การนำความรู้จากหลักสูตรพัฒนาศักยภาพสมอง ไปใช้กับการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพและชีวิตประจำวันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม
บทคัดย่อ
การวิจัยศึกษาการนำความรู้จากหลักสูตรพัฒนาศักยภาพสมองไปใช้กับการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ และชีวิตประจำวันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำความรู้จากการเรียนวิชาพัฒนาศักยภาพสมองไปใช้ในการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ และชีวิตประจำวันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในจังหวัดนครปฐมโดยจะประเมินการนำความรู้จากหลักสูตรพัฒนาศักยภาพสมองไปใช้กับการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ และชีวิตประจำวันของนักศึกษาภายหลังได้เรียนรู้รายวิชาพัฒนาศักยภาพสมอง พบว่า นักศึกษาที่เรียนรายวิชาพัฒนาศักยภาพสมองที่สังกัดสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรภาษาไทย สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ สาขาวิชากายภาพบำบัด สาขาวิชาแอนิเมชันและมัลติมีเดีย มีการนำความรู้จากการเรียนรายวิชาพัฒนาศักยภาพสมองไปใช้ในระดับมาก ทั้งในเรื่องของการนำเทคนิคการจำข้อมูลของหลักสูตรไปใช้กับการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ และชีวิตประจำวัน และการประยุกต์เทคนิคการจำข้อมูลของหลักสูตรกับการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ และชีวิตประจำวันไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (α= 0.05) โดยนักศึกษามีการนำความรู้จากการเรียนรายวิชาพัฒนาศักยภาพสมองไปใช้ในการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ และชีวิตประจำวัน ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.06 ซึ่งค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (F=0.652, P=0.626) และนักศึกษาได้นำเทคนิคการจำข้อมูลของหลักสูตรไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพหรือในชีวิตประจำวัน ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 ซึ่งค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (F=1.488, P=0.206)
References
เกศสุดา รัชฎาวิศิษฐกุล. (2547). การพัฒนาการเรียนการสอนที่สนองต่อรูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัทแดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.
ณภัทริน เภาพาน. (2553). การศึกษาผลของการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำจากภาพประกอบ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนธีรภาดาเทคโนโลยี จังหวัดร้อยเอ็ด. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ทิศนา แขมมณี. (2550) ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภเนตร ธรรมบวร. (2545). การประเมินผลการพัฒนาการเด็กประถมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บริษัทยัวร์ส ไอ คิว. (2551). คู่มือประกอบการบรรยายหลักสูตรพัฒนาศักยภาพสมอง. กรุมเทพฯ : บริษัทยัวร์ส ไอ คิว.
ปีย์ ศรีวงษ์. (2553). การติดตามผลหลักสูตรฝึกอบรมนักพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิทวัฒน์ ขัติยะมาน และฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2549). “การปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายทางการศึกษาของบลูม.” วารสารปาริชาติ. 18 (2) : 34-42.
เสาวนีย์ ภิญญรัตน์. (2549) การพัฒนาแบบฝึกกิจกรรมส่งเสริมความจำของเด็กปฐมวัย. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
อักษร สวัสดี. (2542). ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญา พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Flavell J H, Miller P H, & Miller S A. (2002). Cognitive development. (4 ed.). Upper Saddle River, NJ : Prentice Hall.
Fosnot, C. T. (1996). Constructivism : A psychological theory of learning. In C. T. Fosnot (Ed.), Constructivism : Theory, perspectives, and practice. New York : Teachers College Press.
Galotti, Kathleen M. (2008). Cognitive psychology in and out of the laboratory 4thed. Belmont, CA : Thomson Wadsworth.
Jonassen, D.H. (1992). Evaluating constructivist learning In T.M. Duffy (Ed.), constructivism and the technology of instruction. New Jersey : Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Krathwohl, David R. (2002). A revision of bloom's taxonomy : An overview. [Online]. Retrieved September, 2004, from https://www.findaricles.com/p/articles/mi_m0NQM/is_4_41/ai_94872707.
Sekaran, U. (2003). Research methods for business. A skill building approach.New York : Wiley.