ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกัน และควบคุมภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • กัลยา กลัดแก้ว มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความรู้ และ พฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกัน และ ควบคุมภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 60 ราย โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มๆละ 30 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ถึง เดือนสิงหาคม 2555 กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติจากพยาบาล และ กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความรู้ และ พฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันและควบคุมภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มและการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสัน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ 2) เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามวัดความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันและควบคุมภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งผ่านการทดสอบ หาความเที่ยงตรงของเนื้อหาและความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันและควบคุมภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยสถิติทีคู่ (Two independent T sample test) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ และ พฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันและควบคุมภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร จำกัด.

งานระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี (2553). จำนวนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลพระจอมเกล้า ปี 2551-2553.

จารุณี บันลือ. (2542). คุณภาพชีวิตที่สูญเสียไปของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการระบาด บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

จันทร์เพ็ญ คำสี. (2546). ผลการใช้โปรแกรมสนับสนุนและการให้ความรู้ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2543). สถานะสุขภาพคนไทย. โครงการสำนักพิมพ์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.

ชายชาญ โพธิรัตน์. (2546). โรคภูมิแพ้ในเวชปฏิบัติ 2003. หน่วยวิชาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชาอายุรศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชยันต์ธร ปทุมนนท์และคณะ. (2544). ค่าใช้จ่ายและคุณภาพชีวิตที่สูญเสียไปจากการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิพมาส ชินวงษ์, พัชรียา ไชยลังกา, บุศรา เอี้ยวสกุล และเยาวรัตน์ มัชฉิม : 2545

ดารณี จามจุรี (2545). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจด้านสุขภาพในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง. ปริญญานิพนธ์ การศึกษาศาตรดุษฏีบัณฑิต. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

_____. (2546). รูปแบบการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ : สมาเจริญพาณิชย์.

ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ (2541). ผลของการใช้ อี เอ็ม จี ไบโอฟีดแบคร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโพรเกรสสิพ ต่อความวิตกกังวล การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการควบคุมอาการหายใจลำบาก ความทนทานในการออกกำลังกาย อาการหายใจลำบาก และสมรรถภาพปอดในผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

นัยนา อินทร์ประสิทธิ์ (2544). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญใจ ศรีสถิตย์นากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล.กรุงเทพฯ : ยู แอนด์ ไอ อินเตอร์มิเดีย.

บุญสืบ ศรีไชยยันต์ และ แสงจันทร์ ทองมาก (2538). คู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับบุคลากรทางสุขภาพ เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลดาวัลย์ พริ้นติ้ง.

บุษกร อ่อนโนน (2547). ผลของการสร้างเสริมพลังอำนาจแบบกลุ่มต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประทุมพร รุจิเจริญวรรณ (2553). ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันและควบคุมภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ปนัดดา มณีทิพย์ (2550). ผลของการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและการได้รับการพยาบาลตามความสามารถในการดูแลตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ปติมา เชื้อตาลี (2548). ผลของการให้ข้อมูลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปราณี โทแสง (2548). ผลของโปรแกรมการพยาบาลในรูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจต่อความรู้สึกสูญเสียพลังอำนาจในผู้ป่วยหัวใจวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พนารัตน์ เจนจบ. (2542). การศึกษาการนำกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดของกิบสัน การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์.

พนอ เตชะอธิก (2541). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจอย่างมีแบบแผนต่อความรู้สึกสูญเสียอำนาจในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พูนเกษม เจริญพันธ์ (2545). ลักษณะทางเวชกรรมและการวินิจฉัยในการบำบัดระบบการหายใจ (Clinical Diagnosis in Respiratory Care) ในสุมาลี เกียรติบุญศรี (บรรณาธิการ). การดูแลรักษาโรคระบบหายใจในผู้ใหญ่ “Respiratory care in Adult”. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์.

ฟาริดา อิบราฮิม (2546). ปฏิบัติการพยาบาลตามทฤษฎีการพยาบาล. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์.

เมธิณี จันติยะ (2547). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัชนีพร คนชุม (2547). ผลของการสร้างเสริมพลังอำนาจต่อการปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ในผู้ป่วยมะเร็งที่รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลินจง โปธิบาล. (2539). การพยาบาลผู้ป่วยโรคระบบหายใจ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.หน้า 79-103.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2536). อาการไอและอาการหายใจลำบาก ใน จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ (บรรณาธิการ). การพยาบาลผู้สูงอายุ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

สรินยา ไชยนันท์. (2551). การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้านในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมเกียรติ วงษ์ทิม. (2546). การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาล. ใน เวชปฏิบัติผู้ป่วยใน (หน้า 216-241) กรุงเทพฯ : โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมจิต หนุเจริญกุล (2547). การดูแลตนเอง:ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นติ้ง.

สมพันธ์ หิญชีระนันทน์ และ ศากุล ช่างไม้. (2554). การจัดการกับอาการของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยคริสตียน ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 หน้า 393-410.

