การตัดสินใจยอมรับระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพกับการยกระดับศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพ, ต้นทุนประกอบอาชีพ, เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการยกระดับศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว 2) วัดระดับความพร้อมในการใช้งานระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพของเกษตรกร และ 3) แนวทางการตัดสินใจยอมรับระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพของเกษตรกร ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบจากเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมเป็น 30 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) การยกระดับศักยภาพผ่านการพัฒนาคุณภาพของมะพร้าวสด และการยอมรับระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพมาใช้ในการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตสร้างความเข้มแข็งในการกำหนดราคาผ่านการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันและสร้างอำนาจต่อรองต่อผู้บริโภค 2) เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวมีระดับความพร้อมในการใช้งานระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจัดทำบัญชีเพื่อการวางแผน ด้านการความตั้งใจในการจัดทำบัญชี และด้านการประยุกต์ใช้และการพยากรณ์เหมาะสม ตามลำดับ และ 3) แนวทางการการตัดสินใจยอมรับการใช้งานระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ เกษตรกรมีการพิจารณาจากปัญหาและอุปสรรคตลอดจนความยากหรือง่ายในการใช้งานระบบบัญชี เปรียบเทียบกับประโยชน์ในการใช้งานระบบบัญชี นำมาสู่การตัดสินใจยอมรับหรือไม่ยอมรับการใช้งานระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). ระบบศูนย์กลางข้อมูลงานวิจัยการเกษตรของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://tarr.arda.or.th/cat/1.
กาญจนา สุระ. (2562). การพัฒนาศักยภาพเพื่อต่อยอดภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ กรณีศึกษา ชุมชนเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 1-11.
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2563).คู่มือระบบบัญชีสหกรณ์การเกษตร. สืบค้นจาก https://www.cad.go.th/ ewt_dl_link.php?
ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์. (2551). แนวทางการพัฒนาธุรกิจชุมชน. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น, 3(1), 57-67.
คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้. (2563). กำหนดแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน. สืบค้นจาก https://www.moac.go.th/news-preview-421991791938.
จริงแท้ ศิริพานิช. (2560). โอกาสและอุปสรรคของมะพร้าวน้ำหอมของไทย. Postharvest Newsletter, 16(1), 5-7.
ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล และคณิดา ไกรสันติ. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านลานไทร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
ปฐมชัย คชะสุต เอมอร อังสุรัตน์ ปราโมทย์ สฤษดิ์นิรันดร์ และสุรพล จารุพงศ์. (2560). การเพิ่มศักยภาพการผลิตมะพร้าวอ่อนเพื่อการส่งออกตลอดโซ่อุปทาน ในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal. 10(2), 531-545.
ปาริชาติ มณีมัย ชลันธร ศรีธรรมโชติ ภัทรพล วรรณราช และระวิวรรณ สุขพิลาภ. (2561). การจัดทำบัญชีครัวเรือนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา เกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารพัฒนาสังคม, 20(2), 17-33.
พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมระบบ EXPRESS ของนักบัญชีในระดับอุดมศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 447-464.
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์. (2554). การพัฒนาระบบบัญชีสำหรับกลุ่มผู้ผลิตโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สำนักงานวิจัยการเกษตร. (2562). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: A theory of planned behavior. In J. Kuhl & J. Beckmann (Eds.), Action control: From cognition to behavior Heidelberg: Springer.
Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Addison-Westy. Reading, MA.
Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy. New York: The Free Press.
Waterman, R. H. ; Peters, T. J. & Phillips, J. R. (1980). Structure is not organization. Business Horizons, 23(3), 14-26.