รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • สุนทรัสส์ เพชรรักษ์คำด้วง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน ในศตวรรษที่ 21 และขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยการนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบบูรณาการกับแนวคิด การสร้างรูปแบบ การสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม (Focus groups) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การวางแผนกลยุทธ์ (2) การนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (3) การศึกษาเพื่อการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิด (4) การคิดสร้างสรรค์โครงงาน (5) การบูรณาการ (6) การวางแนวปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (7) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ (8) การควบคุมและการประเมินกลยุทธ์ 2) รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มีส่วนประกอบ 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ชื่อรูปแบบ ส่วนที่ 2 แนวคิดและหลักการบริหารเชิงกลยุทธ์ ส่วนที่ 3 องค์ประกอบ ที่เรียกว่า SPECIAL C Model จำนวน 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) S : Strategic planning (การวางแผนกลยุทธ์) (2) P : Plan into action (การนำแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ) (3) E : Education for learning design by thinking approach (การศึกษาเพื่อการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิด)    (4) C : Creative thinking project (การคิดสร้างสรรค์โครงงาน) (5) I : Integration (การบูรณาการ) (6) A: Approach orientation operating in knowledge learning (กำหนดแนวปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้) (7) L : Learning (การแลกเปลี่ยนเรียนรู้) (8) C : Control and evaluation (การควบคุมและการ ประเมินกลยุทธ์) และส่วนที่ 4 การนำรูปแบบไปใช้ในการบริหารเชิงกลยุทธ์ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านนโยบาย ผู้บริหารหน่วยงานต้นสังกัดควรนำรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ได้จากการวิจัยไปศึกษาและดำเนินการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ด้านการนำไปปฏิบัติ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรนำข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้โดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน และสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยมีการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร

References

กัญญาบุตร ล้อมสาย. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการคิดในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). การวิเคราะห์ตัวสถิติชั้นสูงด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2554). การคิดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 5. ซัคเซส มีเดีย.

________. (2556). การคิดเชิงสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

จินตนา บุญบงการ. (2544). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธีระดา ภิญโญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิซิ่ง.

ปริญญา พวงจันทร์ (2556). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในการทำโครงงาน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สำหรับโรงเรียนคู่พัฒนาไทย-อินโดนีเซีย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิศณี ไชยรักษณ์ และนดา ผลารักษ์ (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Style โดยใช้วิธีการสอนแบบการคิดเชิงบูรณาการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พสุ เดชะรินทร์ และชัยวัฒน์ หฤทัยพันธ์. (2553). การวางแผนและการกำหนดยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พสุ เดชะรินทร์ และคณะ. (2553). การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

พรศักดิ์ สุจริตรักษ์. (2551). ตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2558). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งปี 2559-2560. กรุงเทพฯ : พงษ์วรินการพิมพ์.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคง การพิมพ์.

สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2553). วิธีการจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพ : ภาพพิมพ์.

สุวิทย์ มูลคำ. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Atsushi oshio. (2012). An-all-or-nothing thinking turns into darkness : Relations between dichotomous thinking and personality disorders. The Japanese Phychological Association,Chubu University.

Bryson John M. (1995). Strategic for public and Nonprofit organizations : A guide to strengthening and sustaining organizational achievement revised edition. San Francisco : Jossey Bass Publishers.

Comrey, A.L., & Lee.H.B. (1992). A first course in factor analysis. 2 ed. Hillsdale, NJ : Lawrence Erlbaum Associa tes.

Dess, Gregory G. and Alex Miiler. (1993). Strategic management. Singapore : McGraw-Hill.

Henry, Kaiser, F. (1960). "The application of electronic computers to factor analysis”. Journal of Education and Psychological Measurement. 20(40) : 141-151.

Kaiser, G.Tabachnik; & Linda S. Fidell. (2001). Using multivariate statistics. New York : Harper & Row.

Oguz Serin. (2012). The critical thinking skills of teacher candidates turkish republic of northern cyprus sampling. European University, Lefke.

Scherer, Stephen C. (2003). "Reinforcement and punishment during programmed instruction.". Dissertation Abstracts International. 64(6) : 1974-A.

Tabachnik G.Barbara and Linda S.Fidell. (1983). Using multivariate statistics. New York : Harper & Row.

Wheelen, Thomas L.; and David J. Hunger. (2006). Strategic management and business policy. 8 ed. New jersey : Prentice - Hall. Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30