ผลลัพธ์ของโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดอวัยวะเพศชายในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • กันต์สินี ประสพสุวรรณ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ชนิดศึกษากลุ่มทดลองแบบกลุ่มเดียว (One Group pretest-posttest design)เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดอวัยวะเพศชายในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดราชบุรี โดยใช้กรอบแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ฉีดสารแปลกปลอมเข้าอวัยวะเพศชาย ที่มารับการผ่าตัด จำนวน 25 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนก่อนผ่าตัดทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรก 1 วันก่อนการผ่าตัด ครั้งที่ 2 ภายหลังผ่าตัด  6 ชั่วโมง และครั้งที่ 3 หลังผ่าตัด 3 วัน ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ป่วยผ่าตัดอวัยวะเพศชายและแบบประเมินความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดอวัยวะเพศชายระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพรรณนาและสถิติ paired t-test

          ผลการวิจัยพบว่าหลังการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนฯ กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p .01 (x̄= 9.44, S.D. = .35)และค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัดอวัยวะเพศชายหลังการใช้โปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p .01 (x̄= 15, S.D. = 0)  จากผลการวิจัยครั้งนี้พยาบาลควรนำโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดอวัยวะเพศชายที่พัฒนาขึ้น ไปใช้จริงทางคลินิกเพื่อให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดอวัยวะเพศชายรับรู้สมรรถนะแห่งตนมากยิ่งขึ้น และมีความรู้ในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็วขึ้น

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

คณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2547). สรีรวิทยา. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์แอนเจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

ช่อลดา พันธ์เสนา. (2542).การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. ในตำราการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 (ศัลยศาสตร์). ช่อลดา พันธ์เสนา. บรรณาธิการ. สงขลา : ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนิต วัชรพุกก์. (2544). Preoperative and Postoperative care. ในชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ และธนิต วัชรพุกก์ (บรรณาธิการ), ตำราศัลยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทา เล็กสวัสดิ์. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บรรจบ อินทรสุขศรี. (2542). การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. ในไพบูลย์ สุทธิวรรณ และบรรจบ อินทรสุขศรี (บรรณาธิการ), ตำราศัลยศาสตร์สำหรับนักศึกษาแพทย์.กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพเทพมหานคร: บริษัท ยู แอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.

พงษ์ศักดิ์ สารเจริญ. (2551). "การผ่าตัดแก้ไขการฉีดวัตถุแปลกปลอมเข้าองคชาตด้วย วิธีฝังลงในถุงอัณฑะ และแยกออกจากกันในขั้นตอนเดียว กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก". พุทธชินราชเวชสาร. 26(2): 157-167.

สันติ สุขหวาน. (2547). "การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยฉีดน้ำมันมะกอกที่องคชาต". วารสารแพทย์เขต, 24(2) :6-9.

สิริมนต์ ดำริห์. (2553). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดฉุกเฉินต่อรับรู้สมรรถนะของตนเองและคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องแบบฉุกเฉิน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy : The exercise of control. New York : W. H. Freeman.

Callaghan, D. (2005). "Healthy behaviors, self-efficacy, self-care, and basic conditioning factors in older adults." Journal of Community Health Nursing. 22(3): 169-178.

Chobarunsitti. C. (2007). Effect of self-efficacy enhancement on patient'post abdominal surgery recovery at Phaphutabath hospital Sareburi. Unpublished master's thesis, Mahidol University, Bangkok, Thailand.

Lee T, Choi H.R. Lee Y.T. et al. (1994). "Paraffinoma of the Penis." Yonsei Medical Journal. 35(3) : 344-348.

Kirkendall, L.A. (1960). "Sex education." In discussion guide. 1 (3) : 1-11.

Oetker-Black, et al. (1992). "Preoperative self-Efficacy and postoperative behaviors." Applied Nursing Reasearch. (5): 134-139.

Oetker-Black, S.L.. (1996). "Generalizability of the Preoperative self-Efficacy scale." Clinical Methods. 9(1) : 40-44.

Oetker-Black, S.L., Jone, S., Estok, P., Ryan, M., Gale, N., & Parker, C. (2003). "Preoperative teaching and hysterectomy outcomes." AORN Journal. (77): 1215-1231.

Oetker-Black, S L., Kauth, C. (1994). "Evaluation of a Self-Efficacy scale for preoperative patients.". AORN Journal. 60(1): 43-50.

Oetker-Black, S L., Kauth, C. (1995). "Evaluation a revised self-Efficacy scale of preoperative Patients" . AORN Journal. 62(2): 244-250.

Oetker-Black, S L.,Teeters, D.L., Cukr, P L., & Rininger, S A. (1997). "Self-Efficacy enhanced Preoperative instruction." AORN Journal. 66(5) : 854-864.

Wang, L. Y., Chang, P. C., Shih, F. J., Sun, C. C., & Jeng, C. (2006). "Self-care behavior, hope, and social support in Taiwanese patients awaiting heart transplantation."Journal of Psychosomatic Research. 61(4) : 485-491.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30