การกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาชาติเพื่อการดำเนินการ ที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ (KPIs) การดำเนินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) ไปสู่การปฏิบัติ และเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) ไปสู่การปฏิบัติ ประชากรเป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการเกี่ยวกับกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ โดยค่าความสอดคล้องและความตรงกับสิ่งที่ต้องการวัดค่า IOC และค่า CVI เท่ากับ 0.93 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ เท่ากับ 0.924 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ข้อค้นพบจากการวิจัย พบว่า การกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ มีความถูกต้องและครอบคลุม มีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฏีของการวิจัย ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยคริสเตียนโดยสามารถจำแนกออกเป็น 6 ด้าน 47 ตัวชี้วัด ดังนี้
- ตัวชี้วัดด้านการนำองค์กร กำหนดตัวชี้วัด ได้จำนวน 6 ตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัดด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ กำหนดตัวชี้วัด ได้จำนวน 5 ตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัดด้านการกำหนดเป้าหมายลูกค้า กำหนดตัวชี้วัด ได้จำนวน 5 ตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัดด้านการวัด วิเคราะห์ การจัดการความรู้ กำหนดตัวชี้วัด ได้จำนวน 7 ตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัดด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน กำหนดตัวชี้วัด ได้จำนวน 6 ตัวชี้วัด
- ตัวชี้วัดด้านการจัดกระบวนการกำหนดตัวชี้วัด ได้จำนวน 14 ตัวชี้วัด
References
ช่วงโชติ พันธุเวช. (2547). การจัดการคุณภาพ. กรุงเทพฯ : เพชรเกษมการพิมพ์.
พรชุลี อาชวอำรุง. (2546). การบริหารสถาบันอุดมศึกษา : หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อนักวางแผนและผู้จัดการสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ กาญจนนิยต. (2548). ความเป็นผู้นำและการปฏิรูปการศึกษาด้านคุณภาพระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย : เกณฑ์บัลดริดวัดอะไรบ้าง. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
พัฒนชัย กุลสิริสวัสดิ์. (2551). การเตรียมองค์กรเพื่อรับการตรวจประเมินตามแนวทาง TQA.กรุงเทพฯ : บริษัท พงษ์วรินการพิมพ์ จำกัด.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2555). คู่มือตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินคุณภาพภายใน สำหรับสถาบันสำนัก ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2555.
มานิต บุญประเสริฐ และคณะ (2546). รูปแบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรงศึกษาธิการ.
วัฒนา พัฒนพงศ์. (2547). BSC และ KPI เพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วีเอส.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์และคณะ. (2548). การวางแผนกลยุทธ์ ศิลปะกำหนดแผนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : บริษัท อินโนกราฟฟิกส์ จำกัด กรุงเทพฯ.
วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2555). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2555.
วิทวัส สัตยารักษ์. (2552). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชน. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีระพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล. (2546). TQM Living Handbook ภาค 4 : การใส่ใจลูกค้าและตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัท บีพีอาร์ แอนด์ทีคิวเอ็ม คอนซัลแทนท์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย อาชีวระงับโรค. (2547). PDCA : แก้ปัญหาและปรับปรุงงานเพื่อความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีโน ดีไซน์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552และแนวทางการปฏิบัติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2557, https://www.mua.go.th/users/tqf-hed/.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ 2552-2553. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2557). เปิดรั้วอุดมศึกษา : เอกสารเผยแพร่ในงานมหกรรมอุดมศึกษาไทย 2557 เมื่อวันที่ 23-24 เมษายน 2557. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติมพฤศจิกายน 2554). กรุงเทพฯ : บริษัท ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2555). เส้นทางสู่รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2555. กรุงเทพฯ : บริษัท ศิวาโกลด์ มิเดีย จำกัด.
สำนักเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2549). เรียนจากแชมป์เพื่อเป็นแชมป์สำหรับองค์กรการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด.
สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. (2555). บริหารโรงพยาบาลสู่ความเป็นเลิศด้วย TQA.กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
สุภาวดี นพรุจจินดา. (2553). องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.