอกสารวิชาการทั่วไป สามารถสอดแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีการอ้างอิงจากหลักวิชาการประกอบบทความได้ ประกอบด้วย บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง

  1. ตารางและรูปภาพ

               รูปภาพ ความละเอียดของรูปภาพไม่น้อยกว่า 600 dpi สำหรับภาพขาว-ดำ และไม่น้อยกว่า 300 dpi สำหรับภาพสี ระบุลำดับที่ของรูปภาพ โดยใช้คำว่า “รูปที่……...” (Figure……..) และคำบรรยายใต้รูปภาพอยู่ส่วนล่างกึ่งกลางของภาพ ส่วนที่เป็นสัญลักษณ์ให้นำเสนอในส่วนของคำบรรยายใต้รูปภาพ พร้อมทั้งแนบไฟล์รูปภาพที่ประกอบในเนื้อหากับไฟล์เอกสารปกติด้วย

               ตาราง ระบุลำดับที่ของตาราง โดยใช้คำว่า “ตารางที่...” (Table...) และคำบรรยายตารางอยู่ส่วนบนชิดซ้ายของตาราง การนำรูปภาพ แผนภูมิ หรือตารางมาอ้างอิงประกอบในบทความจะต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

การเขียนเอกสารอ้างอิง

            การเขียนเอกสารอ้างอิงทั้งการอ้างอิงในเนื้อหาและการอ้างอิงท้ายบทความเป็นแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) ซึ่งหลักเกณฑ์และแบบแผนของการเขียนเอกสารอ้างอิง มีดังนี้

  1. การอ้างอิงในเนื้อหา ให้อ้างอิงเลขลำดับที่ที่กำกับชื่อผู้แต่ง โดยระบุเลขลำดับที่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บก่อนหรือท้ายข้อความตามลำดับการอ้างอิงก่อน-หลัง
  2. การอ้างอิงเอกสารท้ายบทความ            

                 1) อ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
                 2) เรียงลำดับรายการเอกสารอ้างอิงตามลำดับหมายเลขที่ได้กำกับไว้ภายในเนื้อหาที่ได้อ้างถึง
                 3) พิมพ์หมายเลขของทุกรายการให้ชิดกับขอบกระดาษด้านซ้าย
                 4) ถ้าข้อความในเอกสารอ้างอิงข้อใดข้อหนึ่งมีความยาวมากกว่าหนึ่งบรรทัดให้พิมพ์บรรทัดถัดไปโดยการย่อหน้าครึ่งนิ้ว (1 Tab)

                  5) กรณีแหล่งทรัพยากรการอ้างอิงเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ให้ระบุภาษาของแหล่งทรัพยากรนั้นที่ส่วนท้ายของการอ้างอิง เช่น ... (in Thai) ที่ส่วนท้ายของการอ้างอิงจากทรัพยากรการอ้างอิงภาษาไทย ... (in Chinese) ที่ส่วนท้ายของการอ้างอิงจากทรัพยากรการอ้างอิงภาษาจีน

                  6) การเขียนผู้แต่ง มีรายละเอียด ดังนี้

                        6.1) ผู้แต่งไม่เกิน 6 คน: ผู้แต่งให้เขียนชื่อสกุลขึ้นก่อน ตามด้วยอักษรย่อของชื่อต้นและชื่อกลางโดยไม่ตองมีเครื่องหมายใด ๆ คั่น ถ้าผู้แต่งมีหลายคนแต่ไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อทุกคนโดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (comma - ,) คั่นระหว่างแต่ละคน และหลังชื่อสุดท้ายใช้เครื่องหมายมหัพภาค (fullstop - .)

                        6.2) ผู้แต่งตั้งแต่ 6 คน ขั้นไป ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง 6 คนแรก คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (comma- ,) และตามด้วย et al. เช่น Mitchell SL, Teno JM, Kiely DK, Shaffer ML, Jones RN, Prigerson HG, et al.

          ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 18/18 ถนนเทพรัตน ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ 02-312-6300 ต่อ 1511 หรือ email : hathairat.hcu@gmail.com, academic.hcu@gmail.com

 

Research article

บทความวิจัย ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย
อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

Academic article

บทความวิชาการ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา และบทสรุป

Privacy Statement

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่สามารถใช้ได้สำหรับวัตถุประสงค์อื่นหรือต่อบุคคลอื่นใด