ปัญหา ความต้องการและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลใน 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในโรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นงค์รัก ชัยเสนา มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแผนการพยาบาล 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในโรงพยาบาลขอนแก่น แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การจัดทำร่างแผนการพยาบาล 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โดยทำการศึกษาข้อมูลจากแฟ้มการรักษาของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด จำนวน 25 แฟ้ม เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาและความต้องการการดูแลในระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด และนำสู่การยกร่างแผนการพยาบาลในระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด และ ระยะที่ 2 เป็นการระดมสมองพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกเพื่อสะท้อนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อร่างแผนการพยาบาล 72 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2556 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ผลการศึกษาเป็นดังนี้               

          1. ปัญหาและความต้องการการดูแล ได้แก่ 1) การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ 2) แผลขนาดใหญ่ที่ทรวงอก 3) ได้ยาละลายลิ่มเลือด 4) ใส่ท่อระบายทรวงอก 5) จำกัดการเคลื่อนไหว 6) ใช้เครื่องช่วยหายใจ และ 7) งดอาหารและน้ำดื่ม

          2. แผนการพยาบาล มีองค์ประกอบคือ ข้อวินิจฉัยการพยาบาล เป้าหมายการพยาบาล เกณฑ์การประเมินผล และกิจกรรมการพยาบาล สำหรับข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่พบมี 7 ข้อ ได้แก่

                1) เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากการหายใจไม่มีประสิทธิภาพหลังการผ่าตัดและการมีความปวด

                2) มีความปวดจากการได้รับการผ่าตัดและคาท่อระบายทรวงอก

                3) เสี่ยงต่อการเสียเลือดได้ง่ายจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด

                4) ไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำดื่มได้ทางปากเนื่องจากคาท่อช่วยหายใจทางปาก

                5) อาจเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากมีกรดหลั่งในกระเพาะอาหารจำนวนมากจากการมีความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ

                6)  อาจเกิดแผลกดทับเนื่องจากนอนท่าเดียวนานๆ จากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว

                7) ไม่สามารถทำความสะอาดร่างกาย/ดูแลสุขอนามัยได้ด้วยตนเองเนื่องจากถูกจำกัดด้วยอุปกรณ์ การรักษาและการมีความปวด

          ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อสะท้อนให้เห็นในเชิงประสิทธิผลของแผนการพยาบาลนี้ ตลอดจนการศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นปัญหาและความต้องการการดูแลให้ครอบคลุมด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม รวมถึงการบันทึกทางการพยาบาลในประเด็นปัญหาด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม ในระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดนั้นจะต้องมีความชัดเจน

References

งานเวชระเบียนโรงพยาบาลขอนแก่น. (2556). สถิติผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่น.

นวรัตน์ สุทธิพงศ์. (2550). ผลของการพัฒนาความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิวพล ศรีแก้ว. (2555). ความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะวิกฤต. มหาสารคาม :วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม.

ผ่องศรี ศรีมรกต. (2551). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ไอกรุ๊ฟ เพรส.

พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. (2544). ผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชชุดา ดอกผึ้ง. (2550). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุหลังได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิพร เสนารักษ์. (2548). การวินิจฉัยการพยาบาล. การพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุดกัญญา พัทวี. (2541). ประสบการณ์ความปวดและการจัดการกับความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอกชนิดผ่ากลางกระดูกสันอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัญฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย. (2554). สรุปสถิติการผ่าตัดหัวใจ 2552-2554. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2555, จาก https:// www.thaiheartassociation.org.

อุราวดี เจริญไชย. (2541). ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับวิธีการความรู้สึกและคำแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติต่อความวิตกกังวลความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เปลี่ยนลิ้นหัวใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุไร ศรีแก้ว. (2543). การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ:การดูแลอย่างต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ : ลิมบราเดอร์การพิมพ์.

Burley, D. & Barrett, D. (2006). Cardiac Surgery. In Barret, D., Gretton, M., & Quinn, T. (Eds.). Cardiac care : an introduction for healthcare professionals. Chichester : John Wiley & Sons.

Ghanem A., et al. (2010). Risk and Rate of Cerebral Embolism After Transfemoral Aortic Valve Implantation. Journal of the American College of Cardiology.55(14) : 1427-1432.

Guru V., et al. (2005). The Identification and Development of Canadian Coronary Artery Bypass Graft Surgery Quality Indicators. The Journal of Thoracic and Cardiovascular Surgery. 130(5) : 1257.e1-1257. e11.

Iyer, P.W. et al. (1986). Nursing Process and Nursing Diagnosis. Pliladephia : W.B.Saunders.

Kinney, M.R., & Craft, M.S. (1992). The person undergoing cardiac surgery In C.E. Guzzetta, & B.M.Dessy (Eds.), Cardiovascular nursing holistic practice. U.S.A. : Mosby.

North American Nursing Diagnosis Association. (1996). Nursing Diagnosis : Definitions and classification. 1995 - 1996. Pliladephia : NANDA.

Paul M.H.J. Roekaerts and John H. Heijmans (2012). Early Postoperative Care After Cardiac Surgery. In Cuneyt Narin (Ed.) Perioperative Considerations in Cardiac Surgery. Netherllands : In Tech.

Seaback, W.W. (2013). Nursing process : concepts and application. 3rd ed. Clifton Park, NY : Delmar, Cengage Learning.

Smeltzer, S.C., Bare, B.G., Hinkle, J.L., & Cheever, K.H. (2008). Brunner & Suddarth's textbook of medical - surgical nursing. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-06-30