การเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการและการแนะนำบอกต่อโรงแรมฮาลาลระหว่างนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม
คำสำคัญ:
โรงแรมฮาลาล, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps), จังหวัดกระบี่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการและการแนะนำบอกต่อโรงแรมฮาลาลของนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม โดยวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบคุณภาพข้อมูล โดยตัวแปรที่ทดสอบทุกตัวมีค่าความสอดคล้อง (Item-Objective Congruency: IOC) เท่ากับ 0.9 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เกิน 0.8 ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Accidental Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามและได้เข้าพักในโรงแรมฮาลาล จังหวัดกระบี่จำนวน 385 คน ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) ในครั้งนี้ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการในแต่ละด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจกลับมาเลือกใช้บริการและการแนะนำการเลือกใช้บริการโรงแรมฮาลาลโดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาด มีค่าความสัมพันธ์สูงที่สุด (r=.537) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านราคา (r=.520) และ ปัจจัยด้านบุคลากร (r=.518) ตามลำดับ ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีค่าความสัมพันธ์สูงที่สุด (r=.268) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านราคา (r=.244) และ ปัจจัยด้านกระบวนการ (r=.237) ตามลำดับ โดยสรุป คือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการและการแนะนำบอกต่อโรงแรมฮาลาลในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยมากที่สุด (r= .537) ในขณะที่ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการและการแนะนำบอกต่อโรงแรมฮาลาลในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากที่สุด (r = .268) หากโรงแรมฮาลาลต้องการจะรักษาฐานลูกค้ากลุ่มที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามเหล่านี้ การจัดทำแผนส่งเสริมการขายที่ดึงดูดใจ การรักษามาตรฐานการให้บริการลูกค้า ตลอดจนการพัฒนาห้องพักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารโรงแรมควรให้ความสำคัญ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แถลงข่าวสถานการณ์ท่องเที่ยวเดือนธันวาคม 2560. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/old/more_news.php?cid=421&filename=index
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2562 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=618
กิจฐเชต ไกรวาส, อาภาภรณ์ สุขหอม และ ชาลิสา ศิริธรรมเกตุ. (2562). ต้นแบบการจัดการท่องเที่ยววิถี ฮาลาลในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารชุมชนวิจัย, 13(2), 81-90.
ขัตติยา ราชา และ สุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2562). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมในจังหวัดภูเก็ต. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 12(3), 353-363.
ชลธิชา เตชวัชรมงคล. (2559). การตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรม ระดับ 5 ดาว ในเขตพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.
ธนินทร์ สังขดวง และ จิระนาถ รุ่งช่วง. (2560). การรับรู้ระดับการให้บริการของนักท่องเที่ยวมุสลิมต่อการจัดการการท่องเที่ยวแบบฮาลาลในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 135-168.
ธรรมจักร เล็กบรรจง. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมฮาลาลของนักท่องเที่ยวมุสลิมชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
นพกร คนไว. (2562). เจาะตลาดอาเซียนด้วยการท่องเที่ยวแบบฮาลาล. สืบค้นจาก https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/halal-tourism
นิยม เจริญศิริ. (2558) ปัจจัยและกระบวนการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.
บัณฑิต อเนกพูนสินสุข. (2561). Shape of Muslim Millennial. TAT Review, สืบค้นจาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/shape-of-muslim-millennial/
มนตรี เกิดมีมูล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าพักที่โฮมสเตย์ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ: กรณีศึกษา โฮมสเตย์ในเขตพื้นที่ภาคใต้. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 110-120.
วรางคณา ตันฑสันติสกุล และ เมธาวี ว่องกิจ. (2562). กลยุทธ์การพัฒนาโรงแรมฮาลาล กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่. วารสารราชพฤกษ์, 17(3), 122-128.
วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. (2556). การตลาดธุรกิจบริการ (Service Marketing). กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
วุฒิชัย ปูเต๊ะ. (2560). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.
อธิชา อัยยะศิริ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
Battour, M., Hakimian, F., Ismail, M., & Bogan, E. (2018). The Perception of Non-Muslim Tourists Towards Halal Tourism: Evidence from Turkey and Malaysia. Journal of Islamic Marketing. 9(4), 823-840.
Clawson, M. & Knetsch, J. L. (1966). Economics of Outdoor Recreation: Washington, D.C.: Resources for the Future, INC.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Hiransomboon, K. (2012). Marketing Mix Affecting Accommodation Service Buying Decisions of Backpacker Tourist Traveling at Inner Rattanakosin Island in Bangkok, Thailand. Procedia Economics and Finance, 3, 276-283.
Kotler, P. & Keller, K. (2012). Marketing Management. (12th ed.). Edinburgh Gate: Pearson Education Limited.
Miles, J., & Banyard, P. (2007). Understanding and Using Statistics in Psychology: A Practical Introduction. London: Sage Publications Ltd.
Nurrachmi, R. (2019). The Potential Industry of Islamic Tourism in ASEAN Countries. International Journal of Islamic Business Ethics, 4(2), 627-639.