บริบททางสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดงเจนวิทยาคม อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ปิยพร สิงห์คำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดงเจนวิทยาคม อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา จำนวน 111 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square Test, Mann-Whitney U test, Kruskal-Wallis test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกอายุ 12 ปี สาเหตุสำคัญที่ทำให้เริ่มดื่มแอลกอฮอล์ คือ อยากลอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มมากที่สุด คือ เบียร์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเพื่อนในกลุ่ม (p-value < 0.0001) การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนสนิทกันมากขึ้น (p-value < 0.0001) การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ของร้านค้าในชุมชน (p-value<0.015) และระยะเวลาในการหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน (p-value<0.0001) โดยผลการศึกษาครั้งนี้นำไปสู่ความรู้   และความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อวางแผนป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มวัยรุ่นต่อไป

References

จินตนา คำแก่น. (2548). บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน บ้านดงขี้เหล็ก ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณรงค์ชัย หัตถี. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้น อำเภอสอยดาวจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทักษพล ธรรมรังสี. (2556). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย. นนทบุรี. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา : เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์ จำกัด.

นพพล วิทย์วรพงศ์ และกรรณจริยา สุขรุ่ง. (2559). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยประจำปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา : เดือนตุลา.

ปรียาพร ศุภษร. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. (2553). การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรก การดื่มแบบเมาหัวรานํ้าและผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข (สวรส.) และศูนย์วิจัยปัญหาสุรา(ศวส.).

พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2552). "ความเชื่อแบบแผนการดื่มและปัจจัยทำนาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทยในเขตภาคตะวันออก". วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. 5(2) : 28-39.

มัณฑนา ขอนดอก. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะแรกของนักเรียนชาย มัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอบางเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย อโนมา หมึกทอง และถนอมศรี อินทนนท์. (2551). การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.

วิจิตรา ปัญญาชัย นันทนา ศรีสมบัติ และทรงพิลาส วงศ์ใหญ่. (2550). สุรากับพฤติกรรมเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษาในชุมชนจังหวัดพะเยา. พะเยา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา.

สุรศักดิ์ ไชยสงค์ กัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล และทักษพล ธรรมรังสี. (2556). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2554. นนทบุรี : เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์ จำกัด.

โสภิตา เหมาะหมาย. (2557). "ศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์". วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 7(2) ; 273-283.

โสฬวรรณ อินทสิทธิ. (2554). กระบวนการและความสัมพันธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์กับการใช้ยาเสพติดในวัยรุ่น. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

อนงค์ ดิษฐ์สังข์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Erikson, E. H. (1993). Childhood and Society : W. W. Norton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30