การประยุกต์แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง : ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย

ผู้แต่ง

  • พิไลพร สุขเจริญ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย, การศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นแนวคิดสำคัญที่มีส่วนทำให้นักศึกษาพยาบาลเกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายในทั้งด้านการรู้คิด อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย บทความนี้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพโดยนำมาประยุกต์ในการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลเกิดความสามารถ ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย และดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ผลการถอดบทเรียนจากจากประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย พบประเด็นการเรียนรู้ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ความรู้สึกสงสารผู้ป่วย 2) การรู้สึกมีคุณค่าต่อผู้ป่วย 3) การยอมรับความเป็นบุคคลของผู้ป่วย และ 4) ความมุ่งมั่นและตั้งใจดูแลผู้ป่วย ผลลัพธ์ดังกล่าวนำไปสู่กระบวนการพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษาพยาบาล เพื่อเกิดทัศนคติที่ดีต่อตนเอง และผู้ป่วยระยะท้าย และมีความพร้อมในการให้การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่เป็นองค์รวม

References

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2559). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: การจัดการเรียนรู้ด้านการผลิตครู. สักทอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส), 22(2), 1-11.

พสิษฐ์พล วัชรวงศ์วาน. (2557). การเรียนรู้แปลงกับการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 14(3), 449-459.

พัชนี สมกำลัง และยุทธชัย ไชยสิทธิ์. (2555). แนวคิดการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ: การประยุกต์ใช้ในวิชาชีพการพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล, 27(4), 16-25.

พิไลพร สุขเจริญ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงจิตวิญญาณในการดูแลแบบประคับประคองของนักศึกษาพยาบาล: การวิจัยผสานวิธีแบบแทรกแซง (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

พิไลพร สุขเจริญ และรภัทภร เพชรสุข. (2559). แนวทางการส่งเสริมการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนีกรุงเทพ, 32(3), 62-73.

ละเอียด แจ่มจันทร์, รวิภา บุญชูช่วย และสุนีย์ อินทรสิงห์. (2557). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: ถอดบทเรียนจากการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(3), 1-14.

วิจารณ์ พาณิช. (2558). เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ยุทธศาสตรการพัฒนาคุณภาพการศึกษา: ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สมสิทธิ์ อัสดรนิธิ และกาญจนา ภูครองนาค. (2555). การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง. กรุงเทพฯ: คณะกรรมาธิการศาสนา จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรมวุฒิสภา และศูนย์จิตตปัญญาศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล.

องค์อร ประจันเขตต์. (2557). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: มุมมองในการศึกษาทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 179-184.

Ballesteros, M., Centeno, C., & Arantzamendi, M. (2014). A qualitative exploratory study of nursing students' assessment of the contribution of palliative care learning. Nurse education today, 34(6), 1-6.

Doucette, E., Killackey, T., Brandys, D., Coulter, A., Daoust, M., Lynsdale, J. & et al. (2014). Silent witnesses: Student nurses’ perspectives of advocacy and end-of-life care in the intensive care unit. Canadian Association of Critical Care Nurses, 25(4), 17-22.

Ek, K., Westin, L., Prahl, C., Osterlind, J., Strang, S., Bergh, I., & et al. (2014). Death and caring for dying patients: exploring first-year nursing students’ descriptive experiences. International Journal of Palliative Nursing, 20(10), 509-515.

Fletcher, K. A., & Meyer, M. (2016). Coaching model+ clinical playbook= transformative learning. Journal of Professional Nursing, 32(2), 121-129.

Gillan, P. C., van der Riet, P. J., & Jeong, S. (2014). End of life care education, past and present: A review of the literature. Nurse education today, 34(3), 331-342.

Jacobs, B. M. (2016). Situating the Humanistic Paradigm in Clinical dental hygiene: Empathic understanding, thoughtfulness and tact, and pedagogical influence. (Doctoral Dissertation), Northern Illinois University, United States.

Kear, T. M. (2013). Transformative learning during nursing education: A model of interconnectivity. Nurse education today, 33(9), 1083-1087.

Lin, C. C., Han, C. Y., Pan, I. J., & Chen, L. C. (2015). The teaching learning approach and critical thinking development: A Qualitative exploration of Taiwanese nursing students. Journal of Professional Nursing, 31(2), 149–157.

Mezirow, J. (1991). Transformative dimensions of adult learning. San Francisco: Jossey-Bass.

Mezirow, J. (1997). Transformative learning: Theory to practice. New directions for adult and continuing education, 74, 5-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18