ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการประกาศพระกิตติคุณ ในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จังหวัดนครปฐม
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการประกาศพระกิตติคุณในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จังหวัดนครปฐม โดยมีประชากรเป็นบุคลากรคริสเตียนโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จังหวัดนครปฐม 3 โรงเรียน จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความสอดคล้องจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.66-1.00 นำเครื่องมือไปวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.91 และวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ข้อค้นพบจากการวิจัย พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการประกาศพระกิตติคุณในโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จังหวัดนครปฐม ได้แก่ 1) ด้านภาวะผู้นำฝ่ายวิญญาณของคริสเตียน 2) ด้านพระคัมภีร์เป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต และ 3) ด้านความประทับใจในชุมชนคริสเตียน ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำโดยมีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (C) ระหว่าง 0.30-0.50 ทั้งนี้กลุ่มประชากรมีความเห็นว่าภาวะผู้นำฝ่ายจิตวิญญาณ และการเปลี่ยนแปลงชีวิตตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์เป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการประกาศพระกิตติคุณของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยเสนอแนะว่าโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จังหวัดนครปฐม ควรส่งเสริมให้บุคลากรคริสเตียนทุกคนได้สำแดงออกถึงการมีชีวิตคริสเตียนที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงตามอย่างพระเยซูคริสต์อย่างเป็นรูปธรรม ดังพระธรรมยากอบบทที่ 2 ข้อ 26 กล่าวว่า "กายที่ปราศจากจิตวิญญาณตายแล้วฉันใด ความเชื่อที่ปราศจาก การประพฤติก็ตายแล้วฉันนั้น"
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. ( 2551). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร.
กีรติ บุญเจือ. (2013). Proceedings of international conference on "Cross-cultural collaboration in theology for sustainable development''.Bangkok :Bangkok Institute of Theology, Christian University of Thailand.
คริสตจักรภาคที่ 11. (1996). พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงนำพระกิตติคุณสู่นครปฐม. กรุงเทพฯ: เจริญรัตน์การพิมพ์.
พระครูปลัดธรรมวิสุทธิ์ ศรีแก่นจันทร์. (2555) ปัจจัยที่มีผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในยุคโลกาภิวัฒน์: กรณีศึกษาพระสงฆ์ในจังหวัดปราจีนบุรี. งานนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิชิต ฤทธิ์จำรูญ. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2549). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ Research Methodology in Behavioral and Social Science.พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจิตรา อัครพิชญาธร. (2013). Proceedings of international conference on "Cross-cultural collaboration in theology for sustainable development''. Bangkok: Bangkok Institute of Theology, Christian University of Thailand.
สภาคริสตจักรในประเทศไทย. (2014). นโยบายและยุทธศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย คริสตศักราช 2015-2018. กรุงเทพฯ : สภาคริสตจักรในประเทศไทย.
สภาคริสตจักรในประเทศไทย. (2515). แนะนำสภาคริสตจักรในประเทศไทย: เอกสารประกอบการประชุมพบปะคณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลและคณะกรรมการบริหารโรงเรียนสังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สภาคริสตจักรในประเทศไทย.
Best, J. W. (1997). Research in education. Englewood Cliffs, New Jersey.Prentice-Hell, lnc.
Hanks Jr, B. (2009) . A call to growth. International Evangelism Association. USA.
Hinkle, D.E, William ,W. and Stephen G. (1998). Applied statistics for the behavior sciences. 4ed. New York: Houghton Mifflin.
Hybels, B. and Mittelberg, M. (2004). สูตร (ไม่) ลับการประกาศ. แปลจากหนังสือเรื่อง Becoming a contagious Christian โดย สิธยา คูหาเสน์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ทีรันนัส.
Karsten, V. S. (2011). Christian theology in a country of temples. Academic Lecture McGilvary College Divinity, Payap University, Chiang Mai Thailand. [ออนไลน์]. Retrieved November 15 ,2014 from https://thaimissions.info/gsdl/collect/thaimiss/index/assoc/HASH01e4/95e10150.dir/doc.pdf.
Kempis, T.(1999). เลียนแบบพระคริสต์. แปลโดย Ursula Lowenthal. กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร.
Kim, J. S. (2007). คริสตจักรเซลล์: รูปแบบการก่อตั้งคริสตจักรในกรุงเทพฯ. แปลโดย ธนาภรณ์ ธรรมสุจริตกุล.กรุงเทพฯ: ศูนย์ทีรันนัส, จีพี.
Koyama, K. (2520). ศาสนศาสตร์ลูกทุ่ง. แปลโดย ไมตรี ชาติบุรุษ. กรุงเทพฯ: เจริญธรรม.
Nuntachai Mejudhon. (1997). Meekness: A new approach to Christian witness to the Thai people. (Doctoral dissertation, E.stanley Jones School of world mission and evangelism, Asbury Theological Seminary).
Oak, J. H. (2011). คริสเตียนก่อกำเนิดคริสตจักรแข็งแรง แปลโดยชุมแสง-วรรณา เรืองเจริญสุข. เชียงใหม่: พระคริสตธรรมเชียงใหม่.
O'conor, P. (2015). เพิ่มพูนผู้นำ ทวีคูณคริสตจักร แปลโดย นันทชัย มีชูธน. กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร.
Schwarz, C. A. (2002). การพัฒนาคริสตจักรอย่างธรรมชาติ แปลโดย สุจินดา สันติสุขถาวรจันทร์ และจาวาลา พักตร์พริ้ง อัครสวาท. กรุงเทพฯ: องค์การเพื่อการพัฒนาคริสตจักร.
Smith, S and Kai, Y. (2011). T4T ย้อนรอยปฏิวัติการสร้างสาวก. แปลโดย วรงค์ นิเวศน์รังสรรค์. กรุงเทพฯ: สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร.
Suragarn Tangsirisatian. (1999). Factors relevant to conversion among Thai university students: A comparative study of Christian and non-Christian ethnic Thai university students. Doctoral dissertation, Trinity Evangelical Divinity School, United State.
Swanson, H. R. (1995). ประวัติศาสตร์การอภิบาลคริสตจักร. ฝ่ายประวัติศาสตร์ สภาคริสตจักรในประเทศไทย: สภาคริสตจักรในประเทศไทย.
Terry, J. M. (2003). งานประกาศของคริสตจักร แปลจากเรื่อง Church evangelism : A constructivist perspective โดยพรรณี สุปรัชญาสกุล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ทีรันนัส, จีพี.
Tint, L. (1997). Contextualization of the gospel: an effective strategy for the evangelization of the Theravada Buddhists in Myanmar. Doctor of Philosophy, The Faculty of the Southern Baptist Theological Seminary. Louisville.
Wahlstrom, C. D. (2012). An analysis of factors affecting revitalization of evangelical covenant Churches. Doctoral of ministry dissertation, The Faculty of the Talbot School of Theology Biola University, California.
Wagner C. P. (1995). ยุทธวิธีเพื่อการเพิ่มพูนคริสตจักร แปลจากเรื่อง Strategies for Church Growth. กรุงเทพฯ: ศูนย์ทีรันนัส, จีพี.