การสร้างคุณค่าของสื่อพื้นบ้านเพื่อการสื่อสารองค์กรตามหลัก AIDA

ผู้แต่ง

  • เมธาวี จำเนียร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

          แนวทางหนึ่งของสื่อสารองค์กร คือ การใช้สื่อพื้นบ้านที่มีคุณค่าต่อสังคมและมีประโยชน์ต่อการสื่อสารองค์กร เนื่องจากสื่อพื้นบ้านถือเป็นสื่อบันเทิงที่สอดแทรกความรู้ ความเข้าใจอันดีกับชุมชนได้อย่างกลมกลืน  ซึ่งสื่อพื้นบ้านในที่นี้ไม่ใช่หมายความเฉพาะสื่อการแสดงเท่านั้น ยังมีสื่อพื้นบ้านประเภทอื่นๆ มีมากมาย ซึ่งสามารถเร้าความสนใจ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนได้เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการสื่อสารองค์กรด้วยสื่อพื้นบ้าน พบเห็นได้น้อย โดยเฉพาะในองค์กรธุรกิจ ฉะนั้น องค์กรจะต้องนำสื่อพื้นบ้านมาประยุกต์กับหลักการโฆษณาและสื่อสารการตลาด หรือ AIDA (Attention, Interest, Desire และ Action) ที่นำสื่อพื้นบ้านมาทำให้ผู้รับสาร   หรือกลุ่มเป้าหมายเกิดความตั้งใจ ความสนใจ ความปรารถนา และการตัดสินใจซื้ออย่างไรก็ตาม การสื่อสารโดยใช้สื่อพื้นบ้านต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของชุมชน ความสนใจ และความต้องการของชุมชนเสียก่อน เพื่อนำไปวางแผนการสื่อสารโดยใช้สื่อพื้นบ้านให้ตรงกับความสนใจของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน ซึ่งสื่อพื้นบ้านที่ใช้นั้นจะต้องมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องตามความเหมาะสมด้วย และภายหลังการสื่อสารแต่ละครั้ง ควรมีการปรับปรุงวิธีการสื่อสารให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สามารถสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างองค์กรและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2550). ลูกหลานขานรับ งานสื่อพื้นบ้านสร้างสุข เอกสารประกอบการประชุมระดมสมอง เพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สื่อศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อการเรียนรู้สุขภาวะ.

กาญจนา แก้วเทพ (บรรณาธิการ). (2548). สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดซีโน ดีไซน์.

กาญจนา แก้วเทพ, สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ และทิพย์พธู กฤษสุนทร. (2554). สื่อพื้นบ้านศึกษาในสายตานิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

จารียา อรรถอนุชิต. (2554). "แง่งามของสื่อพื้นบ้าน...คุณค่าที่ยังคงอยู่คู่สังคมภาคใต้". วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 6(2) : 6-7.

จินตวีร์ เกษมสุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

จีรวรรณ ศรีหนูสุด และวนิษา ติคำ. (2558). "การพึ่งตนเองของศิลปะการแสดงโนรา-หนังลุง: ศักยภาพหนึ่งในการจัดการตนเองของชุมชน". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 7(3) :170-171.

ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล.(2554). สื่อพื้นบ้านกับการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนศาลายา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ วันที่ 31 สิงหาคม 2559, จาก https://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/529/1/098-54.pdf.

นุจรีย์ มันตาวิวรรณ์. (2551). กระบวนการตอบสนองไอดาโมเดลของผู้บริโภคหญิงต่อการรีแบรนดิ้งของน้ำยาอุทัยทิพย์ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ.

นุชจรินทร์ ชอบดำรงธรรม. (2553). อิทธิพลของสื่อโฆษณาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2558). ปั้นแบรนด์ฮิต ให้ติดตลาด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มติชน ปากเกร็ด.

เมธาวี แก้วสนิท และกรกฎ จำเนียร. (2558). แนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอนุรักษ์การรำโทน- นกพิทิดของเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานวิจัย.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2554). การวางแผนและการประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

วราลี บุญธรรม และกิตติมา ชาญวิชัย. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสืบสานรำวงย้อนยุค กรณีศึกษาคณะรำวงย้อนยุค เทศบาลนครพิษณุโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2559, จาก https://www.bec.nu.ac.th/bec-web/graduate/Article%5C2556%5Ccommunication/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%20%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1.pdf.

สุรพล พยอมแย้ม. (2556). จิตวิทยาในงานชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ส เจริญการพิมพ์ จำกัด.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Communication.org. (n.d.). AIDA model. [Online]. Retrieved August 31, 2016, from https://communicationtheory.org/aida-model/.

Rawal, P. (2013). "AIDA Marketing Communication Model: Stimulating a purchase decision in the minds of the consumers through a linear progression of steps". IRC's International Journal of Multidisciplinary Research in Social & Management Sciences. 1(1):37-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-31