ผลของการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของคิงต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง

ผู้แต่ง

  • จินตนาพร ประสมศรี มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยที่เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจากการได้รับการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของคิงต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องที่มารับบริการที่หน่วยไตเทียมโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2554 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้จำนวนทั้งสิ้น 11 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของคิง คู่มืออาหารและตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของคิง (The King's theory of goal attainment) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ให้ข้อมูล  แบบสัมภาษณ์ความรู้ทางโภชนาการ และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบบันทึกรายการอาหาร 24 ชั่วโมง และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการรับประทานอาหารตามแนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง หลังได้รับการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของคิง มีความรู้ทางโภชนาการมากขึ้น มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่าก่อนได้รับการพยาบาล และปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดเมื่อต้องควบคุมอาหารให้ถูกต้อง และการได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยยังต้องเผชิญกับปัญหา และอุปสรรคในการควบคุมอาหารที่ต้องปรับให้ดีขึ้น

          ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่าการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของคิง ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง เป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้นำ  แนวทางการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายไปประยุกต์ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านอื่นๆ ของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ

References

กนกรักษ์ เกตุเนียม. (2545). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารโรงพยาบาลนครพิงค์. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกศกนก เข็มคง. (2550). ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ในโรงพยาบาลสุโขทัย. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นแอนด์พับลิชชิ่ง.

ชญานิษฐ์ วงศ์จักร. (2544). บริโภคนิสัยของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดาราลักษณ์ ถาวรประสิทธิ์. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทนา จันทวานิช ประเสริฐ จารุกิจสมบัติ อุดม ไกรฤทธิชัย และวิสสุตา ถิรวิทยาคม. (1999). ผลของเยื่อบุช่องท้องอักเสบต่อภาวะโภชนาการในผู้ป่วยล้างไตช่องท้องอย่างถาวร.J Nephrol Soc Thai, 5(1), 58-70.

พงษ์ลดา นวชัย. (2540). ความรู้ทางโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุ่งทิพย์ สีนวลแล. (2546). การติดตามการดูแลสุขภาพตนเองที่บ้านของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยวิธีล้างไตช่องท้องชนิดถาวร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศศิธร ชิดนายี. (2544). ผลของการพยาบาลตามทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม.การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรถพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ ปรียานุช แย้มวงษ์ ลีนา องอาจยุทธ และสุมาลี นิมมานนิตย์. (2545). Theassessment of nutritional status in hemodialysis patient at renal unit, siriraj hospital.

อัมภวรรณ์ ใจเบี้ย. (2543). การดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุปถัมภ์ ศุภสินธ์. (2550). Dietary Prescription for Maintenance Dialysis Patients.ในธนิตจิรนันท์ธวัช และคณะ. (บรรณาธิการ), Comprehensive Reveiw of Dialysis. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร.

Dhavee Sirivongs, Cholatip Pongkul, Thathsalang Keobounma, Darunee Chunlertrith, kanokkorn Sritaso and Jeff John. (2006). Risk Factor of First eritonitis Episode in Thai CAPD Patient. J Med Assoc Thai ,89(2) : s138-s145.

King,I.M. (1981). A theory of nursing:Systems,concepts,process. New York : John Wiley&Sons.

Li- Tao Cheng.; Li-jun Tang.; Hui-Min Chen.; Wen Tang.; Tao Wang. (2008). Relationship between serum albumin and pulse wave velocity in patients on continuous ambulatory peritoneal dialysis. Annual Reviews, : 4(4).

Robert K, Yin. (1994). Case Study Research : Design and Methods. (2nd ed.). Sage Publications.

Young GA, Kopple JD, Lindholm B,et al. (1995).Nutritional assessment of continuous ambulatory peritoneal dialysis:International study. Am J Kidney Dis, 17 : 462-471.

Wolfson, M. (1999). Management of protein and energy intake in dialysis patients.Journal of Amerigan Society of Nephrology, 10 : 2244-2247.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-04-30