ผลการใช้รูปแบบการรายงานส่งเวรที่มุ่งผลลัพธ์ทางการพยาบาลต่อ ความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการรายงานส่งเวรที่มุ่งผลลัพธ์ทางการพยาบาลต่อความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลภาคเอกชน จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 10 คน กลุ่มทดลองใช้รูปแบบการรายงานส่งเวรที่มุ่งผลลัพธ์ทางการพยาบาล 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมมีการปฏิบัติรายงานส่งเวรตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Mann-Whitney U-Test และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มเดียวกันด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความยึดมั่นผูกพันวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพเท่ากับ 4.9 (S.D.=0.044) สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งโดยรวม และรายด้าน ด้านการแสดงความพยายามต่อความสำเร็จของวิชาชีพ และด้านการรักษาจริยธรรมของวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความยึดมั่นผูกพันวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพเท่ากับ 3.73 (S.D.= 0.598) ไม่สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าการวิจัยนี้สนับสนุนรูปแบบการรายงานส่งเวรที่มุ่งผลลัพธ์ทางการพยาบาลสามารถส่งเสริมการรับรู้ความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพได้ ดังนั้นผู้บริหารทางการพยาบาลควรสนับสนุนให้นำรูปแบบนี้ไปใช้ในการส่งเวรต่อไป
References
ปรารถนา วันดี. (2556). ผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่มุ่งการพัฒนาคนของหัวหน้าหอผู้ป่วยโดยบูรณาการแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพันธะผูกพันกับงานวิชาชีพการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ.สาระนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.
ปริญดา เนตรหาญ. (2557). "ค่านิยมในงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพสองรุ่นอายุในโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร". วารสารพยาบาลทหารบก. 15(2): 320-340.
ปัญจมาส ทวิชาตานนท์ และนําชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2556). "ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันในงานของเจ้าหน้าที่องค์กรไม่แสวงหาผลกําไรที่ปฏิบัติงานด้านเอดส์".วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยอีสเทิร์น. 10(1): 70-76.
รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ. (2556). "การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์". วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 24(2): 94-108.
รัตนา จารุวรรโณ และถนิมพร พงศานานุรักษ์.(2557)."ผลของการสอนการรับส่งเวรโดยใช้เทคนิค SBAR ต่อความรู้ทัศนคติ และทักษะในการรับส่งเวรของนักศึกษาพยาบาล". วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3): 390-397.
สมจิตร ชัยรัตน์. (2550). "ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจริยธรรมต่อจริยธรรมและพฤติกรรมการบริการของพยาบาล โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก". วารสารวิชาการสาธารณสุข. 16(3): 102-111.
สมหญิง ลมูลพักตร์. (2558). "ปัจจัยเชิงเหตุพหุระดับความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพพยาบาล ผลการปฏิบัติงานและความตั้งใจในการออกจากวิชาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานคร". วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 21(2): 78-100.
อรพินทร์ ชูชม. (2557). "การวิเคราะห์โครงสร้างความยึดมั่นผูกพันในงาน". วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 11(2): 75-79.
Athwal, P., Fiedds, W., & Wagnell, E. (2009)."Standardization of change-of-shift report". Journal of Nursing Care Quality. 24(2): 143-147.
Battistelli, A., Galletta, M., Portoghese, I., &Vandenberghe, C. (2013). "Mindsets of commitment and motivation: Interrelationships and contribution to work outcomes". The Journal of Psychology. 147(2): 17-48.
Benligiray, S., & Sonmez, H. (2013). "Determination of relationships of nurses professional commitment to organizational work and family commitment by structural equation model". Anadolu University Journal of Social Sciences. 12(3): 27-39.
Burns, N., & Grove, S. K. (2005).The Practice of Nursing Research Conduct, Critique, and Utilization. 5 ed.Philadelphia: Elsevier saunders.
Carroll, J. S., Williams, M., & Gallivan, T. M. (2012). "The ins and outs of change of shift handoffs between nurses: A communication challenge".BMJ Quality and Safety. 21(7): 586-593.
Chang, H., Shyu, Y., Wong, M.,Friesner, D., Chu, T., & Teng, C. (2015). "Which aspects of professional commitment can effectively retain nurses in the nursing profession?". Journal of Nursing Scholaship. 47(5): 468-475.
Davis-Kirsch, S. (2011). "Using continuous process improvement methodology to standarsize nursing handoff communication".Journal of prediatric nursing.2 7(2): 168-173.
Gage, W. (2013). "Evaluating handover practice in an acute NHS trust". Nursing Standard. 27(48): 43-50.
Gould, D., & Fontenla, M. (2013)."Commmitment to nursing: results of a qualitative interview study".Journal of Nursing Management. 14(1): 203-221.
Jafaragaee, F., Mehrdad, N., & Parvizy, S. (2014). "Influencing factors on professional commitment in Iranian nurses: A qualitative study". Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research. 19(3): 301-308.
Jafaragaee, F., Parvizy, S., Mehrdad, N., & Rafii, F. (2012)."Concept analysis of professional commitment in Iranian nurses".Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research. 17(7): 472-479.
Kanter, R. (1968). "Commitment and social organization: A study of commitment mechanism in utopian communities". American Sociological Review. 33(4): 499-517.
Lasater, K.(2007).Clinical judgment development: Using simulation to create an assessment rubric. Journal of Nursing Education. 46(11): 496-503.
Lu, K., Chang, L., & Wu, H. (2007). "Relationships between professional commitment job satisfaction and work stress in public health nurses in Taiwan".Journal of Professional Nursing. 23(2): 110-116.
Sand-Jecklin, K., & Sherman, J. (2014)."The Impact of Implementing Bedside Report to Transition Patients". International Journal of Caring Sciences. 7(3): 823-833.
Staggers, N., & Jennings, B. M. (2009)." The content and context of change of shift report on medical and surgery unit". The Journal of Nursing Administration.39(9): 393-398.
Thompson, C., & Dowding, D. (2009). Essential decision making and clinical judgment for nurses.Chaina: Elsevier.
Woolf, S. H., Chan, E. C., Harris, R., Sheridan, S. L., Braddock, C. H., Kaplan, R. M., Krist, A., & O'Connor, A. M. (2005). "Promoting informed choice: transforming health care to dispense knowledge for decision making". Annals of Internal Medicine Journal. 143(4): 293-300.
Wywialowski, E. F.(2004). Managing client care. 3 ed. Philadelphia: Elsevier.