ความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ ลือนาม Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University, Samut Prakan, 10540, Thailand
  • ดวงหทัย แสงสว่าง อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • วิภาวรรณ เพ็งพานิช อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ภัทรพร ยุบลพันธ์ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กิตติ ประจันตเสน Loei Provincial Public Health Office
  • จิรัฐติกาล เก้าเอี้ยน สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ:

ความสุข, การทำงานบุคลากรโรงพยาบาลรัฐ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินระดับความสุขในการทำงานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในหน่วยงาน คุณภาพชีวิต และความสุขในการทำงานของบุคลากรที่ทำงานฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายบริการในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 105 คน เป็นวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ใช้แบบสอบถามให้ตอบเองเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม - เมษายน 2561 วิเคราะห์ระดับความสุขในการทำงานโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในหน่วยงาน คุณภาพชีวิต และความสุขในการทำงานของบุคลากรด้วยค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ระดับความสุขในการทำงานโดยรวมของบุคลากรที่ทำงานฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายบริการ โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.57 และระดับสูง ร้อยละ 30.48 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.39 (95% CI; 3.29 – 3.50) ทั้งนี้ปัจจัยในหน่วยงาน ได้แก่ ผู้นำและนโยบายการบริหาร มีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันกับความสุขในการทำงานด้านน้ำใจดี สังคมดี และผ่อนคลายดี ในขณะที่สภาพแวดล้อมการทำงาน ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน และลักษณะงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันกับความสุขในการทำงานด้านน้ำใจดี และสังคมดี ส่วนคุณภาพชีวิต มีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันกับความสุขในการทำงานทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารควรร่วมกันเสริมสร้าง สนับสนุนสร้างความสุขในการทำงานในทุกด้านโดยเฉพาะด้านใผ่รู้ดี ผ่อนคลายดี และสุขภาพการเงินดี เนื่องจากมีความสุขน้อยกว่าด้านอื่น ๆ

Downloads

References

1 อรทัย อินปิ่น. ความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร; 2552.
3 กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี; 2559.
4 คมกริช สุรเวช. ความสุขในการทำงานของบุคลากร สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554
5 Chaiprasit, Kemakorn, Orapin Santidhiraku. Happiness at work of employees in small and medium-sized enterprises, Thailand. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 2011;25: 189-200.
6 โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. สถิติการการโอนย้าย ลาออก ของบุคลากร. นครศรีธรรมราช; 2561.
7 เรณู สุขฤกษกิจ. ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.
8 สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, ราณี
พรมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของ WHO 100 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.
9 นภัส จิตต์ธีรภาพ. ปัจจัยส่วนบุคคล ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน :
กรณีศึกษาโรงงานอุตสากรรมผลิตอาหารแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.
10 นฤมล แสวงผล. ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.
11 ฌานิกา วงษ์สุรีย์รัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน ความสุขในการทำงาน โดยมีความเพลินเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์: กรณีศึกษาบริษัทวิศวกรรมก่อสร้างนอกชายฝั่งแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.
12 Prachuntasen K, Laohasiriwong W and Luenam A. Social capital associated with quality of life among late adults and elderly population in the Northeast of Thailand. F1000Research. 2018, 7:496.
13 Fisher, Cynthia D. Happiness at work. International journal of management reviews. 2010,12(4): 384-412.
14 Olsson, L. E., Gärling, T., Ettema, D., Friman, M., & Fujii, S. Happiness and satisfaction with work commute. Social indicators Research. 2013, 111(1): 255-263.
15 World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion (1986).The Adelaide
Recommendations on Healthy Public Policy 1988. Geneva Switzerland: World Health
Organization; 1988.
16 Pramitasari, R., Pitaksanurat, S., Phajan, T., Laohasiriwong, W. (2015). Association between ergonomic risk factors and work-re;ated musculoskeletal disorders in beverage factors workers, Indonesia. In proceeding International Seminar and Workshop on Public Health Action" Building Healthy Community". 2015.
17 Schwefel, D. Unemployment, health and health services in German-speaking
countries. Social science & medicine. 1986, 22(4): 409-430.
18 Diener E, Scollon CN, Lucas RE. The evolving concept of subjective well-being: the multifaceted nature of happiness. In: E Diener (ed.) Assessing well-being: the collected works of Ed Diener. New York: Springer. 2009: 67–100.
19 Frey BS, Stutzer A. Happiness and economics. Princeton, N.J.: Princeton University Press;
2002.
20 อรรถพร คงเขียว. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสุขในการทำงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท ดี.อี.เอ็ม
คอนฟิแดนท์ จำกัด [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28

How to Cite

1.
ลือนาม อ, แสงสว่าง ด, เพ็งพานิช ว, ยุบลพันธ์ ภ, ประจันตเสน ก, เก้าเอี้ยน จ. ความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Health Sciences and Wellness [อินเทอร์เน็ต]. 28 ธันวาคม 2021 [อ้างถึง 12 เมษายน 2025];25(2):155-67. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/146824