สุพร มหาวรากร (2551). ผลของการสร้างเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2546). รูปแบบการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ : สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สินีนาถ มีเจริญ (2541). ผลของการใช้เทคนิคผ่อนคลายร่วมกับการหายใจแบบเป่าปากต่อความสุขสบายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุมลรัตน์ อาจกูล (2548). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเองต่ออาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ (2537). การพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง: มโนมติสำคัญสำหรับการดูแล. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขอนแก่นการพิมพ์.

สุพัตรา สิงห์อุตสาหะชัย. (2550). ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ความสามารถในการดูแลตนเอง ความพึงพอใจต่อการพยาบาลและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยเครื่องไตเทียม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรีย์ สมประดีกุล (2546). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. ใน สมบูรณ์ คุณาธิคม และ ปรียานุช แย้มวงษ์ (บรรณาธิการ), เวชปฏิบัติในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (หน้า 243-252). กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย (2548). แนวทางการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องสไปโรเมตรีย์. กรุงเทพฯ : ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.

_____.(2548). แนวทางการวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทย. (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2548). กรุงเทพฯ : ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2546). รูปแบบการพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ : สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

อัมพรพรรณ ธีรานุตรและคณะ (2540). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.วารสารศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง. 5(2):41-46.

อัมพรพรรณ ธีรานุตรและคณะ (2540). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารกรมการแพทย์. 22(9):354-364.

อัมพรพรรณ ธีรานุตร (2542). โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง : การดูแลตนเองและการฟื้นฟูสภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท.

American Lung Association (2004). Chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Retrieved May 9,2011, from https://www.lungusa.org.

Anderson,K.L. (1995). The effect of Chronic obstructive pulmonary disease on quality of life.Research in Nursing and Health 18(6):547-556

Boot,C.R.L. (2004). Knowledge about asthma and COPD : associations with sick leave,health complaints,functional limitations,adaptation and perceived control. Patient Education and Counseling 52:257-262.

Brashers,V.L. (2002). Chronic obstructive pulmonary disease. In Clinical applications of pathophysiology : Assesment,diagnostic reasoning and management.St.Louis : Mosby.

British Thoracic Society (1997). Pulmonary rehabilitation. Thorax, 56, 827-834.

Devito,A.J. (1990). Dyspnea during hospitalization for acute phase of illness as recalled by patients with chronic obstructive pulmonary disease. Heart & Lung 19(1):186-191.

Fabio Pitta et al (2005). Characteristics of physical Activities in Daily Life in COPD. Am J Respir Crit Med 171:972-977.

Falk-Rafael,A.R. (2001). Empowerment as aprocess of evoling Consciousness : A model of Empowered Caring.Advance Nursing Science 24(1):1-16.

Gibson, C.H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16 (3), 354-361.

------ (1995). The process of empowerment in mother of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201-1210

Jadranka S,Michel D.M& Alejandra G,(2006). Effect of Inposed Pursed-Lip Breathing on Respiratory Mechanics and Dyspnea at rest and during in COPD. Chest (19):640-650.

John,L.M. (2001). Management of Dyspnea in patient with far-advanced lung disease: “Once I lose it,it's kind of hard to catch it…”. JAMA. 285(10):1331-1337.

Malas et al. (2003). Cadiac or pulmonary dyspnea in patients admitted to the emergency department. Respiratory Medicine 97:1271-1281.

Miller,J.F. (1992). Coping with chronic illness : Overcoming powerlessness. 2nd ed. Philadelphia : F.A.Davis.

Orem, D.E. (1995). Nursing : Concepts of Practice. St. Louis : Mosby Year Book.:101.

Orem, D.E, Taylor, S.G., Renpening, K.M. (2001). Nursing : concepts of Practice. St. Louis : Mosby Year Book.

Sandford,A.J., and Silverman,E.K. (2002). Chronic obstructive pulmonary disease:Susceptibility factor for COPD the genotype-environment interaction. Thorax 57:736-741.

Sassi-Dambrom,D.E.,Eakin,E.G.,Ries,and Kaplan,R.M. (1995). Treatment of dyspnea in COPD controlled clinical trial of dyspnea management strategies. Chest 107:724-729.

Scherer Y.K.,et al., (1997). The effect of pulmonary rehabilitation program on self-efficacy,perception of dyspnea and physical endurance. Heart & Lung 26(1):15-22.

Sheahan,S.L.,& Musialowski,R.(2001).Clinical implication of Respiratory system changes in aging.Journal of Gerontological Nursing 27(5):26-34.

Supaporn Duanhpaeng (2002). Chronic dyspnea management of Thai adults with Chronic obstructive pulmonary disease.Dissertion, Doctoral dissertation,Nursing Science Faculty of Graduate Studies Mahidol University.

Tiep,B.L. (1997). Review : Disease management of COPD withpulmonaryrehabilitation. Chest 112:1630-1659.

Truesdell,S.(2002).Helping patients with COPD manage episodes of acute shortnees of Breath. Medsurg Nursing 9(4):178-182.

Witta,K.M. (1997). COPD in the elderly : Controlling symptoms and improving quality of life. Advance for Nurse Practitioner 5(7):18-20,22-23,27,72.

Woo,K.(2000). A Pilot study to examine the relationships of dyspnea physical activity and fatigue in patients with COPD .Journal of Clinica l Nursing 9:526-533.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-08-31