ปัจจัยจำแนกการเลือกใช้บริการหรือไม่เลือกใช้บริการสุขภาพ สถานพยาบาลเอกชนที่จะเปิดใหม่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อรรถไกร พันธุ์ภักดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ, เขตเศรษฐกิจพิเศษ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มผู้เลือกใช้หรือไม่เลือกใช้บริการสุขภาพในสถานพยาบาลเอกชนที่จะเปิดใหม่   ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และ 2) วิเคราะห์ และสร้างสมการจำแนกการเลือกใช้การและไม่เลือกใช้บริการด้านสุขภาพในสถานพยาบาลเอกชนที่จะเปิดใหม่ของผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ ในพื้นที่ใกล้เคียง เขตเศรษฐกิจการค้าชายแดน ณ จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายใต้กรอบทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล (Theory of Reasoned Action) ดำเนินการวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างตามกรอบคำถามประเด็น และวิเคราะห์และสร้างสมการปัจจัยจำแนกการเลือกใช้บริการหรือไม่เลือกใช้บริการด้านสุขภาพในสถานพยาบาลเอกชนที่จะเปิดใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาจำนวน 223 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยคุณภาพความเชื่อมั่นของเครื่องมืออยู่ในระดับดีมาก (Cronbach's alpha coefficient= 0.932) และใช้สถิติวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาปัจจัยจำแนกการเลือกใช้และไม่เลือกใช้บริการด้านสุขภาพในสถานพยาบาลเอกชนที่จะเปิดใหม่ของผู้ใช้บริการด้านสุขภาพ มี 2  ตัวแปร สามารถร่วมกันเป็นปัจจัยจำแนกการตัดสินใจที่จะเลือกใช้ หรือไม่เลือกใช้บริการในสถานพยาบาลเอกชนที่จะเปิดใหม่ในอนาคตได้ถูกต้อง ร้อยละ 70.1 ได้ผลการวิจัยเป็น

          โมเดลจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ ZD  = 0.752 แพทย์ในสถานพยาบาลเอกชน (จังหวัดใกล้เคียง) มีความน่าเชื่อถือ  0.566 สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เมื่อมาใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐ

          โมเดลจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบ คือ D=-1.152+0.898 แพทย์ในสถานพยาบาลเอกชน (จังหวัดใกล้เคียง) มีความน่าเชื่อถือ  0.536  สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เมื่อมาใช้บริการในสถานพยาบาลของรัฐ                                                              ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารการพยาบาลทั้งในสถานพยาบาลรัฐบาลและเอกชน สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพบริการให้ดีขึ้นโดยให้ความสำคัญในองค์ประกอบที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพของคนในพื้นที่

References

ดํารง แสงกวีเลิศ และนันธิกา ทังสุพานิช. (2545). "เขตเศรษฐกิจพิเศษ : แนวคิดใหม่ในการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ".วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 39(2) : 42-43.

ธนนพภา สุวดิษฐ์. (2554). "ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและสิ่งแวดล้อมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในเขตจังหวัดชลบุรี". วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 1(3) : 62-71.

สกาวรัตน์ ศิริมา. (2557). "เร่งโปรเจค อุโมงค์แม่สอด-ตาก หวังเปิดประตูสู่อาเซียน-ยุโรป". กรุงเทพธุรกิจ : 9.

สังคมประชาคมอาเซียน. (2558). ไทยกับการเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาค 2. ปทุมธานี: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2555). ข้อมูลการเตรียมความพร้อมในการยกระดับจุดผ่อนปรนการค้าภูดู่เป็นจุดผ่านแดนถาวร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559. จาก https://www.region4.prd.go.th.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). บอร์ด สปสช.คืนสิทธิให้ผู้ป่วยบัตรทองใช้สิทธิฉุกเฉินตามจำเป็นที่โรงพยาบาลอื่นได้แม้ไม่วิกฤติ แต่ยึดตามมาตรา 7. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559, จาก https://www.nhso.go.th/front/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MTU1MA==.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ และปารย์ทิพย์ ธนาภิคุปตานนท์. (2554). "ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการที่ได้รับกับความพึงพอใจและความภักดีของคนไข้ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร". KKU Res.J.10(2) : 160-172.

อัลฟา รีเสิร์ช. (2557). ทำเนียบสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน 2556-2557. กรุงเทพมหานคร : นนทบุรี.

อรรถไกร พันธุ์ภักดี. (2558). "รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะในการสร้างความรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลของรัฐเขตภาคเหนือของประเทศไทย". วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 21(1) : 71-85.

________. (2556). "รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถทางนวัตกรรมการจัดการความรู้ของสมาชิก เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลของรัฐ เขตภาคเหนือของประเทศไทย". วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร. 8(2) : 89-98.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behaviour. Prentice-Hall.

Douglas, T. J., & Ryman, J. A. (2003). "Understanding competitive advantage in the general hospital industry: Evaluating strategic competencies". Strategic management journal. 24(4) : 333-347.

McKinsey & Company. (2008). Enduring Ideas : The GE-McKinsey nine-box matrix. The McKinsey Quarterly, September. [Online]. Retrieved July 10, 2016, from https://www.mckinseyquarterly.com/Enduring_ideas_The_ GE-McKinsey_nine-box_matrix_2198.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). "Servqual". Journal of retailing. 64(1) : 12-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30