การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาล

ผู้แต่ง

  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

คุณธรรม, จริยธรรม, ธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

          จากการถอดบทเรียนโครงการการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล พบว่าผลสำเร็จของโครงการวัดจากผู้เข้าร่วมสัมมนาไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีความรู้ความเข้าใจ ผลการประเมินจากการตอบแบบสอบถามเปรียบเทียบ ก่อนการสัมมนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 และหลังการสัมมนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ทั้งนี้แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยการแยกระบบทุนออกจากการเมือง การป้องกันปราบปรามการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อน การสร้างระบบควบคุมตรวจสอบโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาทางการเมืองที่สอดคล้องวิถีชีวิต การพัฒนากลไกคัดสรรบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่ง การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม การสร้างความตระหนักและขยายผล และแนวทางการส่งเสริม และพัฒนาธรรมาภิบาลทางการเมืองและการบริหาร โดยการสร้างระบบตรวจสอบถ่วงดุลที่มีประสิทธิภาพการสร้างระบบประเมินความรับผิดชอบทางการเมือง การพัฒนาระบบการบริหารจัดการปกครองตามหลังนิติธรรม การสร้างความชอบธรรม ความเสมอภาคทางการเมือง การพัฒนาระบบการเมืองการบริหารเพื่อประโยชน์สาธารณะ การพัฒนาระบบความโปร่งใสทางการเมืองการบริหาร การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมาภิบาล และการพัฒนาระบบประเมินผลการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ

References

สภาพัฒนาการเมือง. (2551). พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา.

สภาพัฒนาการเมือง. (2551). แผนพัฒนาการเมือง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา.

สภาพัฒนาการเมือง. (2559). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ. บริษัท เอ พี กราฟิคดีไซน์ และการพิมพ์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30