Relationships between Smartphone Usage Behaviors and Health Conditions among Public University Students

作者

  • นัฐพล ปันสกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ศุภกาญจน์ แก่นท้าว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

关键词:

พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน, ภาวะสุขภาพ, นิสิตมหาวิทยาลัย

摘要

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยรัฐ จำนวน 645 ราย สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบประเมินพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน และส่วนที่ 3 แบบประเมินผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ มีค่าความเที่ยง 0.785 และ 0.876 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 99

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุอยู่ในช่วง 18-20 ปี มีระยะเวลาการใช้สมาร์ตโฟนนานมากกว่า 6 ปี (เฉลี่ย 6.13 ปี) ช่วงเวลาที่ใช้บ่อยที่สุด คือ 18.00-21.00 น. ระยะเวลาการใช้โดยเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 15 นาที มีพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง พบว่า อายุ อาชีพบิดา เงินที่ได้รับในแต่ละเดือน และรูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.001 พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ (r = 0.359, p-value < 0.001) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้ในการกำหนดมาตรการในการลดพฤติกรรมการเสพติดสมาร์ตโฟน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อภาวะสุขภาพในกลุ่มนิสิตนักศึกษาต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##submission.authorBiography##

##submission.authorWithAffiliation##

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

参考

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน. 2561]. เข้าถึงจาก: http://stiic.sti.or. th/stat/ind-it/
2. สิริกานต์ แก่นเพชร. การเสพติดสมาร์ทโฟนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. [การศึกษาค้นคว้าอิสระ]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2559.
3. ปณชัย อารีเพิ่มพร. งานวิจัยเผยคนพกมือถือติดมือตลอดเวลาเพราะต้องตอบแชทคนรักช่วยเพิ่มความมั่นใจในสถานการณ์คับขัน [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2561]. เข้าถึงจาก: https://thestandard. co/global-mobile-consumer-survey/
4. เฉลิมพงษ์ จันทร์สุขา. พฤติกรมการใช้สมาร์ทโฟนกับสังคมก้มหน้า: กรณีศึกษา นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2559.
5. ชีวรัตน์ ปราสาร, สรัณยา เฮงพระพรหม, ณภัควรรต บัวทอง, ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์. ความชุกของภาวะ nomophobia ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีที่ใช้สมาร์ทโฟนในมหาวิทยาลัยภาครัฐ. Chula Med J. 2017;61(2):249-59.
6. จุฑามาศ กิติศรี, รัญชนา หน่อคำ, คนึงนิจ เพชรรัตน. พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนและการรับรู้ภาวะสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน. 2560;5(1):19–34.
7. เสฏฐวุฒิ แสนนาม. พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ควรมองข้าม [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงจาก: https://www.thaicert.or.th/papers/general/2012/pa2012ge004.html
8. Moon JH, Kim KW, Moon NJ. Smartphone use is a risk factor for pediatric dry eye disease according to region and age: A case control study. BMC Ophthalmol. 2016;16(1):188.
9. Lee S, Kang H, Shin G. Head flexion angle while using a smartphone. Ergonomics. 2015;58(2): 220-6.
10. Lemola S, Perkinson-Gloor N, Brand S, Dewald-Kaufmann JF, Grob A. Adolescents’ electronic media use at night, sleep disturbance, and depressive symptoms in the smartphone age. J Youth Adolesc. 2015;44(2):405-18.
11. ภัทริยา อินทร์โท่โล่. การเปรียบเทียบอาการปวดกล้ามเนื้อขณะใช้งานสมาร์ทโฟนระหว่าง 3 กลุ่มอายุ: เด็กนักเรียนประถม นักเรียนมัธยม และผู้ทำงานสำนักงาน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2561;12(2):328-41.
12. วาสนา ศิลางาม. อันตรายของการเสพติดสมาร์ทโฟน. วารสาร มฉก วิชาการ. 2561;22(43-44):193-201.
13. อรุณี สรรสิริทรัพย์, วุฒิพงษ์ ชินศรี. การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในการใช้งานสมาร์ทโฟนของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เฉพาะส่วนกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2559; 11:1.
14. Namwongsa S, Puntumetakul R, Swangnetr M. Prevalence and associated factor of musculoskeletal disorders among smartphone users. Work Preprint. 2018:1-12.
15. Joseph LF, Bruce L, Myunghee CP. Statistical methods for rates and proportions, 3rd ed. New Jersey: John Wiley & Son; 2003.
16. Demirci K, Akgönül M, Akpinar A. Relationship of smartphone use severity with sleep quality, depression, and anxiety in university students. J Behav Addict. 2015;4(2):85-92.
17. นาฎลดา เรืองชาญ, จินตนา จันทนนท์, ชนัญกาญจน์ แสงประสาน. การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการศึกษาของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 2561;4(2):294-303.
18. Haug S, Castro RP, Kwon M, Filler A, Kowatsch T, Schaub, MP. Smartphone use and smartphone addiction among young people in Switzerland. J Behav Addict. 2015;4(4):299-307.
19. Aljomaa SS, Qudah MFA, Albursan IS, Bakhiet SF, Abduljabbar AS. Smartphone addiction among university students in the light of some variables. Comput Hum Behav. 2016;61:155-64.
20. Kim HJ, Kim JS. The relationship between smartphone use and subjective musculoskeletal symptoms and university students. J Phys Ther Sci. 2015;27(3):575-9.
21. Pearson C, Hussain Z. Smartphone use, addiction, narcissism, and personality: A mixed methods investigation. IJCBPL. 2015;5(1):17-32.
22. Alosaimi FD, Alyahya H, Alshahwan H, Al-Mahyijari N, Shaik SA. Smartphone addiction among university students in Riyadh, Saudi Arabia. Saudi Medical J. 2016;37(6):675-83.
23. พลเทพ วิจิตรคุณากร, ชิดชนก มาทมาร, ณะนิดา ติรเศรษฐ์, ปกรณ์ อรุณสวัสดิ์, ปรินทร์ บุญธรรม, พฤฒิ คูนลินทิพย์. การใช้ Smartphone และ Tablet ในนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2559;16:634-41.
24. Alfawareh HM, Jusoh S. Smartphone usage among university students: Najran university case. Int J Acad Res. 2014;6(2):321-6.
25. จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. จิตวิทยาบุคลิกภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
26. Zulkefly SN, Baharudin R. Mobile phone use amongst students in a university in Malaysia: its correlates and relationship to psychological health. Eur J Sci Res. 2009;37(2):206-18.

##submission.downloads##

已出版

2019-12-26