การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบเธรด (Threaded) เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเอกชน

ผู้แต่ง

  • ชญาชล สิริอัครบัญชา มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบเธรด (Threaded) เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเอกชน 2) เพื่อประเมินทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ 2 สัปดาห์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษาพยาบาลศาสตร์จำนวน 30 คน

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 10 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1. ศึกษาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดนวัตกรรมทางการศึกษาที่จะทำการวิจัยและพัฒนา ขั้นตอนที่ 2. พัฒนารูปแบบขั้นต้น (ร่าง) รูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 3. การหาคุณภาพร่างรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 4. ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ครั้งที่ 1 ทดลองแบบเดี่ยวขั้นตอนที่ 5. ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนครั้งที่ 1 ขั้นตอนที่ 6. ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนครั้งที่ 2 ทดลองแบบกลุ่ม ขั้นตอนที่ 7. ปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนครั้งที่ 2 ขั้นตอนที่ 8. ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนครั้งที่ 3 ทดลองภาคสนามขั้นตอนที่ 9. สรุปผลและอภิปรายผล ขั้นตอนที่ 10. รับรองรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิสถิติ ในการวิจัยใช้ t-test แบบ dependent group

           ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบเธรดเพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเอกชน มีองค์ประกอบทั้งสิ้น 4 องค์ประกอบหลัก 15 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การวิเคราะห์และออกแบบ มี 8 ขั้นตอนย่อย องค์ประกอบที่ 2 การดำเนินการสอน มี 4 ขั้นตอนย่อย องค์ประกอบที่ 3 ผลลัพธ์ และองค์ประกอบที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ มี 3 ขั้นตอนย่อย 2) ผลการประเมินทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ สูงกว่าก่อนการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนฯ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 3) ผลการประเมินความคงทนในการเรียนพบว่าคะแนนประเมินทักษะหลังเรียนแตกต่างจากคะแนนประเมินทักษะหลังเรียน 2 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบเธรดอยู่ในระดับมากที่สุดคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.69 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ว่าการจัดการเรียนการสอนแบบเธรดมีคุณค่าและความสำคัญสามารถไปจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ ที่วิชาชีพทางการพยาบาลต้องการ เช่น ทักษะการวิจัย ทักษะการคิดเชิงระบบ เป็นต้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2556). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๖๕. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2556, จาก https://www.nno.moph.go.th/downloads/policy/ict_master_plan_2556_2565.pdf.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2546).การคิดเชิงบูรณาการ Intergrative thinking. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย

จิราภรณ์ หนูสวัสดิ์. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ผ่านเว็บตามแนวทฤษฎีการขยายความคิดเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และการถ่ายโยง การเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ฉลอง ทับศรี. (2539). จิตวิทยาพุทธิปัญญาเพื่อการออกแบบการเรียนการสอน.ชลบุรี : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพเนตร ขรรค์ทัพไทย. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ปริญญาดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

พีระนันท์ จีรพยิ่งมงคล.(2551). "แบบจำลองการเรียนการสอนแบบบูรณาการ". วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 19(1) : 93-101.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล.(2545). วิธีสอนทักษะปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สือเสริม.

วนิดา เจียระนัย. (2550). "การบูรณาการรายวิชาในหลักสูตรการอุดมศึกษา".วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 8(3) : 8-17.

สำลี รักสุทธี ปราณี วรรณปะเก สนั่น แสงโทโพธิ์ พิกุล พรรณศิลป์ และอภิสิทธิ์ กิจเจริญศิลป์. (2544). เทคนิควิธีการพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : พัฒนาการศึกษา.

สุพักตร์ พิบูลย์.(2549). การวิจัยและพัฒนาสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา. นนทบุรี : จตุพรดีไซด์.

สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2547). การพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. ขอนแก่น : โครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนทั่วไป คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริชัย นัยกองศิริ.(2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโดยบูรณาการสอนในสถานประกอบการ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

หทัยกาญจน์ สำรวจหันต์. (2549). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ เรื่องถลกบาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รูปแบบ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Barry Ipa, Steve Jones and Gabriel Jacobs. (2007). Retention and application of information technology skills among nursing and midwifery students.Innovations in Education and Teaching International. 44(2): 199-210.

Borg, Walter R. & Merigith, D. Gall.(1979). Educational Research: An Introduction. 5 ed., New York: Longman, Inc.

Diane Nguyen. (2011). A Survey of Nursing Faculty Needs forTraining in Use of New Technologies.Journal of Nursing Education. 50(4).

Dick, W., Carey, L., & Carey, J. O. (2001). The Systematic Design of Instruction. (5 ed.). New York: Addison-Wesley, Longman.

Eley, R., Fallon, T., Soar, J., Buikstra, E., & Hegney,D. (2008). "The status of training and educationin information and computer technology ofAustralian nurses: A national survey". Journal of Clinincal Nursing, 17(20), 2758-2767.

Fogarty, Robin. (1991). The Mindful School : How to Integrate the Curricula.Illinois: IRI/SkyLight Training and Publishing.

Gagn , R. M., Briggs, L. J., & Wager, W. W. (1992). Principles of instructional design.Fort Worth, TX: Harcourt, Brace Jovanovich College Publishers.

Gerlach, V. S., & Ely, D. P. (1980). Teaching & media: A systematic approach. 2 ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Glasser, W. (1998). Choice theory in the classroom. New York, NY:Harper Collins.

Kemp, Morrison, & Ross (1994), Designing effective instruction. New York: Merrill, Macmillan collage.

Klausmeier, H. J. & Ripple, R. E. (1971). Learning and human abilities. New York: Harper & Row.

Knirk & Gustafson (1986), Instructional Design model. Retrieved June 20, 2015, from https://www.youtube.com/watch?v=3B33rirBd_g

Levett-Jones, T., Kenny, R., Bourgeois, S., Hazelton, M., Kable, A., & Van Der Riett, P. (2009). Exploring the information and communication technology competence and confidence of nursing students. Nurse Education Today, 29(6): 612-616.

Murphy and Timmius (2008), "Experience based learning (EBL): Exploring professional teaching through critical reflection and reflexivity". Nurse Education Practice. 9(1): 72-80.

Schnellert, L., Butler. D., & Higginson, S. (2007). "Co-constructors of data, co-constructors of meaning: Teacher professional development in an age of accountability". Teaching and Teacher Education, 24(3): 725-750.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31